Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6279
Title: Factors Influencing Caring Behaviors for End of Life Patients of Registered Nurses in a University Hospital
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยความเอื้ออาทรของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
Authors: Nuntawat Pinyo
นันทวัฒน์ ภิญโญ
Uraiwan Chaichanawirote
อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์
Naresuan University
Uraiwan Chaichanawirote
อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์
Uraiwanc@nu.ac.th
Uraiwanc@nu.ac.th
Keywords: พฤติกรรมการดูแล
การดูแลด้วยความเอื้ออาทร
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
พยาบาลวิชาชีพ
caring behaviors
caring
end of life patients
registered nurses
Issue Date:  17
Publisher: Naresuan University
Abstract: Caring is an essential part of nursing for end of life patients. Caring behaviors among registered nurses can be influenced by many factors. The purpose of this predictive correlational study was to examine factors influencing caring behaviors for end of life patients. The sample was 113 registered nurses working in a University Hospital. Data were collected using questionnaires, including a questionnaire on caring behaviors for end of life patients, and knowledge about end of life care questionnaire, which demonstrated content validity indices (S-CVI) of .99, and .96, and internal consistency reliability of .92 (α), and .94 (KR-20), respectively. The researcher adapted the attitudes toward death and dying patient questionnaire, which showed a content validity index (S-CVI) of .94, and internal consistency reliability (α) of .79. The emotional intelligence questionnaire, borrowed for this study, exhibited a reliability value (α) of .93. The data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation coefficient, Spearman rank correlation coefficient, Eta coefficient, and multiple regression analysis. The results showed that the participants had overall high levels of caring behaviors for end of life patients (M = 4.06, S.D. = 0.32). Factors significantly related to caring behaviors for end of life patients among registered nurses included end of life care training (r = .414, p < .05), knowledge about end of life care (r = .381, p < .01), attitudes toward death and dying patient (r = .432, p < .01), and emotional intelligence (r = .468, p < .01). Factors significantly influence caring behaviors for end of life patients of registered nurses included end of life care training (β = .341, p < .001), knowledge of end of life care (β = .178, p < .05), attitudes toward death and dying patient (β = .192, p < .05), and emotional intelligence (β = .265, p < .01). These factors collectively explained 39.4 % of the variance in caring behavior for end of life patients (Adjusted R2 = .394, F = 19.217, p < .001). The study suggests that registered nurses should be receive appropriate training, develop emotional intelligence, cultivate positive attitudes, and enhance their knowledge about end of life nursing to promote more effective caring behaviors for end of life patients.
การดูแลด้วยความเอื้ออาทรเป็นส่วนสำคัญของการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย พฤติกรรมการดูแลด้วยความเอื้ออาทรของพยาบาลวิชาชีพขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยความเอื้ออาทร กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 113 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยความเอื้ออาทร และแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีค่าความตรง (S-CVI) เท่ากับ .99 และ .96 และมีค่าความเที่ยง .92 (α) และ .94 (KR-20) ตามลำดับ เครื่องมือที่ผู้วิจัยนำมาดัดแปลง คือ แบบสอบถามทัศนคติต่อความตายและผู้ป่วยใกล้ตาย มีค่าความตรง (S-CVI) เท่ากับ .94 และมีค่าความเที่ยง (α) เท่ากับ .79 ส่วนแบบสอบถามความฉลาดทางอารมณ์เป็นเครื่องมือที่ยืมมาใช้ มีค่าความเที่ยง (α) เท่ากับ .93 การวิเคราะห์ใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน สัมประสิทธิ์อีต้า และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยความเอื้ออาทรโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (M = 4.06, S.D. = 0.32) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยความเอื้ออาทรของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การอบรมเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (r = .414, p < .05) ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (r = .381, p < .01) ทัศนคติต่อความตายและผู้ป่วยใกล้ตาย (r = .432, p < .01) และความฉลาดทางอารมณ์ (r = .468, p < .01) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยความเอื้ออาทรของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การอบรมเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (β = .341, p < .001) ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (β = .178, p < .05) ทัศนคติต่อความตายและผู้ป่วยใกล้ตาย (β = .192, p < .05) และความฉลาดทางอารมณ์ (β = .265, p < .01) ซึ่งตัวแปรดังกล่าวร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยความเอื้ออาทรได้ร้อยละ 39.4 (Adjusted R2 = .394, F = 19.217, p < .001) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า พยาบาลวิชาชีพควรได้รับการอบรม พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ เสริมสร้างทัศนคติที่ดี และเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยความเอื้ออาทรของพยาบาลวิชาชีพให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6279
Appears in Collections:คณะพยาบาลศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64061106.pdf6.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.