Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6278
Title: Effects of Self-management Program on Self-management Behaviors and A1C among Type 2 Diabetes with Diabetic Retinopathy
ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีเบาหวานขึ้นจอประสาทตา     
Authors: Khwannet Pholee
ขวัญเนตร โพธิ์ลี
Nongnut Oba
นงนุช โอบะ
Naresuan University
Nongnut Oba
นงนุช โอบะ
Nongnut@nu.ac.th
Nongnut@nu.ac.th
Keywords: โปรแกรมการจัดการตนเอง
พฤติกรรมการจัดการตนเอง
ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
เบาหวานขึ้นจอประสาทตา
Self-management Program
Self-management Behaviors
A1C
Type 2 Diabetes
Diabetic Retinopathy
Issue Date:  23
Publisher: Naresuan University
Abstract: This quasi-experimental research was to explored the effects of self-management program on self-management behaviors and A1C level among type 2 diabetes with diabetic retinopathy. The sample was diabetes with mild and moderate non-proliferative diabetic retinopathy, who received treatment at the Sub-district Health Promoting Hospital, Khiri Mat District, Sukhothai Province. 60 samples was divided into experimental and control group. Experimental group was received self-management program created according to Creer's self-management process, consisted of 6 step for goal collection, information collection, information processing and evaluation, decision making, action and self- reflection for 12 weeks, while the control group received routine care. The self-management behaviors questionnaire and A1C collecting form. The self-management behaviors was tested which its reliability of Cronbach’s alpha coefficient was 0.96.The data was analyzed by using percentage, mean standard deviation, paired t-test and independent t-test. The results found that the average score of self-management behaviors in eating, taking medicine, exercise, stress management, eyes care and total self-management behaviors after intervention of experimental group were significantly higher than that before intervention at .001 level. And A1C level after intervention of experimental group was significantly lower than that before intervention at .001 level. Moreover, the average score of self-management behaviors in eating, taking medicine, exercise, stress management, eyes care and total self-management behaviors after intervention of experimental group was significantly higher than that control group at .001 level. And A1C level after intervention of experimental group was significantly lower than that control group at .001 level. These results in conclusion, meant this self-management process improved self-management behaviors and A1C level among type 2 diabetes with diabetic retinopathy.
การวิจัยแบบกึ่งทดลอง ชนิดศึกษาแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีเบาหวานขึ้นจอประสาทตาที่มารับบริการรักษา ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาระดับเล็กน้อยถึงระดับปานกลาง จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองซึ่งสร้างขึ้นตามกระบวนการการจัดการตนเองของเครียร์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ การตั้งเป้าหมาย การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลและประเมินข้อมูล การตัดสินใจ การลงมือปฏิบัติ และการสะท้อนตนเอง ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน และแบบบันทึกระดับน้ำตาลสะสมในเลือด แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน มีค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการบริโภคอาหาร ด้านการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้านการออกกำลังกาย ด้านการจัดการความเครียด ด้านการดูแลตา และพฤติกรรมการจัดการตนเองโดยรวมของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของกลุ่มทดลองหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 นอกจากนั้นพบว่า พฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการบริโภคอาหาร ด้านการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้านการออกกำลังกาย ด้านการจัดการความเครียด ด้านการดูแลตา และพฤติกรรมการจัดการตนเองโดยรวมหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และกลุ่มทดลองมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองและต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยสรุปโปรแกรมการจัดการตนเองนี้สามารถปรับพฤติกรรมการจัดการตนเองและลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ดีขึ้น
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6278
Appears in Collections:คณะพยาบาลศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64060369.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.