Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6353
Title: DEVELOPING PHYSICS TEACHERS’ TECHNOLOGICAL PEDAGOGICAL CONTENT KNOWLEDGE THROUGH AN ONLINE PROFESSIONAL DEVELOPMENT PROGRAM
การพัฒนาความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีของครูฟิสิกส์ผ่านโปรแกรมการพัฒนาวิชาชีพออนไลน์
Authors: Arrak Praprom
อารักษ์ ประพรม
Thitiya Bongkotphet
ธิติยา บงกชเพชร
Naresuan University
Thitiya Bongkotphet
ธิติยา บงกชเพชร
thitiyab@nu.ac.th
thitiyab@nu.ac.th
Keywords: ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี
โปรแกรมการพัฒนาวิชาชีพออนไลน์
ครูฟิสิกส์
Technological Pedagogical Content Knowledge
Online professional development program
Issue Date:  31
Publisher: Naresuan University
Abstract: This qualitative research was a case study that examined the teachers’ current state of learning and the teachers’ Technological Pedagogical Content Knowledge (TPACK) before participating in online professional development program and the development of their TPACK during participating in online professional development program and study the key characteristics of the online professional development program that promote TPACK for physics teachers. The participants of this study were three physics teachers who teach at the 12th-grade level, each from a different school. Data was collected from questionnaire on the state of learning management and TPACK, lesson plan, classroom observation, teacher interviews, teaching practice reflection, TPACK learning reflection, and online professional development observation. Data were analyzed through content analysis then synthesized into a summary. The results revealed that, before joining the online professional development program, all teachers focused on lectures. They lack of awareness in utilizing technology that is content specific and suitable for their teaching methods. During their participation in the online professional development program. It was found that all physics teachers enhanced their TPACK. Consequently, they were able to effectively integrate technology into their teaching. The characteristics of the program that foster TPACK, it should start with learning TPACK. After that, teachers will learn details in each component of TPACK through practice exercises, and finally practice integrating technology into real teaching in the classroom.
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสำรวจสภาพการจัดการเรียนรู้และความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีของครูฟิสิกส์ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาวิชาชีพครูออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีของครูฟิสิกส์ระหว่างการเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาวิชาชีพออนไลน์ และ 3) เพื่อศึกษาลักษณะสำคัญของโปรแกรมการพัฒนาวิชาชีพออนไลน์ที่ส่งเสริมความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีของครูฟิสิกส์ โดยผู้ร่วมวิจัยคือครูฟิสิกส์ที่สอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่อยู่คนละโรงเรียนในจังหวัดสุโขทัย จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี  แบบวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้  แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสะท้อนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนการเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี แบบสังเกตการทำกิจกรรมในโปรแกรมการพัฒนาวิชาชีพครูออนไลน์ และแบบสะท้อนการทำกิจกรรมในโปรแกรมการพัฒนาวิชาชีพครูออนไลน์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสังเคราะห์เป็นข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาวิชาชีพครูออนไลน์สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูเน้นการสอนแบบบรรยาย ครูขาดความตระหนักในการใช้เทคโนโลยีที่มีความจำเพาะกับเนื้อหาและเหมาะสมกับวิธีการสอน ในระหว่างการเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาวิชาชีพครูออนไลน์ครูได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์ พบว่า ครูฟิสิกส์ทั้ง 3 ท่าน มีความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีที่มากขึ้นสามารถบูรณาการเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลักษณะสำคัญของโปรแกรมการพัฒนาวิชาชีพครูออนไลน์ที่ส่งเสริมความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี ควรเริ่มจากการให้ครูได้เรียนรู้เกี่ยวกับความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี หลังจากนั้นให้ครูได้เรียนรู้รายละเอียดในแต่ละองค์ประกอบของความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยีผ่านการฝึกปฏิบัติ และท้ายที่สุดฝึกการบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับการจัดการเรียนรู้จริงในชั้นเรียน
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6353
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63031551.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.