Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6277
Title: Effects of Diabetes Prevention Program by Applying Neuman System Model on Health Behaviors and Fasting Plasma Glucose among Prediabetes Persons
ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวานโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบของนิวแมนต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน
Authors: Kotchawan Thawichai
กชวรรณ ทะวิชัย
Supaporn Naewbood
สุภาพร แนวบุตร
Naresuan University
Supaporn Naewbood
สุภาพร แนวบุตร
supapornn@nu.ac.th
supapornn@nu.ac.th
Keywords: โปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวาน
พฤติกรรมสุขภาพ
ระดับน้ำตาลในเลือด
ทฤษฎีระบบของนิวแมน
กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน
Diabetes prevention program
Health behaviors
Fasting plasma glucose
Neuman System Model
Prediabetes persons
Issue Date:  23
Publisher: Naresuan University
Abstract: This quasi-experimental research employed a two-group pretest-posttest design. This research aimed to investigate the effects of diabetes prevention program utilizing the Neuman system model on health behaviors and fasting plasma glucose among prediabetes persons. The sample group comprised individuals aged 35 to 59 years with prediabetes, characterized by fasting plasma glucose levels ranging from 100 – 125 mg/dl. Samples were allocated to either experimental or comparison group using both simple random sampling and purposive sampling techniques, with 30 participants in each group. The experimental group received a 12-week Neuman System Model-based diabetes prevention program. The comparison group received standard nursing care. Research instruments included 1) general information questionnaires and health behavior questionnaires related to diabetes prevention and 2) Neuman system model-based diabetes prevention program assessed by five experts. The instruments demonstrated high content validity index with validity indices of 0.95 and 0.96, respectively, and high reliability by a Cronbach’s alpha coefficient of 0.82. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, paired t-test and independent t-test. Following the program implementation, results revealed that: 1. The experimental group exhibited a statistically significant increase in the average score of health behaviors after participating in the program compared to before, with statistical significance at .05. 2. The experimental group demonstrated a significantly higher average scores in health behaviors after participating in the program than the comparison group, with statistical significance at .05. 3. The experimental group showed a statistically significant decrease in the average of fasting plasma glucose levels after participating in the program compared to before, with statistical significance at .05. 4. The experimental group showed a statistically significant lower average fasting plasma glucose levels after participating in the program than the comparison group, with statistical significance at .05. This study suggest that modifying the diabetes prevention program based on the Neuman system model can effectively improve health behaviors and reduce the fasting plasma glucose levels in prediabetes persons. This study also highlights the importance of encouraging nurses to apply such programs when providing care for prediabetes persons.
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวานโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบของ นิวแมนต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อายุ 35 – 59 ปี มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติ ระหว่าง 100 - 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โดยการสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มอย่างง่ายและการคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 รายและกลุ่มควบคุม จำนวน 30 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวาน ระยะเวลา 12 สัปดาห์ ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีระบบของนิวแมนมาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวาน และ 2) โปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวาน ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.95 และ 0.96 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการวิเคราะห์ Paired t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพ หลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพ หลังได้รับโปรแกรมสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด หลังได้รับโปรแกรมต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด หลังได้รับโปรแกรมต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าโปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวานโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบของนิวแมนสามารถช่วยให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ ดังนั้น พยาบาลวิชาชีพสามารถประยุกต์โปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวานนี้ไปใช้ในการดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนได้
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6277
Appears in Collections:คณะพยาบาลศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64060130.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.