Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6371
Title: | The Study on Maturity and The Guidelines of Competencies Development of School Deputy Director Office of the Basic Education Commission, Phitsanulok Province การศึกษาพัฒนาการและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดพิษณุโลก |
Authors: | BUNPHOT CHAIYASANE บรรพต ไชยเสน Anucha Kornpuang อนุชา กอนพ่วง Naresuan University Anucha Kornpuang อนุชา กอนพ่วง anuchako@nu.ac.th anuchako@nu.ac.th |
Keywords: | พัฒนาการ การพัฒนาสมรรถนะ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน แนวทางการพัฒนาสมรรถนะ Development Develop Competency School Deputy Director Basic Education The Guidelines of Competencies Development |
Issue Date: | 3 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research aimed to study maturity and to study the guidelines of competencies development of school deputy director officers of the Basic Education Commission, Phitsanulok Province. The samples were all 64 school deputy director officers of the Basic Education Commission, Phitsanulok Province, the holding the post of school deputy director academic year 2021 by purposive sampling method. The instrument used in this research was the maturity of competencies development of school deputy director questionnaire. The check list and 5-level rating scale questionnaires were used as a tool and divided into 3 stages including 1) pre-developed conditions, 2) post-development conditions for 1 year, and 3) currently true conditions. The data were analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation.
The results showed that.
1. The results of The Study on Maturity of Competencies Development of School Deputy Director Office of the Basic Education Commission, Phitsanulok Province showed that the school deputy directors had higher score in maturity of competencies development, both overall and classified into sub-competencies individuals. The 1st competency in the characteristics of the school deputy director of desirable educational institutions had the highest score maturity. The second highest level of maturity was the 3rd competency in school administration and management, and the 2nd competency in academic leadership respectively.
2. The results of The Guidelines of Competencies Development of School Deputy Director Office of the Basic Education Commission, Phitsanulok Province showed that The Guidelines of Competencies Development of School Deputy Director, consist of 10 things. 1) Plan to allocate the budget for self-development by defining it as a performance agreement, 2) Learn the organizational culture and follow it creatively, adhere to the code of conduct according to professional standards, manage the school according to good governance principles, 3) Follow the new policies from the incoming affiliations. Study in successful educational institutions in learning management that focuses on learners and apply them appropriately in schools, 4) Develop yourself in english for regular daily communication, 5) Take advantage of digital and technology, to properly manage
the school, 6) Create a community of professional learning (PLC) in academic management regularly, 7) Raise awareness and embrace the Royal Charter into concrete action, 8) Periodically monitor self-improvement by creating a community of professional learning (PLC) and allowing presentations of learning exchanges for further improvement, 9) Continuously improving themselves as individuals who are ready to learn all the time, and 10) Affiliated agencies, formulating project models, encouraging the development of the performance of the deputy director of
the school. Continuous and quality. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาการและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดพิษณุโลก ที่ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 ทั้งหมด จำนวน 64 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพัฒนาการการพัฒนาสมรรถนะของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและ แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) สภาพก่อนได้รับการพัฒนา 2) สภาพหลังได้รับการพัฒนา 1 ปี และ 3) สภาพที่เป็นจริงในปัจจุบัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดพิษณุโลก ลักษณะเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาพัฒนาการการพัฒนาสมรรถนะของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดพิษณุโลก พบว่า รองผู้อำนวยการสถานศึกษา มีพัฒนาการการพัฒนาสมรรถนะที่สูงขึ้น ทั้งโดยภาพรวมและจำแนกเป็นรายสมรรถนะย่อย โดยสมรรถนะที่ 1 ด้านคุณลักษณะรองผู้อำนวยการสถานศึกษาที่พึงประสงค์ มีพัฒนาการสูงที่สุด รองลงมาเป็นสมรรถนะที่ 3 ด้านการบริหารและการจัดการในสถานศึกษา และสมรรถนะที่ 2 ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ ตามลำดับ 2. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดพิษณุโลก พบว่า แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ประกอบด้วย 10 ข้อ ดังนี้ 1) วางแผนจัดสรรงบประมาณ ในการพัฒนาตนเอง โดยกำหนดเป็นข้อตกลงในการปฏิบัติงาน 2) เรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร และปฏิบัติตามอย่างสร้างสรรค์ ยึดมั่นในจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ บริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล 3) ติดตามนโยบายใหม่จากต้นสังกัดที่เข้ามา ศึกษาดูงานในสถานศึกษาที่ประสบผลสำเร็จในด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แล้วนำมาปรับใช้ในสถานศึกษา ให้เหมาะสม 4) พัฒนาตนเองในด้านการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันอย่างสม่ำเสมอ 5) ใช้ประโยชน์จากดิจิทัลและเทคโนโลยี ในการบริหารสถานศึกษาอย่างเหมาะสม 6) สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารงานวิชาการอย่างสม่ำเสมอ 7) สร้างความตระหนักรู้และน้อมนำพระบรมราโชบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม 8) ตรวจสอบการพัฒนาตนเองเป็นระยะ ด้วยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และเปิดโอกาสให้มี การนำเสนอผลงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการปรับปรุงพัฒนาต่อไป 9) ปรับปรุงพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ให้เป็นบุคคลที่พร้อมเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และ 10) หน่วยงานต้นสังกัด กำหนดแบบแผนโครงการ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาสมรรถนะของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6371 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63070444.pdf | 4.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.