Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6343
Title: การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเหล็กน้ำพี้เชิงประสบการณ์บนฐานชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนทองแสนขันวิทยา จังหวัดอุตรดิตถ์
COMMUNITY-BASED EXPERIENTIAL LEARNING ACTIVITIES ABOUT NAM PHI IRON FOR DEVELOPING GEOGRAPHICAL SKILLS OF HIGH SCHOOL STUDENTS AT THONGSAENKHANWITTAYA SCHOOL, UTTARADIT PROVINCE
Authors: TIWA THIPANYA
ทิวา ธิปัญญา
Nattachet Pooncharoen
ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ
Naresuan University
Nattachet Pooncharoen
ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ
Nattachetp@nu.ac.th
Nattachetp@nu.ac.th
Keywords: กิจกรรมการเรียนรู้
เหล็กน้ำพี้
ทักษะภูมิศาสตร์
Learning Activities
Nam Phi iron
Geography Skills
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objective of this research is 1) To study the present condition of learning management of geography of high school students 2) To develop experiential learning activities on Nam Phi Iron on a community basis to develop geography skills of high school students through qualitative research. The main informant group is the learner group. There are Local learning resources knowledge group of personnel in government agencies and a group of teachers in the school, a total of 93 people. The scope of research area is Nam Phi Sub-district, Thong Saen Khan District, Uttaradit Province. Inductive summaries were analyzed by descriptive notes using data collection methods. The results of the research revealed that the current conditions and problems in social studies learning management, geography learning subjects are the teaching hours of teachers having limited time and lack of continuity in learning, new course adjustments, lack of use of media suitable for learning activities and lack of availability of teachers. Therefore, the researcher created a process to organize an experiential learning activity on Nam Phi Iron on a community basis to develop the geography skills of high school students. In accordance with local geography knowledge Under the activity “Retrace the Nam Phi Iron”, the focus is on enabling learners to acquire skills from active learning by using local learning resources based on geography to drive learning.   The results of the research found that there were 3 components which were learner aspect, teacher aspect, media aspect, and learning resource. From the research results, the students' knowledge can be summarized as follows: Knowledge the learners have a good understanding of local geography, skills and practice that make learners have geography skills and can transfer knowledge about local resources to those who are interested, and attitudes, students see the importance of conserving their own local resources.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้สาระภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เหล็กน้ำพี้เชิงประสบการณ์บนฐานชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มผู้เรียน กลุ่มผู้ให้ความรู้ด้านแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น  กลุ่มบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ  และกลุ่มครูผู้สอนในโรงเรียน  รวมทั้งสิ้น 93 คน โดยมีขอบเขตพื้นที่การวิจัย คือ ตำบลน้ำพี้ อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบสรุปอุปนัยโดยบันทึกพรรณนา ด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันและปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา  สาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์  คือ  ชั่วโมงสอนของครูผู้สอนมีเวลาจำกัดขาดความต่อเนื่องในการเรียน  การปรับหลักสูตรใหม่  ขาดการใช้สื่อที่เหมาะกับกิจกรรมการเรียน และขาดความพร้อมของครูผู้สอน ผู้วิจัยจึงสร้างกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เหล็กน้ำพี้เชิงประสบการณ์บนฐานชุมชน  เพื่อพัฒนาทักษะภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้สอดคล้องกับองค์ความรู้ภูมิศาสตร์ในท้องถิ่น ภายใต้กิจกรรม “ย้อนรอยเหล็กน้ำพี้” มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะจากการเรียนรู้ Active learning โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเชิงภูมิศาสตร์ เป็นสื่อการขับเคลื่อนการเรียนรู้         ผลการวิจัย พบว่า มี 3 องค์ประกอบ คือ ด้านผู้เรียน ด้านผู้สอน ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้ จากผลการวิจัยสามารถสรุปองค์ความรู้ของผู้เรียนได้ดังนี้  ด้านความรู้  (Knowledge)  ผู้เรียนมีความเข้าใจในเรื่องของภูมิศาสตร์ในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ด้านทักษะและการปฏิบัติ (Practice) ผู้เรียนมีทักษะภูมิศาสตร์ และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรท้องถิ่นให้กับผู้ที่สนใจได้ ด้านเจตคติ (Attitude) ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นของตนเอง
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6343
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TiwaThipanya.pdf3.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.