Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6220
Title: ความก้าวหน้าในเส้นทางการพัฒนาวิทยฐานะวิชาชีพของครูและผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพการจัดการศึกษา : พหุกรณีศึกษา
Advancement in the Development of Academic Base for Teaching Career and School Administrators: A Multi-Case Studies
Authors: Piyapat Jirapunyachoti
ปิยภัทร์ จิรปุณญโชติ
Chamnan Panawong
ชำนาญ ปาณาวงษ์
Naresuan University
Chamnan Panawong
ชำนาญ ปาณาวงษ์
chamnanp@nu.ac.th
chamnanp@nu.ac.th
Keywords: ความก้าวหน้าในวิชาชีพครู
วิทยฐานะ
คุณภาพการศึกษา
วิจัยเชิงคุณภาพ
พหุกรณีศึกษา
Profession
Master Teacher
Quality of education
Multi-Case
Issue Date: 2567
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to: 1) investigate the factors and conditions contributing to the success or failure in the professional academic standing development of teachers and school administrators and 2) examine the relationship between the advancement in the professional academic standing development path of teachers and school administrators and the quality of educational management in educational institutions. The study employed a qualitative research approach with a multi-case study design. The study included 16 informants divided into two categories based on their academic standing levels: 1) Senior Professional Level and 2) Expert Level. They were further divided into two groups: Group 1 - successful in developing professional academic standing and Group 2 - unsuccessful in developing professional academic standing. The informants were selected based on reputation-case selection. The research instruments included 1) Non-Structured Interview and 2) Participation Observation. Data analysis was conducted using qualitative research methods, including: 1) Data Classification, 2) Component Analysis, 3) Inductive Summary Analysis, and 4) Triangulation, which involved data triangulation from time sources and individual sources. The research findings were as follows: 1) Group 1, who successfully developed their professional academic standing, was influenced by internal conditional factors, including personal factors, attitude factors, self-development factors, motivational factors, work experience factors, and family factors. The external conditional factors included organizational factors, school administrator factors, colleague factors, student factors, and social factors. Group 2, who did not succeed in developing their professional academic standing, was influenced by internal conditional factors such as self-development factors, attitude factors, family factors, work experience factors, and economic factors, as well as external conditional factors like organizational factors and student factors. 2) The study on the relationship between the advancement in the professional academic standing development path of teachers and school administrators and the quality of educational management revealed that teachers who successfully developed their academic standing to the Senior Professional Level and Expert Level applied the new knowledge and experience gained from the academic standing development process to improve the quality of education. This was observed in three areas: 1) Learning management, which included teaching models, media, and classroom innovations that had been evaluated and awarded, used to enhance student quality. 2) Supporting and promoting learning management, with activities that supported active learning. 3) Self-development and professional development, with plans for academic advancement and postgraduate studies, leading to the creation of professional learning networks. For school administrators who succeeded in developing their academic standing, five areas were observed: 1) Academic administration and leadership, demonstrated by leading school development, supervision, and mentoring subordinates. 2) Educational institution management, with observations from the school learning environment, showed that appropriate learning resources and educational materials contribute to a safe school. 3) Strategic and innovative change management, by linking school management models with research knowledge from postgraduate studies and academic advancement, manages the school’s quality according to the quality school policy. 4) Community and network management, with projects and activities fostering academic collaboration between educational institutions, such as short-term vocational courses, scout volunteer projects, and Buddhist-oriented schools. 5) Self-development and professional development, with plans for further education consisting of educational higher educational qualifications. As for the group who did not succeed in developing their academic standing as teachers at the senior professional level and expert level, three areas were observed: 1) Learning management, lacked engaging teaching models, media, and classroom innovations, resulting in varied student achievement.2) Supporting and promoting learning management, had limited diverse learning activities. 3) Self-development and professional development, faced indecision about further studies and disinterest in academic advancement. For school administrators who did not succeed in developing their academic standing, five areas were observed: 1) Academic administration and leadership, where there was implementation of educational management policies but a lack of results and prominence. 2) School management, where learning environments were created but did not align with the policies for safe and quality schools. 