Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6341
Title: การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมกระดาน(Board Game)ที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
THE ACTION RESEARCH FOR DEVELOPING LEARNING ACTIVITIES WITH BOARD GAME TO ENHANCE MATHEMATICAL CONCEPTS ON INTEGER OF SEVENTH GRADE STUDENTS
Authors: CHAKRIST KHUMSRI
ชาคริสต์ ขำศรี
Chakkrid Klin-eam
จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม
Naresuan University
Chakkrid Klin-eam
จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม
chakkridk@nu.ac.th
chakkridk@nu.ac.th
Keywords: เกมกระดาน
มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์
จำนวนเต็ม
Board Game
Mathematical Concepts
Integer
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were to study appropriate learning implementation using a board game to promote mathematical concepts on Integers of 7th grade students and to enhance a mathematical concepts on Integers of 7th grade students. The research participants were 16 of 7th grade students from Wat Sangkhachaithen School in Suphanburi Province, who were in the first semester of the 2020 academic year. The researcher employed a classroom action research model for 4 cycles lasting a total of 12 hours. The research tools include 4 lesson plans, a reflection form, post-testing of each lesson plan and a mathematical concept test after learning 4 lesson plans. Content analysis and triangulated data validation were used to analyze the data. According to the study's findings, 1. Learning implementation with board game in Integer were consist of 5 steps in learning management: Step 1) Class arrangement, Step 2) Explanation of game rules, Step 3) Demonstration, Step 4) Practice, and Step 5) Follow up.  The focus issues were reviewing the learners' prior knowledge, dividing groups with learners in different ability, doing group activities, role of the instructor and group leader, taking care for all learners, managing time for doing activity, monitoring learners’ behavior, providing opportunities for all learners to play board games, encouraging learners to apply their concepts to other situations, allowing learner to share their knowledge for each other, and validation of the learners mathematical concepts. 2. Most learner's mathematical concepts were in the level of complete concept, which they improved after playing board games in each lesson plan. Learning implementation using board games helped learners to do hands on activities, learning mathematical concepts through direct experience. Furthermore, learners shared their comments, explained concepts, exchanged techniques for playing each game, and summarized their mathematical concepts again after the game. As a result, learners had improved mathematical concept understanding of Integers.
การวิจัยในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมกระดาน (Board Game) ที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 16 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดสังฆจายเถร จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 4 วงจรปฏิบัติการ ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 12 ชั่วโมง ซึ่งแต่ละวงจรประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นปฏิบัติการ (Act) ขั้นสังเกตการณ์ (Observe) และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflect) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเต็ม จำนวน 4 แผนการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบหลังเรียนแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์หลังจบการเรียนรู้ทั้ง 4 แผนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า 1. แนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมกระดาน (Board Game) เรื่อง จำนวนเต็ม มีขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการจัดชั้นเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นการอธิบายวิธีการเล่น ขั้นที่ 3 ขั้นการสาธิตการเล่น ขั้นที่ 4 ขั้นการปฏิบัติ และขั้นที่ 5 ขั้นการติดตามผล มีประเด็นที่ควรเน้น ได้แก่ การทบทวนความเดิมของผู้เรียน การแบ่งกลุ่มต้องมีผู้เรียนคละความสามารถ การมีกิจกรรมกลุ่มให้ผู้เรียนได้ทำร่วมกันภายในกลุ่มของตนเอง การมีส่วนร่วมของผู้สอนและหัวหน้ากลุ่มในแต่ละกลุ่ม การติดตามสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนได้ลงมือเล่นเกมจริง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การกระตุ้นให้ผู้เรียนนำมโนทัศน์ไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ และการตรวจสอบความถูกต้องของมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียน 2. ผู้เรียนส่วนใหญ่มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับแนวความคิดที่สมบูรณ์ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นจากการเล่นเกมกระดานในแต่ละวงจรปฏิบัติการ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมกระดาน (Board Game) ทำให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้เรียนรู้มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์จากประสบการณ์โดยตรงของผู้เรียนเอง รวมทั้ง ผู้เรียนยังได้แสดงความคิดเห็น อธิบายแนวความคิด แลกเปลี่ยนวิธีการเล่นเกมในแต่ละรูปแบบ แล้วสรุปมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์อีกครั้งหลังจากจบเกม ส่งผลให้ผู้เรียนมีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์เรื่องจำนวนเต็มที่ดีขึ้น
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6341
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ChakristKhumsri.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.