Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6342
Title: STRUCTURAL EQUATION MODEL ANALYSIS OF FACTORS AFFECTING THE ADJUSTMENT OF HIGH SCHOOL STUDENTS IN SCIENCE-MATHEMATICS PROGRAMS UNDER THE SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE
การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
Authors: Nattanit Maneewan
ณัฎฐนิช มณีวรรณ์
Nattakan Prechanban
ณัฐกานต์ ประจันบาน
Naresuan University
Nattakan Prechanban
ณัฐกานต์ ประจันบาน
nattakanp@nu.ac.th
nattakanp@nu.ac.th
Keywords: วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง; การปรับตัว
Structural Equation Model; Adjustment
Issue Date:  23
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aims to 1) develop a structural equation model that affects the adjustment of high school students in science-mathematics programs under the secondary education service area office, and 2) examine the consistency of the structural equation model that affects the adjustment of high school students in science-mathematics programs under the secondary education service area office with empirical data. The sample group consisted of 200 high school students in the Science-Mathematics curriculum for the academic year 2566 from schools under the secondary education service area office, Phitsanulok. The sampling method used was multi-stage sampling. Data collection was conducted through a questionnaire using Rating Scale 5-level, with a confidence level of 0.981. The data analysis was performed using statistical software.           The research findings that: 1) The development of structural equation model that affects the adjustment of high school students in science-mathematics programs under the secondary education service area office, The model comprised 3 latent variables and 13 observed variables. There was a positive relationship among the observed variables, with correlation coefficients ranging from .460 to .800, indicating a moderate to high level of correlation, statistically significant at the .01 level. When analyzing to confirm the structural validity of the model measuring the 3 latent variables, all models exhibited structural validity, with factor loadings ranging from 0.73 to 0.93, and statistically significant at the .05 level. And 2) The results of the examination of the model's fit with the empirical data reveal that all 3 components of the structural equation model influencing students' adaptation exhibited structural validity. The factor loadings ranged from 0.74 to 0.92, and the percentage of variance explained between the indicators and components ranged from 54.1% to 85.3%. Moreover, the model demonstrated good fit with the empirical data, supported by a p-value greater than .05 (p-value = 0.1725). Additionally, the Comparative Fit Index (CFI) and Tucker-Lewis Index (TLI) were close to 1 (CFI = 0.996, TLI = 0.994), while the Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) and Standardized Root Mean Square Residual (SRMR) were close to 0 (RMSEA = 0.030, SRMR = 0.020), and when analyzing the causal relationship path that affects student adjustment, it was found that adjustment was directly influenced by social support and emotional quotient. They are most directly influenced by social support. It has an influence size of 0.539, followed by emotional quotient. The influence size was 0.421. In addition, adjustment was indirectly influenced by social support. through emotional quotient which has an influence size of 0.356
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก จำนวน 200 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.981 และใช้โปรแกรมทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล           ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3 ตัวแปรแฝง 13 ตัวแปรสังเกตได้ และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้มีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวกทุกคู่ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .460 ถึง .800 ซึ่งมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางถึงสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดตัวแปรแฝงทั้ง 3 ตัวแปร มีความตรงเชิงโครงสร้างทุกโมเดล โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.73 - 0.93 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกค่า  และ 2) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า องค์ประกอบทั้ง 3 ของโมเดลสมการโครงสร้างที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนักเรียน มีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.74 – 0.92 และมีค่าร้อยละความผันแปรระหว่างตัวบ่งชี้ร่วมกับองค์ประกอบ ตั้งแต่ร้อยละ 54.1 - 85.3 และโมเดลมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่า พิจารณาจากค่า p-value ที่มีค่ามากกว่า .05 (p – value = 0.1725) ค่า CFI, TLI เข้าใกล้ 1 (CFI = 0.996, TLI = 0.994) ค่า RMSEA, SRMR เข้าใกล้ 0 (RMSEA = 0.030, SRMR = 0.020) และเมื่อวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนักเรียน พบว่า การปรับตัวได้รับอิทธิพลทางตรงจากการสนับสนุนทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์ โดยได้รับอิทธิพลทางตรงจากการสนับสนุนทางสังคมมากที่สุด มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.539 รองลงมาคือ ความฉลาดทางอารมณ์ มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.421 นอกจากนี้การปรับตัวยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการสนับสนุนทางสังคม โดยผ่านความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.356
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6342
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62061184.pdf9.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.