Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6332
Title: The Life World of Mr. Jaeng: A Social History of a Villain in Phitsanulok Region, 1890s – 1930s
โลกชีวิตของนายแจ้ง: ประวัติศาสตร์สังคมของผู้ร้ายคนหนึ่งในมณฑลพิษณุโลก พ.ศ.2430 - พ.ศ.2470
Authors: Supphakit Hochai
ศุภกิตติ์ หอไชย
Davisakd Puaksom
ทวีศักดิ์ เผือกสม
Naresuan University
Davisakd Puaksom
ทวีศักดิ์ เผือกสม
davisakdp@nu.ac.th
davisakdp@nu.ac.th
Keywords: การปฏิรูประบบราชการ
โจรผู้ร้าย
นักเลงท้องถิ่น
จุลประวัติศาสตร์
ผู้มีสถานะรอง
พรหมพิราม
มณฑลพิษณุโลก
Siamese bureaucratic reform
villain
rural gangster
microhistory
subaltern studies
Prom Phiram district
Phitsanulok region
Issue Date:  17
Publisher: Naresuan University
Abstract: Studies of banditries and criminalities during the Siamese bureaucratic reform in the late nineteenth century overwhelmingly posited the emergence of these phenomena in the condition of socio-economic change after Siam signed the Bowring Treaty with Britain in 1855, and would offer the general image of being a bandit or criminal with the condition of patron–client system. Thereby, they would overlook the people's life-world, reaction and response during the reform which had the social impact in the emergence of banditries and criminalities. The objective of this dissertation aims to understand the life world and the political society of Mr.Jaeng and the local people who shared the same sociopolitical world with him. By using the notably case of the assassination of Phrom Phiram governor, Phitsanulok, in the late 1920s, this dissertation aims to illustrate a local response to social change that came together with Siam’s bureaucratic reform in the late nineteenth century, especially the conflict between of the local people and Siamese central officials. Methodologically, this dissertation would employ the microhistory’s and the subaltern studies approaches in dealing with historical evidences – ether from official archives or local materials - in order to examine a life-world of Mr.Jaeng and the local people. This dissertation proposes that Mr.Jaeng’s case was deeply related with an effect of the Siamese reform in the late nineteenth century, especially in the Phitsanulok region. Furthermore, it will unfold the local condition and context in the negotiation and resistance of the local people at large in dealing with the central authorities. Up to the point that the central government cannot exercise its power as intent, or made it difficult to enforce its law and order.
การศึกษาปรากฏการณ์เกี่ยวกับโจรผู้ร้ายยุคปฏิรูประบบราชการสยามที่ผ่านมานั้น นอกจากจะให้ความสำคัญต่อกรณีของการเกิดโจรผู้ร้ายด้วยเงื่อนไขเรื่องความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงหลังสนธิสัญญาเบาว์ริง และมักจะอธิบายภาพของการเป็นโจรผู้ร้ายภายใต้ระบบอุปถัมถ์ อันเป็นการละเลยต่อโลกชีวิต ปฏิกิริยาและการตอบสนองของราษฎรที่มีต่อการปฏิรูประบบราชการจนส่งผลกระทบทางสังคมของการเกิดโจรผู้ร้าย  วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดประสงค์ที่จะทำความเข้าใจต่อโลกชีวิตและสังคมการเมืองของนายแจ้งและผู้คนที่อยู่ในโลกสังคมการเมืองเดียวกันกับนายแจ้ง และต้องการทำความเข้าใจถึงวิธีในการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ไหลทะลักเข้ามาในช่วงเวลาของการปฏิรูปรัฐสยามเมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ 25  โดยนำเสนอให้เห็นถึงมิติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างข้าราชการจากส่วนกลางของสยามและราษฎรสามัญชนในท้องถิ่นของมณฑลพิษณุโลกผู้มีนามว่า “นายแจ้ง” กระทั่งความขัดแย้งดังกล่าวได้นำไปสู่การเกิดคดีฆาตกรรมสะเทือนขวัญและแปรเปลี่ยนสถานะของผู้กระทำการจากราษฎรสามัญเป็นผู้ร้ายคนสำคัญในช่วงต้นพุทธทศวรรษ 2470  ทั้งนี้ วิทยานิพนธ์เล่มนี้ใช้วิธีการแบบจุลประวัติศาสตร์และการอ่านย้อนเกล็ดของการศึกษาผู้มีสถานะรองในการตรวจสอบหลักฐานที่ดำรงอยู่อย่างกระจัดกระจาย ทั้งหลักฐานที่เป็นเอกสารทางการและไม่ทางการ เพื่อทำความเข้าใจโลกชีวิตของนายแจ้งและผู้คนในท้องถิ่นโดยทั่วไป  โดยมีข้อเสนอว่าการกระทำของนายแจ้งนั้น มีความสัมพันธ์อย่างแยกไม่ขาดกับผลกระทบของการปฏิรูประบบราชการในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 25 และเงื่อนไขเฉพาะของพื้นที่ในมณฑลพิษณุโลก  นอกจากนี้ วิทยานิพนธ์เล่มนี้ยังคลี่คลายให้เห็นถึงเงื่อนไขและบริบทของท้องถิ่นในการเอื้อให้เกิดพลังในการต่อรองและต่อต้านของราษฎรในพื้นที่กับข้าราชการท้องถิ่นที่มีต่ออำนาจรัฐส่วนกลาง  จนกระทั่งทำให้อำนาจรัฐนั้นปฏิบัติการได้อย่างไม่เต็มศักยภาพ หรือมีผลทำให้คำสั่งรัฐนั้นไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างตรงไปตรงมา
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6332
Appears in Collections:คณะสังคมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61031164.pdf7.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.