3) Strategic and innovative change management, which lacked a school management model. 4) Community and network management, which had limited projects and activities. 5) Self-development and professional development, which lacked professional development plans and there is also a plan to take the exam for management positions.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิทยฐานะวิชาชีพของครูและผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความก้าวหน้าในเส้นทางการพัฒนาวิทยฐานะวิชาชีพของครูและผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบบแผนพหุกรณีศึกษา ผู้ให้ข้อมูล 16 กรณี ได้แก่ 1) วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 2) วิทยฐานะเชี่ยวชาญ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิทยฐานะวิชาชีพครู กลุ่มที่ 2 ไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิทยฐานะวิชาชีพครู โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลกรณีรู้จักและกรณีเด่น (Reputation-case Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Non-Structured Interview) 2. แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ 1) การจำแนกประเภทข้อมูล 2) การวิเคราะห์ส่วนประกอบ 3) การวิเคราะห์สรุปอุปนัย และ 4) ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) ด้านข้อมูล (Data Triangulation) ได้แก่ แหล่งเวลา แหล่งบุคคล ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มที่ 1 ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิทยฐานะวิชาชีพครู ประกอบด้วย ปัจจัยและเงื่อนไขภายใน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเจตคติ ปัจจัยด้านการพัฒนาตนเอง ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ปัจจัยด้านประสบการณ์การทำงาน ปัจจัยด้านครอบครัว ส่วนปัจจัยและเงื่อนไขภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านองค์กร ปัจจัยด้านผู้บริหารโรงเรียน ปัจจัยด้านเพื่อนร่วมงาน ปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านสังคม กลุ่มที่ 2 ไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิทยฐานะวิชาชีพครู ประกอบด้วย ปัจจัยและเงื่อนไขภายใน ได้แก่ ปัจจัยด้านการพัฒนาตนเอง ปัจจัยด้านเจตคติ ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านประสบการณ์การทำงาน ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยและเงื่อนไขภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านองค์กร และปัจจัยด้านนักเรียน 2. ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความก้าวหน้าในเส้นทางการพัฒนาวิทยฐานะวิชาชีพของครูและผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา กลุ่มที่ประสบความสำเร็จ ตำแหน่งครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญพบว่า ใช้องค์ความรู้ใหม่และประสบการณ์ที่ได้จากกระบวนการพัฒนาวิทยฐานะพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการสังเกต 3 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการจัดการเรียนรู้ มีรูปแบบการสอน สื่อ นวัตกรรมในชั้นเรียนที่ผ่านการประเมินและประกวดจนได้รับรางวัล นำมาพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ 2.ด้านส่งเสริมสนับสุนนการจัดการเรียนรู้ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 3.ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ มีแผนการพัฒนาวิทยฐานะและแผนการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ส่วนผู้บริหารสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิทยฐานะ โดยสังเกต 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ มีความเป็นผู้นำทางวิชาการ สังเกตได้จากการเป็นผู้นำในการพัฒนาโรงเรียน การนิเทศ และการเป็นพี่เลี้ยงให้ผู้ใต้บังคับบัญชา 2) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา สังเกตจากการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนในโรงเรียนมีแหล่งการเรียนรู้และทรัพยากรทางการศึกษาที่เหมาะสมเป็นโรงเรียนปลอดภัย 3) ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม มีรูปแบบการบริหารโรงเรียนเชื่อมโยงกับองค์ความรู้ด้านการวิจัยระหว่างการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาและการพัฒนาวิทยฐานะนำมาพัฒนา และบริหารโรงเรียนมีคุณภาพตามนโยบายโรงเรียนคุณภาพ 4) ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย มีโครงการและกิจกรรมและการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษา  ได้แก่ การเรียนรู้วิชาชีพระยะสั้น โครงการลูกเสือกิจอาสา โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ และ 5) ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ มีแผนการพัฒนาตนเอง ประกอบด้วย การศึกษาต่อและแผนการพัฒนาวิทยฐานะให้ระดับที่สูงขึ้น ส่วนกลุ่มไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิทยฐานะ ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ โดยสังเกต 3 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการจัดการเรียนรู้ พบว่า ไม่มีรูปแบบการสอน สื่อ นวัตกรรมในชั้นเรียนที่น่าสนใจ นอกจากนี้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน 2.ด้านส่งเสริมสนับสุนนการจัดการเรียนรู้ ไม่มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย 3.ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ อยู่ระหว่างการตัดสินใจศึกษาต่อและเกิดความเบื่อหน่ายในการพัฒนาวิทยฐานะ ส่วนผู้บริหารสถานศึกษาที่ไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิทยฐานะ โดยสังเกต 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ มีการดำเนินตามนโยบายการจัดการศึกษาแต่ยังขาดผลลัพธ์และความโดดเด่น 2) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนโดยแต่ยังไม่สอดคล้องกับนโยบายโรงเรียนปลอดภัยและโรงเรียนคุณภาพ 3) ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม ไม่มีรูปแบบการบริหารโรงเรียน 4) ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย มีโครงการและกิจกรรมน้อย และ 5) ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ พบว่า ไม่มีแผนการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ แต่มีแผนการสอบในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6220
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PiyapatJirapunyachoti.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.