Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6175
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPattarachon Apisitwittayaen
dc.contributorภัทรชล อภิสิทธิ์วิทยาth
dc.contributor.advisorNetnaphis Warnnissornen
dc.contributor.advisorเนตรนภิส วรรณิสสรth
dc.contributor.otherNaresuan Universityen
dc.date.accessioned2024-07-10T02:02:38Z-
dc.date.available2024-07-10T02:02:38Z-
dc.date.created2566en_US
dc.date.issued2566en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6175-
dc.description.abstractThe skin is the largest organ in the human body. It envelops and protects the body from foreign matter in the environment. Human skin has three main skin layers: Epidermis, Dermis, and Subcutaneous Tissue. In the epidermis there are melanocyte cells. It is responsible for melanin production in the skin, eyes, hair and can also absorb ultraviolet rays and protect cells from sun damage. Although melanin helps protect the skin but abnormal production of melanin can cause skin diseases such as freckles, dark spots, and skin cancer. Nowadays, Market trends in Medicine, supplements, and cosmetics attend to medicinal plant extracts that contain important melanogenesis inhibitors. Therefore, agricultural waste has begun to be studied in this field such as Corn silk is a waste product from corn. Generally it will be thrown away or used as animal feed which has low value.The objective of this research was to study the biological activity of Corn Silk Extract. Cell viability, melanin production were studied in B16F10 cells after stimulated with Corn Silk Extract. Anti-inflammatory effect and in Silico. The results found that Corn Silk Extract has antioxidant, concentrations at 10 % of Corn Silk Extract has toxic to B16F10 cells. Anti-inflammation and melanin reduction. The last step is to study molecular docking of the binding of tyrosinase in human, mushroom and mouse with the active ingredients in Corn Silk Extract which are Nicotinic acid, Tranexamic acid, Citric acid, L-leucine, L-isoleucine and Coumaric acid. Results indicated that 6 active compounds of Corn Silk Extract could interact with all types of tyrosinase using hydrogen bonding. It is expected 6 active compounds have structures suitable for binding with Cu2+ in the molecule in the catalytic site of the tyrosinase enzyme. As a result, the catalytic site structure of the tyrosinase enzyme loses its function. This makes Corn Silk Extract effective in reduce melanin production. Therefore, the results of this experiment may be used as preliminary information to study the biological activity of Corn Silk Extract for application use in the future.en
dc.description.abstractผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ ทำหน้าที่ห่อหุ้มและปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ จากสิ่งแวดล้อม ผิวหนังมนุษย์ประกอบไปด้วย 3 ชั้นหลัก ได้แก่ ชั้นหนังกำพร้า ชั้นหนังแท้ และ ชั้นไขมัน โดยในชั้นหนังกำพร้าจะมีเซลล์เมลาโนไซต์ ทำหน้าที่ในการสร้างเม็ดสีเมลานินให้กับผิวหนัง ดวงตา และเส้นผม และยังสามารถดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตที่เป็นอันตรายและปกป้องเซลล์จากการทำลายของแสงแดด แม้ว่าเมลานินจะช่วยปกป้องผิว แต่การผลิตเม็ดสีเมลานินที่มากผิดปกติอาจทำให้เกิดโรคผิวหนัง เช่น ฝ้า กระ จุดด่างดำ ไปจนถึงมะเร็งผิวหนังได้ในกรณีร้ายแรง ปัจจุบันตลาดยา อาหารเสริม และ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ให้ความสนใจในสารสกัดจากธรรมชาติที่มีสารสำคัญในการยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน จึงเริ่มมีการนำของเหลือใช้ทางการเกษตรมาศึกษา เช่น ไหมข้าวโพด เป็นของเหลือทิ้งจากการบริโภคข้าวโพด โดยทั่วไปจะนำไปทิ้ง หรือนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ ซึ่งมีมูลค่าต่ำ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดไหมข้าวโพด ศึกษาอัตราการรอดชีวิต การสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินในเซลล์มะเร็งผิวหนัง B16F10 หลังจากถูกกระตุ้นด้วยสารสกัดไหมข้าวโพด ศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบและศึกษาในคอมพิวเตอร์ ซึ่งจากผลการทดลองสารสกัดไหมข้าวโพดมีฤทธิ์ในการต้านสารอนุมูลอิสระ เซลล์มะเร็งผิวหนัง B16F10 หลังจากถูกกระตุ้นด้วยสารสกัดไหมข้าวโพดที่ความเข้มข้น 10% มีอัตราการรอดชีวิตในเซลล์ ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สารสกัดไหมข้าวโพดมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ และลดการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินในเซลล์มะเร็งผิวหนัง B16F10 สุดท้ายเป็นการศึกษาการจำลองการจับกันของไทโรซิเนสในเห็ด ในมนุษย์ และในหนู ต่อสารออกฤทธิ์ในสารสกัดไหมข้าวโพด ผลวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ในสารสกัดไหมข้าวโพดด้วยเทคนิค LC-MS/MS พบสารออกฤทธิ์ที่น่าสนใจ ได้แก่ Nicotinic acid, Tranexamic acid, Citric acid, L-leucine, L-isoleucine และ Coumaric acid พบว่าไทโรซิเนสมีความสามารถในการจำลองการจับกับสารออกฤทธิ์ในสารสกัดไหมข้าวโพดทั้ง 6 ชนิดได้ คาดว่าสารออกฤทธิ์จากสารสกัดไหมข้าวโพดทั้ง 6 ชนิดมีโครงสร้างที่เหมาะสมในการเข้าจับกับคอปเปอร์ที่บริเวณเร่งปฏิกริยาในโมเลกุลของไทโรซิเนส ส่งผลให้โครงสร้างในบริเวณเร่งปฏิกริยาของไทโรซิเนสสูญเสียการทำงานไปไม่สามารถสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินได้อย่างปกติ ส่งผลให้เกิดการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินลดลง ดังนั้นผลการทดลองในงานวิจัยครั้งนี้อาจใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดไหมข้าวโพด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หรือการรักษาโรคต่อไปได้ในอนาคตth
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectสารสกัดไหมข้าวโพด, ฤทธิ์ลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ฤทธิ์ต้านการอักเสบth
dc.subjectCorn Silk Extract Melanin reduction Antioxidant Anti-inflammationen
dc.subject.classificationBiochemistryen
dc.subject.classificationHuman health and social work activitiesen
dc.subject.classificationBiology and biochemistryen
dc.titleฤทธิ์ลดการสร้างเม็ดสีเมลานินและการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดไหมข้าวโพดth
dc.titleMelanin reduction and biological activities of Corn Silk Extracten
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorNetnaphis Warnnissornen
dc.contributor.coadvisorเนตรนภิส วรรณิสสรth
dc.contributor.emailadvisornetnaphisw@nu.ac.then_US
dc.contributor.emailcoadvisornetnaphisw@nu.ac.then_US
dc.description.degreenameMaster of Science (M.S.)en
dc.description.degreenameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
dc.description.degreedisciplineDepartment of Biochemistryen
dc.description.degreedisciplineภาควิชาชีวเคมีth
Appears in Collections:คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PattarachonApisitwittaya.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.