Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6370
Title: สภาพและแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร
CONDITIONS AND GUIDELINES FOR STEM LEARNING MANAGEMENT IN EDUCATIONAL INSTITUTION UNDER THE PHICHIT SECONDARY EDUCATION  SERVICE AREA OFFICE.
Authors: BODIN SUKPAT
บดินทร์ สุขแพทย์
Tussana Siputta
ทัศนะ ศรีปัตตา
Naresuan University
Tussana Siputta
ทัศนะ ศรีปัตตา
tatsanas@nu.ac.th
tatsanas@nu.ac.th
Keywords: การบริหารจัดการเรียนรู้,สะเต็มศึกษา
Learning management STEM education.
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this research were to study (1) the condition of STEM learning management in educational institution under the Phichit Secondary Education Service Area Office and (2) the guidelines the condition of STEM learning management in education institution under the Phichit Secondary Education Service Arae Office. In this research, the samples were Educational institute administrators and teachers responsible for the STEM Education Development Project under the Phichit Secondary Educational Service Area Office of 30 schools, consisting of 30 school administrators, teachers in mathematics learning subject group, teachers in the science learning subject group and teachers in the technology learning subject group consisted of 90 people, and the total is 120 people, obtained by purposive sampling, collected from schools under the Phichit Secondary Educational Service Area Office. The instrument used for the collection was a questionnaire on the condition of learning management in STEM education in educational institutions. Under the Phichit Secondary Education Service Area Office. Which applied the five-level (Rating Scale).           The results of the research showed that (1) the study of the condition of STEM learning management in educational institutions Under the Phichit Secondary Education Service Area Office Overall, it's at a high level. The aspect with the most practice was the personnel development of educational institutions. followed by outcomes/images of success in curricula and learning activities on learner development activities and the aspect that had the minimal practice was the aspect of educational institution management. (2) Guidelines for STEM-style learning management in educational institutions Under the Phichit Secondary Educational Service Area Office, the number of 4 approaches is as follows: (1) policy formulation for STEM management, namely: School administrators promote and support STEM learning management to develop teachers' body of knowledge. professional work with teachers to see the value and join in with them; (3) the examination of the results of STEM learning management, i.e., the school administrators asked the teachers to evaluate the students' STEM teaching management; and (4) In terms of improving the development of STEM learning, namely, school administrators monitor teacher performance and jointly manage the supervision of STEM learning management.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร (2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร ในการวิจัยครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร จำนวน 30 โรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้เทคโนโลยี จำนวน 90 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 120 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เลือกเก็บข้อมูลจากโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม คือ แบบสอบถามสภาพการบริหารจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale)            ผลการวิจัยพบว่า (1) การศึกษาสภาพการบริหารจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา รองลงมาได้แก่ ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา (2) แนวการบริหารจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร จำนวน 4 แนวทาง  ดังนี้ (1) ด้านการกำหนดนโยบายการบริหารการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของครู (2) ด้านการพัฒนาบุคลากรสำหรับปฏิบัติตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม ได้แก่ ผู้บริหารสถานเป็นแบบอย่างที่ดีในการพัฒนาตนเองในงานวิชาชีพโดยมีครูเห็นคุณค่าและร่วมปฏิบัติด้วย (3) ด้านการตรวจสอบผลการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาให้ครูประเมินผลการจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษาของผู้เรียน และ (4) ด้านการปรับปรุงการพัฒนาการเรียนรู้แบบสะเต็ม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาติดตามการปฏิบัติงานของครูและร่วมกันจัดการนิเทศการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6370
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
BodinSukpat.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.