Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6210
Title: การจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เรื่อง เครื่องกลอย่างง่าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
The Design thinking based learning management to develop creativity for sustainability About Simple Machine for grade 8 students
Authors: Siriluck Khaikaew
ศิริลักษณ์ ไข่แก้ว
Skonchai Chanunan
สกนธ์ชัย ชะนูนันท์
Naresuan University
Skonchai Chanunan
สกนธ์ชัย ชะนูนันท์
skonchaic@nu.ac.th
skonchaic@nu.ac.th
Keywords: การจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐาน
ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เครื่องกลอย่างง่าย
Design thinking-based learning management
Creativity for sustainability
Simple Machines
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of research were 1) to study the design thinking-based learning management for the development of creativity for sustainability on the topic of simple machines, and 2) to study the results of the development of creativity for sustainability following the design thinking-based learning management. The research instruments included three lesson plans, reflective learning management, activity sheets, creativity for sustainability assessment and students' projects. The results revealed that 1) for the learning management of design thinking-based learning to develop creativity for sustainability, teachers should emphasize selecting situations that are students' daily lives or situations that impact them, the characteristics of the situations should support problem-solving ideas that apply social, economic, and environmental knowledge. Teachers should prepare information on local cultural, materials that reduce waste generation, and information on the cost of materials for creating model. Students should have sufficient time to develop their ideas, and teachers should review the ideas before proceeding to create the model. Additionally, students should be given the freedom to choose materials for creating the model. It's important to explain the assessment criteria for the model pieces to ensure students understand how their work will be evaluated based on the points set by the teacher. 2) Students who received learning management using design thinking-based learning have increased development of creativity for sustainability across all six components, with each component at level 4.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ 2) ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เรื่อง เครื่องกลอย่างง่าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผน แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และชิ้นงานของนักเรียน ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีประเด็นที่ควรเน้น ได้แก่ การเลือกใช้สถานการณ์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันหรือสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อนักเรียน ลักษณะของสถานการณ์จะต้องเอื้อต่อแนวคิดการแก้ปัญหาที่นำองค์ความรู้ด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้ ประกอบกับควรมีแหล่งข้อมูลด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น, วัสดุที่ลดการเกิดของเสีย และข้อมูลต้นทุนของวัสดุในการสร้างโมเดลชิ้นงาน ทั้งนี้ระยะเวลาในการสร้างแนวคิดของนักเรียนควรมีอย่างเพียงพอ และครูควรมีการตรวจสอบแนวคิดที่แต่ละกลุ่มได้เลือก 1 แนวคิดก่อนนำไปสร้างโมเดลชิ้นงานจริง อีกทั้งให้อิสระกับนักเรียนในการเลือกใช้วัสดุสำหรับสร้างโมเดลชิ้นงาน และควรชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับนักเรียนในเรื่องของเกณฑ์การประเมินโมเดลชิ้นงานเพื่อให้นักเรียนสามารถสะท้อนข้อคิดเห็นได้ตรงตามประเด็นที่ครูกำหนด และ 2) นักเรียนมีพัฒนาการของความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้นในทั้ง 6 องค์ประกอบและแต่ละองค์ประกอบอยู่ในระดับ 4
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6210
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SiriluckKhaikaew.pdf5.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.