Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6258
Title: The Effects of Empowerment Programs on Health Care Behaviors, A1C Level and Glomerular Filtration Rate among Type 2 Diabetic Older Adults with Chronic Kidney Disease
ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ระดับเอวันซี และอัตราการกรองของไตในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเรื้อรัง
Authors: Unchalee Meerod
อัญชลี มีรอด
Nongnut Oba
นงนุช โอบะ
Naresuan University
Nongnut Oba
นงนุช โอบะ
Nongnut@nu.ac.th
Nongnut@nu.ac.th
Keywords: โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ
ระดับเอวันซี
อัตราการกรองของไต
ผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเรื้อรัง
Empowerment Program
Health behaviors
A1C Level
Glomerular filtration rate
Type 2 Diabetic Older Adults
Issue Date:  23
Publisher: Naresuan University
Abstract: This quasi-experimental research was a two-group pretest-posttest design to examine the effects of an empowerment program on healthcare behaviors, A1C levels and glomerular filtration rate among type 2 diabetic older adults with chronic kidney disease. The sample included 60 type 2 diabetes older adults with stage 3 chronic kidney disease. Thirty experimental subjects were selected by random sampling while 30 control subjects selected by matching with the experimental subjects. The experimental group received an empowerment program which consisted of 4 steps; (1) discovering reality, (2) critical reflection, (3) taking charge, and (4) holding on. The program covered a period of 12 weeks. The control group received regular care. The research collecting instruments were a health care behavior questionnaire and a clinical data recording form. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, paired t-test and independent t-test. The results showed that the average scores of healthcare behavior and glomerular filtration rate of the experimental group after the intervention program were significantly higher than before the intervention at the .001 level. However, the average score of A1C after the intervention program of the experimental group was significantly lower than before the intervention at .001 level. Comparing the experimental and control group outcomes, the average score of health care behaviors and glomerular filtration rate of the experimental group after the intervention program were significantly higher than those of the control group at .001. Also, the average score of A1C of the experimental group after the intervention program was significantly lower than that of the control group at the .001 level. These results showed that the empowerment program could improve the healthcare behavior, A1C level and glomerular filtration rate among type 2 diabetes older adults with chronic kidney disease.
การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มวัดก่อนหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ระดับเอวันซี และอัตราการกรองของไตของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และมีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 3 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมจำนวนกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การค้นพบสภาพการณ์จริง การสะท้อนความคิดอย่างมีวิจารณญาณ การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมและลงมือปฏิบัติ การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติ ที่มีประสิทธิภาพ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และแบบบันทึกข้อมูลทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีคู่ (Paired t-test) และ สถิติทีอิสระ (Independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและอัตราการกรองของไตหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 และค่าเฉลี่ยเอวันซีหลังการทดลองของกลุ่มทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 และ 2) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและอัตราการกรองของไตหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 และค่าเฉลี่ยเอวันซีหลังการทดลองของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจมีผลทำให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเรื้อรังมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม ระดับเอวันซีลดลง และอัตราการกรองของไตของเพิ่มขึ้น
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6258
Appears in Collections:คณะพยาบาลศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61062632.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.