Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6216
Title: ผลของคุณภาพแสงแอลอีดีต่อการสร้างยอดใหม่ของการเพาะเลี้ยงใบและกระตุ้นการผลิตสารพลัมบาจินในหยาดน้ำค้าง (Drosera spp.)และกาบหอยแครง (Dionaea muscipula J.Ellis)
Effect of LED light quality on shoot organogenesis of leaf-disc culture and elicitation of plumbagin production in Drosera spp. and Dionaea muscipula J.Ellis
Authors: SIRIKHWAN WONGWANICH
ศิริขวัญ วงษ์วานิช
Phithak Inthima
พิทักษ์ อินธิมา
Naresuan University
Phithak Inthima
พิทักษ์ อินธิมา
phithaki@nu.ac.th
phithaki@nu.ac.th
Keywords: สารทุติยภูมิ, พืชกินแมลง, HPLC
secondary metabolites carnivorous plant High Performance Liquid Chromatography
Issue Date: 2562
Publisher: Naresuan University
Abstract:   Plants in the family Droseraceae are insectivorous plants. That is utilized as ornamental plants and medicinal plants. To induce the creation of plumbagin. Which is an important botanical chemical of plants in this family. Therefore has been studied in suitable mediums and light quality, To the production of secondary metabolites from leaf-disc culture of sundews and venus flytrap for 60 days. It was found that regeneration rate was not different in all mediums. For plants in the genus Drosera, Dr. burmanii cannot change morphology on all medium. Dr. communis after cultured for 60 days that regeneration rate was not difference in all mediums and it can regeneration to 100 percent. Dr. peltata cultured on ½MS with added 0.1 mg/L of BA can highest regeneration rate, And Dr. adelea it had highest to induce regeneration rate on the ½MS diet with added 0.1 mg/L.           When culturing the leaf of sundew and venus flytrap Under different lighting quality. It was found that culturing the leaf of venus flytrap. It was found that under red and white light had the highest regeneration rate. And the highest production of plumbagin when cultured under red light. For sundew, Dr. communis found that it can induce 100% regeneration in all light, but the fastest rate of change under green and blue light. It can stimulate the production of plumbagin the most when compared to the culture under white, blue and green light but did not differences significant. Dr. peltata found that cultured under red and green light can induce the best regeneration rate. And the maximum production of plumbagin can be obtained under white light when compared to blue and dark light but not different significant. Dr. adelea cultured under dark and white light, can induce the highest regeneration rate. And can stimulate the highest production of plumbagins when cultured under dark conditions when compared to white light but not different significant. The study, it can be seen that the growth regulators had affect on regeneration in in vitro culture of carnivorous plantand the quality of light had affects on regeneration, growth and production of secondary metabolites. But different carnivorous plants had respond to different medium and light qualities.
พืชในวงศ์ Droseraceae เป็นพืชกินแมลง ที่นำมาใช้ประโยชน์เป็นไม้ประดับและพืชสมุนไพรเพื่อเหนี่ยวนำการสร้างพลัมบาจิน ซึ่งเป็นสารพฤกษเคมีที่สำคัญของพืชในวงศ์นี้จึงได้มีการนำมาศึกษาเพื่อหาสูตรอาหารและคุณภาพแสงที่เหมาะสมต่อการผลิตสารทุติยภูมิซึ่งจากการเพาะเลี้ยงใบของหยาดน้ำค้าง และกาบหอยแครงบนอาหารอาหารที่แตกต่างกันเป็นเวลา 60 วัน พบว่ากาบหอยแครงนั้นมีอัตราการเกิดยอดใหม่ไม่แตกต่างกันในทุกสูตรอาหาร สำหรับพืชในสกุล Drosera นั้น D. burmanii ไม่สามารถสร้างยอดใหม่ได้บนอาหารทุกสูตร  D. communis ที่เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 60 วันมีอัตราการเกิดยอดใหม่ไม่แตกต่างกันในทุกสูตรอาหารและสามารถเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาได้ 100 เปอร์เซ็นต์ D. peltata เมื่อเพาะเลี้ยงบนอาหาร ½MS ที่เติม BA 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร มีอัตราการเกิดยอดใหม่สูงที่สุด D. adelea สามารถชักนำให้เกิดยอดใหม่มากที่สุดบนอาหาร ½MS ที่เติม BA 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร และเมื่อเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนใบของหยาดน้ำค้างและกาบหอยแครงภายใต้คุณภาพแสงที่แตกต่างกันพบว่ากาบหอยแครงที่เพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะแสงสีแดง และขาวมีอัตราการเกิดยอดใหม่สูงที่สุด และมีการผลิตสารพลัมบาจินที่สูงที่สุดเมื่อเพาะเลี้ยงภายใต้แสงสีแดง สำหรับพืชในสกุล Drosera นั้น D. communis พบว่าสามารถชักนำให้เกิดยอดใหม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ในทุกแสงแต่อัตราการเกิดยอดที่เร็วที่สุดภายใต้แสงสีเขียวและสีน้ำเงิน และภายใต้แสงสีแดงสามารถกระตุ้นให้มีการผลิตพลัมบาจินได้มาที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการเพาะเลี้ยงภายใต้แสงสีขาว, น้ำเงิน และเขียวแต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ D. peltata พบว่าที่เพาะเลี้ยงภายใต้แสงสีแดงและเขียว สามารถชักนำให้เกิดยอดใหม่ได้ดีที่สุด และ การผลิตสารพลัมบาจินได้มากที่สุดภายใต้แสงสีขาว เมื่อเปรียบเทียบกับแสงสีน้ำเงินและที่มืดแต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ D. adelea ที่เพาะเลี้ยงภายใต้ที่มืดและแสงสีขาวสามารถชักนำให้มีอัตราการเกิดยอดใหม่สูงที่สุด และสามารถกระตุ้นให้มีการผลิตพลัมบาจินได้สูงที่สุดเมื่อเพาะเลี้ยงภายใต้ที่มืดเมื่อเปรียบเทียบกับแสงขาวแต่ไม่แต่ต่างกันทางสถิติ จากการศึกษาจะเห็นได้ว่าสารควบคุมการเจริญเติบโตในอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้นมีผลต่อการเกิดยอดใหม่ของพืชกินแมลง และคุณภาพแสงนั้นมีผลต่อการเกิดยอดใหม่, การเจริญเติบโต และการผลิตสารทุติยภูมิ แต่พืชกินแมลงที่ต่างชนิดกันจะตอบสนองต่ออาหารและคุณภาพแสงที่แตกต่างกัน
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6216
Appears in Collections:คณะวิทยาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SirikhwanWongwanich.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.