Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6260
Title: | ประสบการณ์การปรับตัวของผู้ป่วยวัณโรคปอดสูงอายุที่รักษาสำเร็จ Adaptation Experience among Older Persons with Successful of Pulmonary Tuberculosis Treatment |
Authors: | Nawapon Janjamsri นวพล จันทร์แจ่มศรี Wongduan Suwannakeeree วงเดือน สุวรรณคีรี Naresuan University Wongduan Suwannakeeree วงเดือน สุวรรณคีรี wongduans@nu.ac.th wongduans@nu.ac.th |
Keywords: | ประสบการณ์การปรับตัว วัณโรคปอด ผู้สูงอายุ รักษาสำเร็จ Adaptation experiences Pulmonary tuberculosis Successful treatment Older persons |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research is a qualitative study was aimed to explore the adaptation experiences of successfully treated older pulmonary tuberculosis (TB) patients.
The research also aims to identify the factors that promote or hinder the adaptation process in these patients. The study selected 15 specifically targeted older pulmonary TB patients who had been successfully treated. Data were collected from February 2022 to September 2023 using various research tools including researcher, in-depth question, general data record form, non-participatory observation form, and recording devices. Data was analyzed by applying the Colaizzi method.
The study revealed that the adaptation experiences of older pulmonary TB patients who had undergone successful treatment can be categorized into the following key themes 1) Symptom management and treatment which included medication adherence, using patience to medication side effects, attending scheduled medical appointments and being cautious about the spread of infection. 2) Physical strengthening which included modifying their diet, increasing rest, and cessation of smoking and alcohol consumption. 3) Psychological
well-being which included patients engaged in relaxation activities, sought emotional support to maintain psychological well-being and confidence in the medical treatment. Factors facilitating adaptation included family support and health care worker support. Factors hindering adaptation included being communicable disease of pulmonary TB and declining memory abilities.
Recommendations based on the study findings suggest that the results of this study can be used as a foundation for promoting adaptive strategies for older pulmonary tuberculosis patients, aiming for successful future treatments. การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสบการณ์การปรับตัวของผู้ป่วยวัณโรคปอดสูงอายุที่รักษาสำเร็จ และปัจจัยที่ส่งเสริมและเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวของผู้ป่วยวัณโรคปอดสูงอายุที่รักษาสำเร็จ โดยคัดเลือกผู้ป่วยวัณโรคปอดสูงอายุที่รักษาสำเร็จแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ถึงเดือนกันยายน 2566 เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัย แนวคำถามเชิงลึก แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และอุปกรณ์บันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยประยุกต์ใช้วิธีการของโคไลซี่ ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์การปรับตัวของผู้ป่วยวัณโรคปอดสูงอายุที่รักษาสำเร็จ แบ่งออกได้ดังนี้ 1) การจัดการกับอาการและการรักษา ได้แก่ ใช้ยารักษาวัณโรคปอด ใช้ความอดทนต่อผลข้างเคียงของยารักษาวัณโรคปอด พบแพทย์ตามนัด และระวังการแพร่กระจายเชื้อ 2) การทำร่างกายให้แข็งแรง ได้แก่ ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร เพิ่มการพักผ่อน และเลิกบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3) การรักษาใจให้แข็งแรง ได้แก่ ทำกิจกรรมผ่อนคลาย หาสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และเชื่อมั่นในการรักษาของบุคลากรทางการแพทย์ โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริมการปรับตัว ได้แก่ การช่วยเหลือจากครอบครัว และการช่วยเหลือจากบุคลากรทางการแพทย์ ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัว ได้แก่ การป่วยด้วยโรคติดต่อ และความสามารถในการจำลดลง ข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยวัณโรคปอดสูงอายุ เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการรักษาโรคต่อไป |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6260 |
Appears in Collections: | คณะพยาบาลศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NawaponJanjamsir.pdf | 1.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.