Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6126
Title: ปัจจัยในการออกแบบภาพประกอบประเภทการ์ตูนที่มีผลต่อการสื่อสารด้านอารมณ์ ความรู้สึก และสื่อความหมาย ของคนต่างช่วงวัยและต่างวัฒนธรรม
The Influence of Cartoon Design Factors on Meaning and Emotional Communication Across Age and Culture
Authors: Patcharin Tongchung
พัชรินทร์ ทองชั่ง
Charanya Phaholthep
จรัญญา พหลเทพ
Naresuan University
Charanya Phaholthep
จรัญญา พหลเทพ
charanyap@nu.ac.th
charanyap@nu.ac.th
Keywords: การส่งเสริมการรับรู้การออกแบบการ์ตูน
ภาพประกอบสำหรับการสื่อความหมาย
ภาพประกอบสำหรับการสื่อสารอารมณ์
การออกแบบการ์ตูนเพื่อคนต่างช่วงวัย
The Influence of Cartoon Design
Cartoon Design for communication
Cartoon Design for emotions
Cartoon Design for across ages
Cartoon Design for across cultures
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: Visual communication is a tool for interpersonal communication that shared understanding for people from different culture, age, gender, etc., by reduce reading process. Cartoon is a type of illustrations that very well communicates emotions, meanings, and telling stories to the diverse audiences. In illustration design, there are various design elements and characteristics that can be described, but which one of them can convey emotion, sense perception, and meaning. Therefore, this research recognizes the importance of examining and classifying elements Physical elements are used to design illustrations that affect the perception of emotions and feelings in a systematic and reliable way. By using a case study of cartoon illustration design to prove The research objectives are 1) to study the factors and principles of designing cartoon illustrations that affect communication, emotions, feelings, and meaning. 2) to analyze the physical characteristics of elements in designing cartoon illustrations that affect. to emotional perception feelings and meaning of people of different ages and across cultures 3) To analyze and compare the relationship between the physical elements of cartoon illustrations and their emotional perception. feelings and meaning of people of different ages and different cultures. 4) To present factors and physical characteristics of elements in the design of cartoon illustrations that affect the perception of emotions, feelings, and meanings of people of different ages and cultures. This research is a mixed method of both quantitative and qualitative research. The population and sample groups used in the research are divided according to the objectives: 1) a sample group of experts Illustration design, 9 people, using the Delphi Technique for the first time. For a preliminary investigation using questionnaires and a second semi-structured interview to confirm the results and assess the level of awareness of physical elements in the design of cartoon illustrations that affect the perception of emotions and feelings. with a questionnaire 2) The sample group was divided according to nationality. Volunteers included 3 nationalities, namely Thais, Japanese, and Americans in 1 nation, consisting of 3 age groups: university age (20-24 years) number in 100 people, working age (25-54 years) number in 100 people and elderly people (over 55 years and up) number in 100 people. Totally 300 people for 3 nationalities and in total number of 900 people. 1st time to evaluate to confirm the level of knowledge of physical characteristics factors in cartoon illustration design. 2nd time to compare. Relationships and differences between ages and cultures. Total samples used in this research were 909 people. Tools used in the research included questionnaires, semi-structured interviews. Question form, 5-level rating scale, data analysis using averages. Standard deviation and comparative analysis for relationships using two-way analysis of variance (Two-way ANOVA) statistics. Factors and physical characteristics of elements in cartoon illustration design that affect the perception of emotions, feelings, and meaning. of people of different ages and cultures, it was found that the results of the evaluation by a sample of experts placed the art elements at the highest level of awareness. The nationality sample provided art elements and character factors. Both of which have a strong relationship that affects perception and is more important to visual communication than any other factor. Factors in artistic composition include: 1) Using lines to communicate emotions. Black lines help make the structure of the characters clearer. The results of the evaluation of the sample group by nationality were different from the group of experts who found that The size of the lines is such that thin lines are perceived better than thick lines. But thick lines have a better effect on perception among the elderly. 2) Use of color, color conflict. Contrasting color pairs create depth and dimension for the character. To create distinctiveness by separating the characters from the background Character factors include: 1) having characters and scenes The setting enhances the mood of the image. Telling the stories and events of the characters. 2) Expressing the emotions of the characters. Through both the use of lines and colors, including actions through body expression (Body Gesture), with lines showing gestures (Line of Action) to make it look like there is movement (Dynamic Pose) and expression through facial expressions (Facial Expression) such as eyes. Mouth to communicate the emotions of the characters. 3) Character proportions: SD (Super Deformed) The paintings are out of proportion, with additions, reductions, cuts, and alterations from reality. Makes it possible to see facial expressions, emotions, and details on the face well when the image is small, which affects perception well in the elderly group. Results from the hypothesis testing revealed that different personal factors such as experience, cultural background, and age affect perception. Communication and interpretation The physical elements of the cartoon illustration design are significantly different at the .05 level. Therefore, to make visual communication effective, it requires a shared experience (Field of Experience) for both the sender and the sender. and receiver           From the results of this research It can be concluded that Factors that affect communication in terms of emotions, feelings, and meaning include personal factors such as age, experience, cultural background, and knowledge that affect perception factors. Interpretation The connection between the system and the ability to interpret images. With images through symbols or physical elements in designing illustrations, including lines, colors, characters, proportions, etc.
