Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6275
Title: | The effects of Information-Motivation-Behavioral Skills program on knowledge, attitude, and behavioral skills toward pregnancy prevention and sexually transmitted infections among female junior high school students ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และพัฒนาทักษะต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะเชิงพฤติกรรมในการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น |
Authors: | Suchanaree Maneesri สุชานรี มณีศรี Worawan Tipwareerom วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์ Naresuan University Worawan Tipwareerom วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์ worawant@nu.ac.th worawant@nu.ac.th |
Keywords: | การป้องกันการตั้งครรภ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นักเรียนหญิง การให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรม IMB model pregnancy prevention STIs female students |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purposes of this Quasi-experimental research were to examine the effects of an Information-Motivation-Behavioral Skills on knowledge, attitude, behavioral skills toward pregnancy prevention and sexually transmitted infections among female junior high school. The sample consisted of female in high school of age 12 – 13 years old. The sample included 70 participants. There are thirty-five experimental groups and thirty-five control groups. The experimental group received the Information-Motivation-Behavioral Skills program by application of the IMB model. The control group received the normal curriculum. The duration of this program was 8 weeks. Research instruments were questionnaires consisting of three parts: 1) Knowledge on the prevention of pregnancy and sexually transmitted infections, tested using the KR-20, which showed a result of 0.74. 2) Attitude on the prevention of pregnancy and sexual transmitted infections, with reliability determined by a Cronbach’s alpha coefficient of 0.74, and 3) Behavioral skills on the prevention of pregnancy and sexual transmitted infections, with reliability determined by a Cronbach’s alpha coefficient of 0.74. Data was analyzed using descriptive statistics, including independent sample t-test and paired t-test.
The results indicated the following:
1. The experimental group had higher mean scores of knowledge attitude and behavioral skills of pregnancy prevention and sexual transmitted infections than joining the program (p การวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และพัฒนาทักษะต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะเชิงพฤติกรรมในการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิง อายุ 12 – 13 ปี สุ่มกลุ่มตัวอย่าง 70 คน เป็นกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม การให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และพัฒนาทักษะ ซึ่งประยุกต์ใช้รูปแบบ IMB Program และกลุ่มควบคุมได้รับการเรียนการสอนตามปกติ ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม 3 ส่วน 1) แบบวัดความรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ค่า KR-20 เท่ากับ 0.74 2) แบบวัดทัศนคติในการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.74 และ 3) แบบวัดทักษะเชิงพฤติกรรมในการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที สถิติ Independent t-test และ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มทดลองมีเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติ และทักษะเชิงพฤติกรรมในการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) 2. กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้การป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) 3. กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทัศนคติการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) 4. กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะเชิงพฤติกรรมในการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) บุคลากรด้านสุขภาพสามารถนำผลการศึกษานี้ไปใช้ในการวางแผนในการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น มีการนำรูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ในการส่งข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลเรื่องเพศได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6275 |
Appears in Collections: | คณะพยาบาลศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63063125.pdf | 4.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.