Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6300
Title: Factors Affecting Voting Behavior in General Election in 2019 : A Comparison Study between Generations in Northern Thailand
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปีพุทธศักราช 2562 : การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างช่วงวัยในเขตภาคเหนือ
Authors: Ubonwan Subhasaen
อุบลวรรณ สุภาแสน
Wanlapat Suksawas
วัลลภัช สุขสวัสดิ์
Naresuan University
Wanlapat Suksawas
วัลลภัช สุขสวัสดิ์
wanlapachs@nu.ac.th
wanlapachs@nu.ac.th
Keywords: ช่วงวัย พฤติกรรมการเลือกตั้ง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้ง ภูมิทัศน์ทางการเมือง
Generation; Voting Behavior; Factors Affecting Voting Behavior; Political Landscape
Issue Date:  23
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study aims to examine the voting behavior and the influence of economic and social factors, psychological factors, rational awareness, and political landscape on the voting behavior of different generations in the Northern region during the 2019 Thai general election. The population studied comprises eligible voters in the North, with a sample size of 400 individuals. The voting behaviors identified are grouped into three categories: 1) alertness in election participation, 2) following politically biased media, and 3) choosing individuals or political parties. The findings indicate that different generations exhibit distinct voting behaviors across generations vary in their voting behaviors influenced by economic and social factors, psychological factors, rational awareness, and political landscape. The study suggests that there should be improvements in how information is presented in the media during elections, revisions in party strategies to enhance image and policies, development of mechanisms for political stability in Thailand, clarification and enhancement of election related constitutional and legal regulations to ensure transparency and accountability, and encouragement of increased electoral vigilance among all generations.
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งและอิทธิพลของปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยด้านจิตวิทยา ปัจจัยด้านความสำนึกเชิงเหตุผล และปัจจัยด้านภูมิทัศน์ทางการเมืองต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปีพุทธศักราช 2562 ของคนต่างช่วงวัยในเขตภาคเหนือ ประชากรที่ใช้ศึกษาคือประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในภาคเหนือ  มีขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 400 คน พฤติกรรมการเลือกตั้งออกเป็น 3 กลุ่มพฤติกรรม ได้แก่ 1) พฤติกรรมการตื่นตัวในการเลือกตั้ง 2) พฤติกรรมการติดตามสื่อที่มีความโน้มเอียงทางการเมือง และ 3) พฤติกรรมการเลือกตัวบุคคลหรือพรรคการเมือง ผลการศึกษาพบว่า คนต่างช่วงวัยมีพฤติกรรมการเลือกตั้งที่แตกต่างกัน และคนในแต่ละเจเนอเรชั่นวายก็มีพฤติกรรมการเลือกตั้งที่แตกต่างไปกันตามปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม จิตวิทยา ความสำนึกเชิงเหตุผล และภูมิทัศน์ทางการเมือง การศึกษานี้เสนอว่าควรมีการปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในการเลือกตั้งของสื่อต่าง ๆ ทบทวนกลยุทธ์ของพรรคเพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์ นโยบาย และกระบวนคัดสรรผู้สมัครของพรรคการเมือง การสร้างและพัฒนากลไกที่ทำให้เกิดความมีเสถียรภาพในทางการเมืองของไทย ปรับปรุงแก้ไขกฎกติกาการเลือกตั้งของรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้มีความชัดเจนและมีกลไกที่โปร่งใส และตรวจสอบได้ และส่งเสริมพฤติกรรมการตื่นตัวของประชาชนในการเลือกตั้งในทุกช่วงวัยให้มากขึ้น
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6300
Appears in Collections:คณะสังคมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63031063.pdf7.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.