Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6293
Title: THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITIES BY USING CONTEX-BASED LEARNING TO PROMOTE MATHEMATICAL LITERACY FOR GRADE 7 STUDENTS
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Authors: Thanaphon Toahom
ธนพร เต่าหอม
Chamnan Panawong
ชำนาญ ปาณาวงษ์
Naresuan University
Chamnan Panawong
ชำนาญ ปาณาวงษ์
chamnanp@nu.ac.th
chamnanp@nu.ac.th
Keywords: กิจกรรมการเรียนรู้
การเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน
ความฉลาดรู้คณิตศาสตร์
Learning Activities
Context-Based Learning
Mathematical Literacy
Issue Date:  17
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this research were: 1) to design and evaluate the effectiveness of context-based learning activities aimed at enhancing mathematical literacy for Grade 7 students, based on the 75/75 efficiency criteria; 2) to compare the mathematical literacy of students before and after participating in the context-based learning activities; and 3) to examine the students' satisfaction with context-based learning activities. The sample consisted of 40 Grade 7 students from Phothithammasuwat School during the first semester of the 2024 academic year. The research instruments included context-based learning activities and a student satisfaction questionnaire. Statistical analysis involved mean , standard deviation (S.D.), efficiency values E1/E2, and dependent t-tests analysis for determining significant differences. The result of this research: 1. The context-based learning activities consisted of five steps: Step 1: Connecting relationships, Step 2: Learning from experience, Step 3: Applying knowledge, Step 4: Collaboration, and Step 5: Transferring knowledge to other contexts. The activities were deemed highly appropriate (Mean = 4.77, S.D. = 0.39), and the efficiency was 75.60/75.79  which was in line with the 75/75 criterion. 2. The mathematical literacy of students post-intervention was significantly higher than pre-intervention, at a significance level of .05. 3. The students’ satisfaction with the context-based learning activities aimed at enhancing mathematical literacy was very high after the intervention (Mean = 4.56, S.D. = 0.60).
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 2) เปรียบเทียบความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 40 คน ของโรงเรียนโพธิธรรมสุวัฒน์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน แบบวัดความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ขั้นที่ 2 การเรียนรู้จากประสบการณ์ ขั้นที่ 3 การนำความรู้ไปใช้ ขั้นที่ 4 การร่วมมือ ขั้นที่ 5 การถ่ายโอนความรู้ไปยังบริบทอื่น กิจกรรมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (Mean= 4.77, S.D. = 0.39) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.60/75.79 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75   2. ความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean =4.56, S.D. = 0.60)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6293
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65090488.pdf7.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.