Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6367
Title: | คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนังานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ DESIRABLE CHARACTERISTICS OF ADMINISTRATORS IN THE WORLD - CLASS STANDARD SCHOOLS UNDER THE SUPERVISION OF THE SECONDARY EDUCATIONAL AREA OFFICE: PHITSANULOK UTTARADIT |
Authors: | NARUMON INFAKTHA นฤมล อินฟากท่า Thirasak Uppamaiathichai ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย Naresuan University Thirasak Uppamaiathichai ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย thirasaku@nu.ac.th thirasaku@nu.ac.th |
Keywords: | คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ผู้บริหารสถานศึกษา แนวทางการพัฒนา โรงเรียนมาตรฐานสากล Desirable Characteristics School Administrators Development Guidelines World - Class Standard School |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The objective of this research was to study the desirable characteristics and ways to develop the desirable characteristics of the administrators in the World - Class Standard Schools under the supervision of the Secondary Educational Area Office: Phitsanulok Uttaradit. The sample in this study comprised 313 teachers in 25 World - Class Standard Schools under the supervision of the Secondary Educational Area Office: Phitsanulok Uttaradit in the academic year 2564 B.E. They were determined using Krejcie and Morgan Table and chosen through the Stratified Random Sampling. The tools used to collect data were the questionnaires on the desirable characteristics of the administrators in the World - Class Standard Schools which were analyzed through Means and Standard Deviation and the interview forms on ways to develop the desirable characteristics of the administrators in the World - Class Standard Schools which applied the use of content analysis.
The results of the study revealed that;
1. The results of the study of the desirable characteristics of the administrators in the World - Class Standard Schools under the supervision of the Secondary Educational Area Office: Phitsanulok Uttaradit in the teachers’ perception was, on the whole, at the high level. When considering each single aspect, the vision aspect received the highest average score following by the personality aspect, the leadership aspect, the relationship aspect, the administration aspect and the motivation aspect respectively while the morality aspect received the lowest average score.
2. The results of the study on ways to develop the desirable characteristics of the administrators in the World - Class Standard Schools under the supervision of the Secondary Educational Area Office: Phitsanulok Uttaradit affirmed that The school administrators should apply the criteria of the Office of Basic Education Commission’s OBECQA and TQA awards to use as a framework in evaluating the teachers’ work performance and create the management system that associates working plans that conform guidelines of the development of the World - Class Standard School. They also have to behave themselves well by abiding the profession standards of the administrators. They must determine the school vision which puts the emphasis on the students’ quality. Besides, they should prescribe the participatory working process as part of the performance assessment of the personnel. Moreover, they should own self - awareness and develop themselves by participating in the training course on coaching for the World - Class Standard School administrators. They should also learn from exchanging ideas, sharing experience and best practices with other personnel inside and outside of the school in order to gain more applicable knowledge and information for the better action. Furthermore, they should create a system for commendation using the criteria that are harmonious with the yearly performance assessment. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล และแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ จำนวน 25 โรงเรียน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 313 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเทียบตารางเครจซี่มอร์แกน และเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยคำนวณเทียบสัดส่วนของครูแต่ละโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ พบว่า ครูมีความคิดเห็นว่าผู้บริหารสถานศึกษามีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ รองลงมา คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านภาวะผู้นำ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการบริหารจัดการ และด้านการสร้างแรงจูงใจ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) และเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) มาสร้างเป็นกรอบในการประเมินผลงานของครู และปรับแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากล ประพฤติปฏิบัติตนตามระเบียบมาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา กำหนดทิศทางวิสัยทัศน์ของโรงเรียนที่มุ่งเน้นคุณภาพผู้เรียน และกำหนดกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมให้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินประสิทธิภาพในการทำงานของครูและบุคลากร เป็นผู้มีความรอบรู้ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการให้ความรู้ในการเป็น Coaching แก่ผู้บริหารสถานศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาประสบการณ์ และวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาให้เกิดการปฏิบัติงานที่ดีสู่ความเป็นเลิศระดับสากล รวมถึงจัดระบบยกย่องชมเชย การให้รางวัลโดยกำหนดหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6367 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NarumonInfaktha.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.