Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6288
Title: DEVELOPMENT OF DESIRED CHARACTERISTICS OF TEACHERS IN SCHOOLS ON HIGH AREAS AND WILDERNESS
การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร
Authors: Nachanan Prasertsuk
ณชานันท์ ประเสริฐสุข
Tussana Siputta
ทัศนะ ศรีปัตตา
Naresuan University
Tussana Siputta
ทัศนะ ศรีปัตตา
tatsanas@nu.ac.th
tatsanas@nu.ac.th
Keywords: คุณลักษณะอันพึงประสงค์
ครู
สถานศึกษา
พื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร
Desired Characteristics
Teachers
Schools
High Area and Wilderness
Issue Date:  17
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this research was to develop a model for developing desirable characteristics of teachers in schools on high areas and wilderness. The research methodology had 3 steps as follows: 1) Study of desirable characteristics and guidelines for developing teachers' desirable characteristics in basic schools on high areas and wilderness by synthesizing documents, interviewing 5 best practice people, and interviewing 5 experts by selecting purposively. The data were analyzed by content analysis. 2) Creation and examination of a model for developing desirable characteristics of teachers in basic schools on high areas and wilderness by 9 experts from purposive selection. The data were analyzed by content analysis. 3) Evaluating the feasibility and usefulness of the model, the sample group consisted of 297 administrators of schools on high areas and wilderness, and determined sample size by using the Krejcie and Morgan table. The data were analyzed by using percentage, mean, and standard deviation. The research results found that the model for developing desirable characteristics of teachers in basic schools on high areas and wilderness consists of 5 elements as follows: 1) Principles of the model, 2) Objectives of the model 3) Process for developing desirable characteristics of teachers 4) Methods for developing desirable characteristics of teachers, and 5) Desirable characteristics of teachers. The evaluation results for the feasibility and usefulness of the model were at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร วิธีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์และแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร โดยการสังเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์ผู้ที่มีแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 5 คน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา  3) การประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร จำนวน 297 คน  กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครู 4) วิธีการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครู 5) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครู ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6288
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64031413.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.