Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6171
Title: โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร
Causal Relationship Model of Factors Influencing Entrepreneurial Intentionamong Undergraduate Students at Naresuan University
Authors: Wipaporn Intuyod
วิภาภรณ์ อินทุยศ
Nattakan Prechanban
ณัฐกานต์ ประจันบาน
Naresuan University
Nattakan Prechanban
ณัฐกานต์ ประจันบาน
nattakanp@nu.ac.th
nattakanp@nu.ac.th
Keywords: ความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ
ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน
การจัดการศึกษาเพื่อความเป็นผู้ประกอบการ
นิสิตระดับปริญญาตรี
การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
Entrepreneurial Intention
Theory of Planned Behavior
Entrepreneurship Education
Undergraduate Students
Structural Equation Modeling
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed at 1) To develop and validate the Causal Relationship Model of Factors Influencing Entrepreneurial Intention among Undergraduate Students at Naresuan University using empirical data. 2) To analyze the direct effects, indirect effects, and total effects of causal factors on the entrepreneurial intention of undergraduate students at Naresuan University. This will be achieved by employing the planned behavior theory proposed by Ajzen (1991) in conjunction with the educational entrepreneurship concept developed by the Office of the Higher Education Commission in 2018. The sample group consists of 350 undergraduate students from Naresuan University in the academic year 2022. The samples were selected by using a multistage-stage random sampling, using Entrepreneurial Intention Questions (EIQ) used by Liñán (2009), and a questionnaire regarding educational entrepreneurship, developed by the researcher as an instrument. The statistics used to analyze the data were mean, standard deviation, variance, and Pearson's correlation coefficient using SPSS for Windows, as well as path analysis using MPlus Program Version 7.11. The study found that; 1. Causal Relationship Model of Factors Influencing Entrepreneurial Intention among Undergraduate Students at Naresuan University using empirical data (Chi-square = 71.197, df = 50, p-value = 0.026, CFI = 0.996, TLI = 0.992, RMSEA = 0.035, SRMR = 0.020, χ2 /df = 1.424) 2. The Attitude toward Entrepreneurship, Perceived Behavioral Control, Entrepreneurship Education, and Subjective Norms influence the Entrepreneurial Intention of undergraduate students at Naresuan University. Among these factors, Perceived Behavioral Control has the highest direct influence on Entrepreneurial Intention, followed by both direct and indirect influences of Entrepreneurship Education on Entrepreneurial Intention. The next in line is the Attitude toward Entrepreneurship, which exerts an indirect influence on Entrepreneurial Intention through Perceived Behavioral Control. Lastly, Subjective Norms indirectly influence Entrepreneurial Intention through the Attitude toward Entrepreneurship and Perceived Behavioral Control. The variation in Entrepreneurial Intention can be explained by independent variables in the structural equation model up to approximately 89.3%.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวรกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) วิเคราะห์อิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวม ของปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงสาเหตุต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ของไอเซน (1991) ร่วมกับแนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นผู้ประกอบการ ของกระทรวงศึกษาธิการ (2561) กลุ่มตัวอย่างนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 350 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการที่พัฒนามาจากแบบวัดความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ ของ Liñán, & Chen (2009) และแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นผู้ประกอบการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเอง ลักษณะข้อคำถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) โดยใช้โปรแกรมเอ็มพลัส (MPlus Program Version 7.11) ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวรมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2= 71.197, df = 50, p-value = 0.026, CFI = 0.996, TLI = 0.992, RMSEA = 0.035, SRMR = 0.020, χ2 /df = 1.424) 2. เจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ (AE) การรับรู้ความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ (PBC) การจัดการศึกษาเพื่อความเป็นผู้ประกอบการ (EE) และบรรทัดฐานทางสังคม (SN) อิทธิพลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ (EI) ของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งการรับรู้ความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ (PBC) มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ (EI) สูงที่สุดโดยเป็นอิทธิพลทางตรง รองลงมาคือ การจัดการศึกษาเพื่อความเป็นผู้ประกอบการ (EE) มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ (EI) โดยมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อม อันดับถัดมาคือ เจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ (AE) มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ (EI) ทางอ้อมผ่านทางการรับรู้ความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ (PBC) และสุดท้ายบรรทัดฐานทางสังคม (SN) มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการทางอ้อมผ่านเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ (AE) การรับรู้ความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ (PBC) ค่าสัมประสิทธิ์การทำนายของความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ (EI) ถูกอธิบายได้ด้วยตัวแปรอิสระในสมการโครงสร้างประมาณร้อยละ 89.3
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6171
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WipapornIntuyod.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.