Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6363
Title: DEVELOPMENT GUIDELINES OF EFFICIENCY OF BUDGETING ADMINISTRATIONS OF SCHOOLS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE SUKHOTHAI
แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย
Authors: DAUNGSAMORN THEDSOMBOON
ดวงสมร เทศสมบูรณ์
Thirasak Uppamaiathichai
ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย
Naresuan University
Thirasak Uppamaiathichai
ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย
thirasaku@nu.ac.th
thirasaku@nu.ac.th
Keywords: ประสิทธิภาพการบริหารงาน
งานงบประมาณ
แนวทางการพัฒนา
การบริหารงานในสถานศึกษา
Administration Efficiency
Budgeting Administration
Development Guideline
Administration of Educational Institutions
Issue Date:  2
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study aimed to: 1. study the efficiency of budgeting administration of educational institutions under The Secondary Educational Service Area Office Sukhothai; and 2. determine the development guideline for the efficiency of budgeting administration of educational institutions under The Secondary Educational Service Area Office Sukhothai. Two hundred and seventy (270) key informants were recruited by using purposive sampling method. Interview form was implemented with five (5) interviewees recruited by using purposive sampling method and questionnaire was used to collect information from participants. Analytical statistics employed in this study were Percentage, Mean, Standard Deviation, and Content analysis. Results revealed that: 1. Overall, the efficiency of budgeting administration of educational institutions under The Secondary Educational Service Area Office Sukhothai was at high level. By considering in each aspect, it showed that, the budget operations aspect had highest mean and was at high level, followed by evaluation of budget operations aspect had high mean, and budget planning aspect had lowest mean and was at high level. 2. The development guideline for the efficiency of budgeting administration of educational institutions under The Secondary Educational Service Area Office Sukhothai divided by aspects: 2.1 Budget planning: the administrators were responsible for environmental and contextual analysis of educational institutions by applying theories and principles of educational administration for planning budget operations. Additionally, they appointed a committee of budget planning and cooperatively formulated annual budget plan that was consistent with and met the objectives of the institutes.   2.2 Budget allocation and approval: the administrators were responsible for authorizing the committee to consider and evaluate the worthiness of the budget allocation in last academic year. They also cogitated, approved, allocated the budget to meet the criterion of activities/projects of the institutes in order to achieve the worthiness, economy, and benefit for the learners the most. 2.3 Budget operations: the administrators were responsible for authorizing the committee and assigning obvious and consistent tasks and missions; formulating manual and guideline for budget operations of educational institutes in line with the manual and guideline of original affiliation; emphasizing, encouraging, and supporting teachers and personnel who were responsible for budget administration-related tasks to achieve training and knowledge development related to and budget disciplines and operations.    2.4 Evaluation of budget operations: the administrators were responsible for managing PLC meeting for teachers who were working in budget department and Financial and Asset Management Group of The Secondary Educational Service Area Office in order to evaluated the performance and overall operation as well as exchanged the suffered problems and shared the guideline for budget operations, reported the results of budget allocation, performance, and manipulated the database as basic information for budget operations of educational institutes in following years.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย 2. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 270 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านการดำเนินงานงบประมาณ อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านการประเมินผลการดำเนินงานงบประมาณ อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ด้านการจัดทำแผนงานงบประมาณ อยู่ในระดับมาก 2. แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ในแต่ละด้าน ดังนี้    2.1 ด้านการจัดทำแผนงานงบประมาณ ผู้บริหารวิเคราะห์สภาพแวดล้อม บริบท ของสถานศึกษา ใช้ทฤษฎี หลักการบริหารการศึกษาเข้ามาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการดำเนินงานงบประมาณ แต่งตั้งคณะกรรมการในการจัดทำแผนงานงบประมาณ และร่วมกันจัดทำแผนงานงบประมาณประจำปีที่มีความสอดคล้องและตรงตามวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา    2.2 ด้านการจัดสรร อนุมัติงบประมาณ ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา และประเมินความคุ้มค่าของการใช้งบประมาณในปีการศึกษาที่ผ่านมา พิจารณา อนุมัติ จัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดกิจกรรม/โครงการของสถานศึกษา เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า ประหยัด และเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด    2.3 ด้านการดำเนินงานงบประมาณ ผู้บริหารออกคำสั่งแต่งตั้ง มอบหมายภาระงานที่มีความชัดเจนและตรงตามฝ่ายปฏิบัติงาน จัดทำคู่มือและแนวปฏิบัติในการดำเนินงานงบประมาณภายในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับคู่มือการดำเนินงานงบประมาณของต้นสังกัด ให้ความสำคัญ ส่งเสริม สนับสนุนให้ครู และบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องในฝ่ายบริหารงบประมาณได้รับการอบรม พัฒนาความรู้ในเรื่องของระเบียบ และการดำเนินงานงบประมาณ    2.4 ด้านการประเมินผลการดำเนินงานงบประมาณ ผู้บริหารจัดประชุม PLC ครูที่ปฏิบัติงานฝ่ายงบประมาณและกลุ่มบริหารการเงินและสินทรัพย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน แลกเปลี่ยนปัญหา และแนวทางการดำเนินงานงบประมาณ รายงานผลการใช้งบประมาณผลดำเนินงานงบประมาณ และจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อเป็นข้อมูลของสถานศึกษาในการดำเนินงานงบประมาณปีต่อไป
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6363
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63070253.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.