Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6376
Title: Process of Internal Supervision in School to Promote Teachers' Learning Management under Kamphaengphet Primary Educational Service Area Office 1
กระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1
Authors: PORNNAPA WATNOI
พรนภา วัดน้อย
Tussana Siputta
ทัศนะ ศรีปัตตา
Naresuan University
Tussana Siputta
ทัศนะ ศรีปัตตา
tatsanas@nu.ac.th
tatsanas@nu.ac.th
Keywords: กระบวนการนิเทศภายใน, การนิเทศภายในสถานศึกษา, การจัดการเรียนรู้ของครู
Process of Internal Supervision Supervision in educational institutions Teachers' learning management
Issue Date:  2
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed 1) to study process of internal supervision in school to promote teachers' learning management under Kamphaengphet Primary Educational Service Area Office 1  and 2) to compare process of internal supervision in school to promote teachers' learning management under Kamphaengphet Primary Educational Service Area Office 1, classified by position and work experience. The samples included 161 directors and 159 teachers, totaling 320 people who work in educational institutions under Kamphaengphet Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2021. The sample size was determined by using Krejcie and Morgan's table. The directors were selected by purposive sampling and the teachers were selected by stratified sampling. The instrument for data collection was a questionnaire on supervision in educational institutions promoting the development of teachers' learning management under Kamphaengphet Primary Educational Service Area Office 1 in a form of a 5-level rating scale. The IOC value was 0.67 – 1.00 and the reliability was 0.98. The data were analyzed by mean, standard deviation, T-test, and One Way ANOVA, and the difference between pairs was tested by Scheffe's method. The findings revealed that 1. The result of a study on process of internal supervision in school to promote teachers' learning management under Kamphaengphet Primary Educational Service Area Office 1 was overall at a high level. When considering each step, the highest mean was the supervision planning, followed by the supervision operation. The lowest mean was the study of current condition, problems, need for supervision, assessment, and supervision improvement. 2. As for the comparison result of process of internal supervision in school to promote teachers' learning management under Kamphaengphet Primary Educational Service Area Office 1, classified by position, in overall and by step, different positions had different supervision in educational institutions promoting the development of teachers' learning management with a statistical significance of .05 and as for the comparison result of process of internal supervision in school to promote teachers' learning management under Kamphaengphet Primary Educational Service Area Office 1, classified by work experience, in overall and by step, different work experience did not have different supervision in educational institutions promoting the development of teachers' learning management.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จําแนกตามตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงาน ในการวิจัยครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 161 คน และครู จำนวน 159 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 320 คน ที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่มอร์แกน โดยผู้บริหารสถานศึกษาได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และครูได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 มีลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ผลการหาค่า IOC คือ 0.67 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้น พบว่า ขั้นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ขั้นการวางแผนการนิเทศ รองลงมาคือ ขั้นการปฏิบัติการนิเทศ และขั้นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ขั้นการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการนิเทศ และขั้นการประเมินผลและแก้ไขปรับปรุงการนิเทศ 2. ผลการเปรียบเทียบกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จําแนกตามตำแหน่ง ในภาพรวมและรายขั้น พบว่า ตำแหน่งที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการเปรียบเทียบกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน ในภาพรวมและรายขั้น พบว่า ประสบการณ์ในการทำงานที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู ไม่แตกต่างกัน
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6376
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63070536.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.