Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6281
Title: Factors influencing clinical sequelae of COVID-19 survivors at a secondary level hospital in center region
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออาการที่ตามมาในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 ในโรงพยาบาลทุติยภูมิแห่งหนึ่ง ในเขตภาคกลาง
Authors: Pimchanok Niamhom
พิมพ์ชนก เนียมหอม
Kwankaew Wongchareon
ขวัญแก้ว วงษ์เจริญ
Naresuan University
Kwankaew Wongchareon
ขวัญแก้ว วงษ์เจริญ
kwankaeww@nu.ac.th
kwankaeww@nu.ac.th
Keywords: ลองโควิด
ผู้ที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19
อาการที่ตามมาในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออาการที่ตามมาในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19
COVID-19 survivors
Clinical sequelae of COVID-19
Long COVID
Factor influencing with Long COVID
Issue Date:  23
Publisher: Naresuan University
Abstract: Long COVID is a term used to describe symptoms or conditions that continue or develop after an acute infection of COVID-19. The long COVID symptoms could persist from 4-12 weeks or beyond, depending on many factors. Long Covid is one of the biggest challenges for healthcare professionals caring for COVID-19 survivors. However, research studies regarding this issue in Thailand are limited. Therefore, this study aims to explore factors influencing the clinical sequelae of COVID-19 survivors and create a predictive model for this group of patients. We performed a Retrospective cohort study. Data was obtained from medical records and telephone interviews using three questionnaires to measure the feelings of loneliness, stigma, and clinical sequelae that persisted after COVID-19 infection. 268 COVID-19 survivors aged over 20 who received outpatient service or were admitted to a secondary-level hospital in central Thailand from December 2022 to January 2023 were recruited into the study. The frequency, percentage, mean, standard deviation or median, and interquartile range were shown to determine the difference between reported and non-reported clinical sequelae samples. We also performed a Binary Logistic Regression to find the suitable predictors.   Among the 268 COVID-19 survivors, 167 (62.31%) reported having clinical sequelae. Symptoms often reported were fatigue (44.8%), memory loss (26.1%), tachypnea after activity (23.9%), joint pain (22.4%), and sleep disorder (22.4%). On average, patients with long COVID reported having three symptoms coinciding. Having severe disease of COVID-19, the Charlson Comorbidity Index (CCI) > 4 and high scores for loneliness were independent predictors of long COVID. The model explained 27.1% (Nagelkerke R2) of the outcome variance in long COVID and correctly classified 72.4 % of the cases. The model had 76.5% sensitivity, 64.5% specificity, 80.2% positive predictive value, and 59.4% negative predictive value.  We found having clinical sequelae was significantly increased when having a higher of severe disease of COVID-19  (OR 3.16, 95% CI 1.67-5.95, p < 0.001), Higher Charlson Comorbidity Index (OR 1.8, 95% CI 1.12-2.90, p = 0.015), and higher scores for loneliness (OR 1.74, 95% CI 1.20-2.53, p = 0.003) Our data provides insight into the long-term effects of COVID-19, and the factors influencing the long-term COVID symptoms were comorbidity, severity of initial COVID-19, and mental health issues related to long-term COVID-19 symptoms. Nurses and healthcare professionals taking care of this group of patients should be aware of these factors and use them to determine whether an individual is at risk of long-term COVID-19 symptoms. Nursing practice guidelines for long-term COVID-19 symptoms often reported, such as fatigue, memory loss, tachypnea after activity, joint pain, sleep disorder, and mental support during isolation, should be developed.
