Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6297
Title: Social Capital and Quality of Life of Carer of the Dependent Elderly
ทุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
Authors: Orn-uma Jeerakamol
อรอุมา จีระกมล
Wanlapat Suksawas
วัลลภัช สุขสวัสดิ์
Naresuan University
Wanlapat Suksawas
วัลลภัช สุขสวัสดิ์
wanlapachs@nu.ac.th
wanlapachs@nu.ac.th
Keywords: ทุนทางสังคม
คุณภาพชีวิต
ผู้ดูแลในครอบครัว
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
Social Capital
Quality of Life
Carer
Dependent Elderly
Issue Date:  23
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study aimed to explore the relationship between social capital and the quality of life of carers for dependent elderly individuals. Social capital was conceptualized into three components: trust, norms of reciprocity, and social network support. This research was quantitative research, data were collected from 400 carers within Health Region 2, encompassing five provinces: Sukhothai, Phitsanulok, Tak, Uttaradit, and Phetchabun. Statistical analyses, including average, percentage, and multiple regression analysis (MRA), were utilized to examine the data. The findings indicated a significant relationship between social capital and the quality of life of carers (reliability at 0.05). Specifically, social network support and trust were positively associated with the quality of life, whereas norms of reciprocity showed no significant relationship. The study underscores the importance of social capital in enhancing the quality of life of carers . It suggests that government and related organizations might consider to foster carers' trust in both informal (e.g., family members) and formal (e.g., public health professionals) relationships. Moreover, public policies are directed towards promoting social network supports within social capital by establishing cooperation and interaction that facilitate the exchange of knowledge and resources among individuals, both offline and online social networks.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยทุนทางสังคมประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ 1.ความไว้วางใจ 2.การเกื้อกูลกัน และ 3.การสนับสนุนทางเครือข่ายสังคม และคุณภาพชีวิตประกอบไปด้วย 4 ด้าน คือ 1.ด้านสุขภาพร่างกาย 2.ด้านจิตใจ 3.ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และ 4.ด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลในครอบครัวที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่สุขภาพที่ 2 ประกอบไปด้วย 5 จังหวัด คือ สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ตาก และเพชรบูรณ์ จำนวนทั้งหมด 400 คน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและนํามาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และเทคนิคการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุ  ผลการศึกษานี้พบว่าทุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 มีค่า beta = 0.701 ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อคุณภาพชีวิต 2 องค์ประกอบ คือ ความไว้วางใจและการสนับสนุนทางเครือข่ายสังคม ทั้งนี้องค์ประกอบด้านการเกื้อกูลกันไม่พบความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต  ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาคือภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาสนับสนุนนโยบายสาธารณะที่ส่งเสริมความไว้วางใจของผู้ดูแลในครอบครัวต่อความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว และความสัมพันธ์แบบทางการ เช่น บุคลากรทางการแพทย์  และส่งเสริมทุนทางสังคมในด้านการสนับสนุนทางเครือข่ายสังคม โดยสนับสนุนให้เกิดการสร้างความร่วมมือและการมีปฏิสัมพันธ์บนพื้นฐานการร่วมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และทรัพยากรระหว่างกันทั้งในรูปแบบของเครือข่ายสังคมออฟไลน์และออนไลน์
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6297
Appears in Collections:คณะสังคมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61031614.pdf8.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.