Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6352
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนเน็คติวิสต์ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารทางวิทยาศาตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาตอนปลาย
THE DEVELOPMENT OF INSTRUCTION MODEL BASED ON CONNECTIVIST THEORY THAT EMPHASIZES THE USE OF DIGITAL TECHNOLOGY TO ENHANCE SCIENCE COMMUNICATION COMPETENCY FOR UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS
Authors: Supak Fakngern
สุภัค ฟักเงิน
Skonchai Chanunan
สกนธ์ชัย ชะนูนันท์
Naresuan University
Skonchai Chanunan
สกนธ์ชัย ชะนูนันท์
skonchaic@nu.ac.th
skonchaic@nu.ac.th
Keywords: รูปแบบการจัดการเรียนรู้
สมรรถนะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์
ทฤษฎีคอนเน็คติวิสต์
เทคโนโลยีดิจิทัล
Instrution Model
Science Communication Competency
Connectivist Theory
Digital Technology
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to 1) study the problems and way of science learning management according to the connectivist theory emphasizing the use of digital technology to enhance the science communication competency for upper secondary school students, 2) create and verify the quality of the instruction model based on the connectivist theory emphasizing the use of digital technology to enhance the science communication competency for upper secondary school students, and 3) study the effects of using the instruction model based on the connectivist theory emphasizing the use of digital technology to enhance the science communication competency for upper secondary school students. The sample group used in this research were Grade 10 students in the second semester of the 2023 academic year, included 2 classrooms with 59 students. The research tools included 1)The instruction model based on connectivist theory emphasizing the use of digital technology and 2) a science communication competency assessment form. Data were analyzed using statistical mean, standard deviation, t-test, and content analysis. The research findings were as follows: 1) The problems in science learning management included students lacking skills in searching for information via the internet , lacking skills in synthesizing and summarizing knowledge from data, and lack of diversity in the learning environment. 2) The instruction model based on connectivist theory emphasizing the use of digital technology consisted of 5 components: 1. principles, concepts, theories, 2. objectives, 3. content, 4. learning process, and 5. evaluation and assessment. The researcher synthesized a 4-step teaching and learning process called the CCRA Model, consisting of 1) Communicating scientific issues using digital technology, 2) Connecting understanding through communication using digital technology, 3) Reflecting on scientific communication through digital technology, and 4) Assessing scientific communication through digital technology. Overall, the assessment of the instruction model was found to be most appropriate (x̅ = 4.55, S.D. = 0.54). The effectiveness index of the instruction model was 0.56. 3) The results of using the learning management model based on connectivist theory emphasizing the use of digital technology to enhance science communication competency for upper secondary school students showed that post-learning scores were significantly higher than pre-learning scores at the .05 statistical level.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวคิดการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนเน็คติวิสต์ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนเน็คติวิสต์ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ และ  3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนเน็คติวิสต์ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2566  จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนเน็คติวิสต์ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ 2) แบบวัดสมรรถนะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียน พบว่า ขาดทักษะการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  และขาดทักษะการสังเคราะห์และสรุปองค์ความรู้ของข้อมูล  รวมทั้งบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ที่ไม่หลากหลาย 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนเน็คติวิสต์ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 2.1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎี 2.2) วัตถุประสงค์ 2.3) เนื้อหา 2.4) กระบวนการเรียนรู้ และ 2.5) การวัดและประเมินผล โดยผู้วิจัยได้ทำการสังเคราะห์กระบวนการเรียนการสอน 4 ขั้นตอนที่เรียกว่า CCRA Model อันประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การสื่อสารประเด็นทางวิทยาศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ขั้นที่ 2 การเชื่อมโยงความเข้าใจด้วยการสื่อสารโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล ชั้นที่ 3 การสะท้อนการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล และขั้นที่ 4 การประเมินการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยภาพรวมของผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.55, S.D. = 0.54) ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 0.56 และ 3) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนเน็คติวิสต์ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6352
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SupakFakngern.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.