อาการที่ตามมาในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 หรืออาการลองโควิด (Long COVID) เป็นอาการที่หลงเหลืออยู่ของผู้ป่วยโควิด-19 มักพบภายหลังจากรักษาหายแล้วตั้งแต่ 4 -12 สัปดาห์ขึ้นไป โดยเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่หรือเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังหายจากการติดเชื้อโดยที่ไม่สามารถอธิบายอาการเหล่านี้ได้ด้วยสาเหตุจากโรคอื่น ๆ เป็นปัญหาสำคัญที่ทีมสุขภาพพึงตระหนัก ในประเทศไทยยังมีการศึกษาอำนาจการทำนายปัจจัยต่ออาการที่ตามมาในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 จำนวนจำกัด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความรุนแรงโรคโควิด-19 ปัจจัยด้านการรักษาและปัจจัยด้านจิตใจต่ออาการที่ตามมาในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 ศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective cohort study) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียน และ 2) การโทรศัพท์สัมภาษณ์ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้สึกโดดเดี่ยวเมื่อถูกแยกตัวจากสังคม ความรู้สึกเป็นตราบาปต่อสังคม และอาการที่ตามมาในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มตัวอย่างอายุ 20 ปีขึ้นไป ผู้วิจัยเก็บข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 จากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่เคยเข้ารับการรักษาทั้งแบบผู้ป่วยในและนอก ณ โรงพยาบาลทุติยภูมิแห่งหนึ่ง ในเขตภาคกลาง ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 - มกราคม พ.ศ. 2566 จำนวน 268 คน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และวิเคราะห์อำนาจการทำนายโดยใช้สถิติ Binary Logistic Regression   ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 268 คน มีผู้ที่มีอาการที่ตามมา 167 คน (62.3%) โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่ อาการอ่อนเพลีย (44.8%) หลงลืม (26.1%) หายใจเร็วหลังทำกิจกรรม (23.9%) ปวดข้อ (22.4%) และปัญหาการนอนหลับ (22.4%) โดยเฉลี่ยพบว่าในผู้ที่มีอาการที่ตามมาหนึ่งรายจะมีอาการผิดปกติจำนวน 3 อาการ โดยมีตัวแปรทำนายที่ถูกคัดเข้าสมการ ได้แก่ ความรุนแรงของโรคโควิด-19 ความรุนแรงของโรคร่วม และความรู้สึกโดดเดี่ยวเมื่อถูกแยกตัวจากสังคม สามารถร่วมกันทำนายอาการที่ตามมาในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้ร้อยละ 27.1% (Nagelkerke R2) และสามารถพยากรณ์ได้ถูกต้อง 72.4 % ค่าความไว (Sensitivity) เท่ากับ 76.5% ค่าความจำเพาะ (Specificity) เท่ากับ 64.5% ค่าทำนายเป็นบวก (Positive predictive value) เท่ากับ 80.2% และค่าทำนายเป็นลบ (Negative predictive value) เท่ากับ 59.4% โดยความรุนแรงของโรคโควิด-19 ที่มากขึ้น มีโอกาสเกิดอาการที่ตามมาเพิ่มขึ้น 3.16 เท่า (OR 3.16, 95% CI 1.67-5.95, p < 0.001) เช่นเดียวกับความรุนแรงของโรคร่วมที่สูงขึ้น เพิ่มโอกาสเกิดอาการที่ตามมาเป็น 1.8 เท่า  (OR 1.8, 95% CI 1.12-2.90, p = 0.015) และคะแนนความรู้สึกโดดเดี่ยวเมื่อถูกแยกตัวจากสังคมที่สูงขึ้นมีผลทำให้เกิดอาการที่ตามมาได้สูงขึ้นเช่นกัน (OR 1.74, 95% CI 1.20-2.53, p = 0.003) ข้อมูลที่ได้การศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 เห็นถึงผลกระทบในระยะยาวของโรคที่มีต่อตัวผู้ป่วย รวมทั้งแสดงให้เห็นว่ามีหลายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอาการลองโควิด ทั้งปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้ป่วย ด้านความรุนแรงโรคโควิด-19 และสภาพจิตใจของผู้ป่วยภายหลังติดเชื้อ ดังนั้นพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการประเมินผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการลองโควิด มีการติดตามประเมินสภาพจิตใจในระหว่างที่มีการกักตัวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค รวมทั้งมีการจัดทำแนวทางการดูแลกลุ่มอาการลองโควิดที่พบบ่อย เพื่อเพิ่มคุณภาพการดูแลและผลลัพธ์ทางด้านผู้ป่วยให้ดีขึ้น
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6281
Appears in Collections:คณะพยาบาลศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64061533.pdf3.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.