Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6360
Title: FACTORS AFFECTING SYSTEMATIC CHANGES IN PARTICIPATING SCHOOLS TEACHER AND SCHOOL DEVELOPMENT PROJECTS TO CONTINUE IMPROVING THE QUALITY OF EDUCATION (TEACHER SCHOOL QUALITY PROGRAM: TSQP): THE MULTI- CASES STUDIES
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (Teacher School Quality Program: TSQP): พหุกรณีศึกษา
Authors: TRISANU THAMTANATHAT
ธฤษณุ ธรรมธนธัชม์
Anucha Kornpuang
อนุชา กอนพ่วง
Naresuan University
Anucha Kornpuang
อนุชา กอนพ่วง
anuchako@nu.ac.th
anuchako@nu.ac.th
Keywords: โรงเรียนเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ
ผลการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ
TSQP
Schools change systematically
Factors affecting systemic changes
Systematic Change Results
Teacher School Quality Program: TSQP
Issue Date:  2
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this research were to study the effects of systemic changes and factors affecting systematic changes in participating schools in teacher and school development programs to continue improving the quality of education (Teacher School Quality Program: TSQP). This research was a case study using qualitative research methodology, this case study selected as follows: Ban Nong Kula School, a successful school in systemic change. Informants of this research included school administrators, teachers and education personnel school board, parents, students, community representatives, The Equitable Education Fund (EEF) representatives of higher education institutions, representatives of Educational Service Area, and representatives of partnership schools. Data were collected from in-depth interviews participatory and non-participatory observations and document studies analyzed data with triangulation techniques for a research period of about 8 months. The results showed that the systematic changes in participating schools in teacher and school development programs continue improving the quality of education. Teacher School Quality Program (TSQP) as following; factors affecting the systematic changes included external factors: Professional Learning Network (PLN), The Equitable Education Fund (EEF). Naresuan University, Educational Service Area, partnership schools and Lamplaimat Pattana School played an important role in supporting academic techniques, school management and classroom management. If external factors are networked with clear roles, covered all school needs that must be strong and have constant support. They will affect internal factors and systematic changes in in participating schools. The internal factors were related to teacher school quality program (TSQP) that resulted in systemic changes as following; input factors included personnel, budget, resources and management. Both teachers and school administrators are the most important inputs that must be prepared for changes and process factors, including proactive learning design and class management, positive class management. The use of media, technology, and learning resources that are conducive to learning a wide range of measurements and evaluations based on real-world conditions and the creation of a class cooperation network. The proficient administrators and teachers are the internal drivers of successful change. The persistence of change for a long time has become an organizational culture. The process factors included active learning design and management, positive classroom management, use of media and technology, learning resources, measurements and evaluations based on actual conditions and building a network of cooperation at the class level. The process factors are in the same direction and consistency in operation. They would be a joint and affect the productivity of systematic changes in participating schools. And output factors as following; self-development schools, professional teachers, learning networks and other products was quality student outcomes included educational equality, skills and ethics.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ และสร้างทฤษฎีฐานราก (Grounded theory) ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (Teacher School Quality Program : TSQP) โดยใช้พหุกรณีศึกษา  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 3 กรณีศึกษา โดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม และการศึกษาเอกสาร (Document study) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตรวจสอบข้อมูลด้วยเทคนิคสามเส้า (Triangulation technique) จำแนกหรือจัดกลุ่มข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบเหตุการณ์ วิเคราะห์สรุปอุปนัย และวิเคราะห์เนื้อหา แล้วสร้างทฤษฎีฐานรากตาม 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ระบุมโนทัศน์ที่เกี่ยวข้อง 2) นิยามมโนทัศน์ 3) สร้างข้อเสนอ 4) จัดลำดับเชื่อมโยงความสัมพันธ์ 5) สร้างแผนผังของทฤษฎี มีระยะเวลาการวิจัยประมาณ 8 เดือน ผลการวิจัยได้ทฤษฎีฐานรากของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (Teacher School Quality Program : TSQP) ประกอบด้วยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบของโรงเรียน ได้แก่ ปัจจัยภายนอก คือ เครือข่ายการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Network: PLN) ได้แก่ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มหาวิทยาลัยนเรศวร เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาร่วมพัฒนา และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนเทคนิคทางวิชาการการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ซึ่งหากปัจจัยภายนอกมีลักษณะเป็นเครือข่ายที่มีบทบาทหน้าที่ชัดเจน ครอบคลุมทุกความต้องการของโรงเรียนที่ต้อง มีความเข้มแข็ง และมีการสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอ จะส่งผลกระทบต่อปัจจัยภายใน และการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบของโรงเรียน ปัจจัยภายในที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (Teacher School Quality Program: TSQP) ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ ทรัพยากร และการบริหารจัดการ ซึ่งครูและผู้บริหารเป็นปัจจัยนำเข้าที่สำคัญที่สุดที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารและครูแกนนำที่เข้มแข็งเป็นแรงผลักดันภายในที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ประสบความสำเร็จและการคงสภาพการเปลี่ยนแปลงได้นานจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร และปัจจัยกระบวนการ (Process) ประกอบด้วย การออกแบบและจัดการชั้นเรียนเชิงรุก (Active Learning)  การบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก การใช้สื่อ เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลหลากหลายตามสภาพจริง และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับชั้นเรียน (Network) ซึ่งปัจจัยกระบวนการที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีความสม่ำเสมอในการดำเนินงาน ย่อมเป็นพลังร่วม และส่งผลต่อผลผลิตของการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบของโรงเรียน และปัจจัยภายใน ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ ทรัพยากร และการบริหารจัดการ และปัจจัยกระบวนการ (Process) ได้แก่ กระบวนการออกแบบการเรียนรู้และจัดการชั้นเรียนเชิงรุก การบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก การใช้สื่อ เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลหลากหลายตามสภาพจริง และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับชั้นเรียนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบของโรงเรียน ได้แก่ ผลผลิต ประกอบด้วย โรงเรียนพัฒนาตนเอง ครูมืออาชีพ เครือข่ายการเรียนรู้ และผลผลิตอื่น ทำให้เกิดผลลัพธ์ คือ นักเรียนคุณภาพ ได้แก่ ความเสมอภาคทางการศึกษา ทักษะ และคุณธรรมจริยธรรม
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6360
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63070161.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.