Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6261
Title: | Factors Influencing Quality of Life in Elderly Stroke in Next Normal ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองยุคปกติถัดไป |
Authors: | Papahwadee Chirawat ปภาวดี ชิราวัธน์ Nichakarn Songthai ณิชกานต์ ทรงไทย Naresuan University Nichakarn Songthai ณิชกานต์ ทรงไทย nichakarns@nu.ac.th nichakarns@nu.ac.th |
Keywords: | คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, โรคหลอดเลือดสมอง, ยุคปกติถัดไป quality of life elderly stroke next normal |
Issue Date: | 23 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purpose of this cross-sectional research was to study factors predicting the quality of life of elderly people with stroke in the next normal era. The 120 elderlies with stroke diagnosed within six months, obtained from systematic random sampling was the study sample. Data were collected from profile files and structured interviews. The research tools were a demographic data and illness history form, The questionnaires consisting of 1) depression 2) Perception of self-efficacy 3) social support and 4) quality of life of stroke patients. All four questionnaires have been previously completely standard content validity and reliability. The researcher asked permission to use it without modifying but re-test the reliability. The Cronbach's alpha coefficient of the questionnaire was obtained as 0.71, 0.94, 0.92, and 0.95, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics and analyze the binary logistic regression using the Forward stepwise method.
The research results found that the elderly with stroke had an overall quality of life at a good level (70.83%). Factors which predict good quality of life include the severity of the disease, type of stroke, and perception of self-efficacy. The three factors together able to predict 61.90% with statistical significance at the .05 level and had a correct prediction efficiency of 87.50%. The results of this study can utilize to provide information for effective continuously care in order to promote good quality of life for elderly people with stroke. วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางนี้เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองยุคปกติถัดไป กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการวินิจฉัยไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 120 ราย ที่ได้จากการสุ่มแบบมีระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มประวัติและสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและประวัติการเจ็บป่วย แบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) ภาวะซึมเศร้า 2) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน 3) การสนับสนุนทางสังคม และ 4) คุณภาพชีวิตเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามทั้ง 4 ฉบับนี้ที่เคยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและมีความเที่ยงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ผู้วิจัยขออนุญาตใช้โดยไม่ได้ดัดแปลงแต่นำมาทดสอบความเที่ยงซ้ำ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.71 , 0.94 , 0.92 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ค่าถดถอยโลจิสติกทวิโดยวิธี Forward stepwise ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 70.83 ปัจจัยที่ทำนายโอกาสของการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้แก่ ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง ชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนโดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 61.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ มีประสิทธิภาพการทำนายถูกต้องร้อยละ 87.50 ผลการศึกษานี้ สามารถนำปัจจัยที่ค้นพบไปใช้เป็นข้อมูลในการดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองต่อไป |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6261 |
Appears in Collections: | คณะพยาบาลศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62060385.pdf | 2.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.