Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6299
Title: Politics of Urban and Local Community Health Regime: The case study of Phitsanulok Health Board (2017-2022)
การเมืองระบอบสุขภาพเขตเมืองและชุมชนท้องถิ่น: กรณีศึกษาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก (พ.ศ.2561 – พ.ศ.2565)
Authors: Todsapon Chinjorhor
ทศพล ชิ้นจอหอ
Watcharabon Buddharaksa
วัชรพล พุทธรักษา
Naresuan University
Watcharabon Buddharaksa
วัชรพล พุทธรักษา
watcharabonb@nu.ac.th
watcharabonb@nu.ac.th
Keywords: นโยบายสาธารณะ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ระบอบสุขภาพ การครองอำนาจนำ ปัญญาชน
Public Policy District Health Board Health Regime Hegemony Intellectuals
Issue Date:  31
Publisher: Naresuan University
Abstract: This thesis aimed to explore the politics within urban and local community health systems, focusing on the case study of the district health board in Phitsanulok Province (2018–2022). There were two objectives: 1) To understand the role of the district health board related to the governmental structure, which led to the establishment and existence of the urban community health system. 2) To critique the state's operations by analyzing through the district health board’s activities within the municipal and sub-district areas of Phitsanulok city municipality and Phrom Phiram subdistrict municipality from 2018 to 2022. There were three main questions: 1) How were differences or similarities between urban and local community health systems ‘s establishing form in operational area level? 2) How did the establishment of the district health board affect the community's health perspective? and 3) What were the roles of the district health board in the urban and local community health systems during 2018 to 2022? Findings revealed that: 1) The formation of the district health board shared same problem that majority of committees were selected from state-sector network administrators but there were the differences in operational areas because the urban health system emphasized a centralized command center while the local community health system relied on personal relationships within its operational territory to acknowledge basic health awareness. 2) Health-related activities in the urban health system did not establish the changes in community's health perspectives because it was temporary and discontinued activities. In the other hand, the local community health system established the Phrom Phiram House Model which was a starting point for community health development in the future. And 3) The roles of district health board's operations within the urban and local community health systems were only health information promote agent because they lacked of budgets to support and most of the operations were under the supervision of the Public Health Office unit only. This thesis had three original contributions: 1) A study of the district health board's projects found the hidden authority in two forms: formal power according to governmental structures and regulations and informal power depended on personnel capabilities of district's health offices in each area. 2) Urban political studies in Thai context faced with a centralized Thai state's power dispersion which made the limitation in diversity of thought and was centralized decision-making power to the public sector. Therefore, the concept of urban regimes in foreign contexts, which demonstrated collaborative activities and competition for benefits, did not establish in the case study area. 3) The use of Antonio Gramsci's political concepts demonstrated that the 19th-century political ideologies still had capability for understanding current politics, particularly in analyzing hegemony and intellectuals because politics and health still related trough public policy, which the state controlled the policy making same as the district health board's project.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการเมืองของระบอบสุขภาพเขตเมืองและชุมชนท้องถิ่น: กรณีศึกษาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก (พ.ศ.2561 - 2565) โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อทำความเข้าใจบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของระบบราชการซึ่งนำไปสู่การก่อตัวรวมไปถึงการดำรงอยู่ของระบอบสุขภาพเขตเมืองและชุมชนท้องถิ่น 2) วิพากษ์การดำเนินงานของรัฐ โดยวิเคราะห์ผ่านโครงการคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในเขตเทศบาลนครพิษณุโลกและเทศบาลตำบลพรหมพิรามช่วงเวลา พ.ศ. 2561 ถึง พ.ศ. 2565 และมีคำถามหลัก 3 ประเด็น คือ 1) ระบอบสุขภาพเขตเมืองและชุมชนท้องถิ่นมีรูปแบบการก่อตัวในพื้นที่ระดับปฏิบัติการ ที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร 2) ภายหลังการเกิดขึ้นของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ นั้นส่งผลต่อมุมมองทางด้านสุขภาพของชุมชนอย่างไร 3) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอมีบทบาทอย่างไรในระบอบสุขภาพเขตเมืองและชุมชนท้องถิ่นดังกล่าวระหว่างปี พ.ศ. 2561 ถึง พ.ศ. 2565 ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการก่อตัวของคณะกรรมการพัฒนาฯ มีลักษณะร่วมกันในปัญหาการจัดตั้งคณะกรรมการที่มาจากเครือข่ายผู้บริหารของภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ แต่มีความแตกต่างในพื้นที่ปฏิบัติการเพราะระบอบสุขภาพเมืองเป็นความร่วมมือที่ถูกจัดสร้าง ขณะที่ระบอบสุขภาพชุมชนท้องถิ่นมีการใช้ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลในพื้นที่ปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้การป้องกันสุขภาพตนเองเบื้องต้น 2) การดำเนินกิจกรรมทางสุขภาพในพื้นที่ระบอบสุขภาพเมืองไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมุมมองทางสุขภาพของประชาชนแต่อย่างใดเพราะกิจกรรมเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวไม่มีความต่อเนื่อง ในทางตรงกันข้ามพื้นที่ระบอบสุขภาพชุมชนท้องถิ่นได้เกิดแผนการพัฒนาสุขภาพชุมชนพรหมพิรามซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาสุขภาพของประชาชนในอนาคต 3) การดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาฯ ในระบอบสุขภาพเมืองและชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทเป็นผู้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลทางสุขภาพเท่านั้น เนื่องจากขาดงบประมาณสนับสนุนและการปฏิบัติงานส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานสาธารณสุขเพียงหน่วยงานเดียว  งานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้สร้างความรู้/ความเข้าใจใหม่ แบ่งออกเป็น 3 ประการ ได้แก่ 1) การศึกษาโครงการคณะกรรมการพัฒนาฯ ได้ค้นพบอำนาจที่หลบซ่อนอยู่ในโครงการ 2 รูปแบบ ได้แก่ อำนาจที่เป็นทางการในระเบียบและกฎเกณฑ์ตามโครงสร้างระบบราชการ และอำนาจที่ไม่เป็นทางการที่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการดำเนินกิจกรรมของบุคคลากรในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแต่ละพื้นที่ 2) การเมืองนครศึกษาในบริบทของประเทศไทยต้องพบกับการกระจายอำนาจแบบรัฐไทยทำให้พื้นที่ความหลากหลายทางความคิดไม่เกิดขึ้น แต่ถูกรวมศูนย์อำนาจการตัดสินใจในการดำเนินโครงการอยู่ที่หน่วยงานของภาครัฐ ดังนั้นสิ่งที่เรียกว่าระบอบในกลุ่มงานการเมืองนครศึกษาในบริบทต่างประเทศ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมและการช่วงชิงผลประโยชน์จึงไม่ได้เกิดขึ้นในพื้นที่ของการศึกษา 3) การใช้แนวคิดทางการเมืองของอันโตนีโอ กรัมชี่ ได้แสดงให้เห็นว่าแนวคิดทางการเมืองในศตวรรษที่ 19 ยังคงสามารถใช้ทำความเข้าใจการเมืองในปัจจุบันได้ โดยเฉพาะในหน่วยของการวิเคราะห์ด้านการครองอำนาจนำและปัญญาชนเพราะการเมืองและสุขภาพยังคงเกี่ยวข้องกันผ่านการดำเนินนโยบายสาธารณะซึ่งรัฐเป็นผู้ควบคุมนโยบายเช่นเดียวกับโครงการคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6299
Appears in Collections:คณะสังคมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63030660.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.