Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6165
Title: | ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 The effects of learning activities using the SSCS model and Think-Pair-Share technique on Mathematics problem solving ability in addition, subtraction, multiplication, and division of grade III students |
Authors: | Kanokwan Khumson กนกวรรณ คำสอน Wichian Thamrongsotthisakul วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล Naresuan University Wichian Thamrongsotthisakul วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล wichianth@nu.ac.th wichianth@nu.ac.th |
Keywords: | รูปแบบ SSCS เทคนิคเพื่อนคู่คิด การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ The SSCS Model Think-Pair-Share technique Mathematics problem solving ability |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research aims to compare the ability to solve mathematical problems on addition, subtraction, multiplication, and division of Grade 3 students before and after learning by using the SSCS (Search, Solve, Create, and Share) model and the Think-Pair-Share technique. The participants were 28 Grade 3 students at Wat Krabang Mangkalaram School (Phisan Prachasan), Phitsanulok Primary Educational Service Area Office, Area 3, Semester 2, Academic Year 2023, by purposive sampling. One-group pretest-posttest design to measure before and after the treatment was presented. The research tools used in the research include: 1) three learning activity plans totaling eight hours using the SSCS model combined with the Think-Pair-Share technique, focusing on the ability to solve mathematical problems on addition, subtraction, multiplication, and division of Grade 3 student. The content validity was high (x̄ = 4.50, S.D. = 0.25); 2) a 3-item-subjective test (item reliability = 0.87) to measure the ability to solve mathematical problems regarding addition, subtraction, multiplication, and division. The statistics used in data analysis were mean, standard deviation and a statistical test to test the hypotheses was a dependent samples t-test.
The research reveals that students’ scores to solve mathematical problems before studying and after studying by organizing learning activities using the SSCS format together with the thinking partner technique were 7.07 and 23.60, respectively. As a hypothesis testing tool, the t-test showed there was a statistically significant difference before and after the treatment at the .05 level. which was in line with the research assumptions. การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดกระบังมังคลาราม(พิศาลประชาสรรค์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 28 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบบแผนการวิจัย One-Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด ที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 แผน รวมทั้งหมด 8 ชั่วโมง มีความเหมาะสมในระดับมาก (x̄ = 4.50, S.D. = 0.25) และ 2) แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน แบบอัตนัย จำนวน 3 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบ คือ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด เท่ากับ 7.07 และ 23.60 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบ พบว่า ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6165 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KanokwanKhumson.pdf | 1.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.