การสื่อสารด้วยภาพเป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างบุคคลทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน โดยลดความพยายามในการใช้ความสามารถสำหรับการอ่าน การเรียนรู้ได้มาก และการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้เช่นกัน ดังเช่นการ์ตูน เป็นหนึ่งในประเภทของภาพประกอบที่ใช้ในการสื่อสาร เล่าเรื่องราว ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกได้เป็นอย่างดี ในการสร้างภาพประกอบนั้นมีองค์ประกอบและลักษณะทางกายภาพหลากหลายที่สามารถอธิบายถึง แต่องค์ประกอบใดบ้างที่สามารถสื่อสารถึงการรับรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึก และสื่อความหมายได้ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงเล็งเห็นความสำคัญในการตรวจสอบและจำแนกองค์ประกอบทางกายภาพในการออกแบบภาพประกอบที่ส่งผลต่อการรับรู้ด้านอารมณ์และความรู้สึกได้อย่างเป็นระบบและน่าเชื่อถือ โดยนำกรณีศึกษาการออกแบบภาพประกอบการ์ตูนมาใช้พิสูจน์ วัตถุประสงค์งานวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยและหลักการออกแบบภาพประกอบประเภทการ์ตูนที่ส่งผลต่อด้านการสื่อสาร ด้านอารมณ์ ความรู้สึกและสื่อความหมาย 2) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพขององค์ประกอบในการออกแบบภาพประกอบประเภทการ์ตูนที่ส่งผลต่อการรับรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึกและสื่อความหมาย ของคนต่างช่วงวัย และต่างวัฒนธรรม 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางกายภาพของภาพประกอบประเภทการ์ตูนกับการรับรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึกและสื่อความหมาย ของคนต่างช่วงวัยและต่างวัฒนธรรม 4) เพื่อนำเสนอปัจจัยและลักษณะทางกายภาพขององค์ประกอบในการออกแบบภาพประกอบประเภทการ์ตูนที่ส่งผลต่อการรับรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึก และสื่อความหมายของคนต่างช่วงวัยและต่างวัฒนธรรม งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งตามวัตถุประสงค์ คือ 1) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ด้านการออกแบบภาพประกอบ จำนวน 9 ท่าน ด้วยวิธีใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) ครั้งที่ 1 เพื่อการตรวจสอบเบื้องต้นโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง ครั้งที่ 2 เพื่อยืนยันผลและประเมินระดับการรับรู้ขององค์ประกอบทางกายภาพในการออกแบบภาพประกอบประเภทการ์ตูนที่ส่งผลต่อการรับรู้ด้านอารมณ์และความรู้สึก ด้วยแบบสอบถาม 2) กลุ่มตัวอย่างแบ่งตามสัญชาติ อาสาสมัครรวม 3 ชาติ ได้แก่ คนไทย คนญี่ปุ่น และคนอเมริกัน ใน 1 ชาติ ประกอบด้วย 3 ช่วงวัย ได้แก่ วัยมหาวิทยาลัย (20-24 ปี) จำนวน 100 คน วัยทำงาน (25-54 ปี) จำนวน 100 คน และวัยผู้สูงอายุ (มากกว่า 55 ปี ขึ้นไป) จำนวน 100 คน รวม 300 คน รวม 3 ชาติ จำนวนทั้งหมด 900 คน ครั้งที่ 1 ในการประเมินผลเพื่อยืนยันระดับการรู้ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพของในการออกแบบภาพประกอบการ์ตูน ครั้งที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ความแตกต่างระหว่างช่วงวัย และวัฒนธรรม รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 909 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง แบบคำถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เปรียบเทียบหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA)  ปัจจัยและลักษณะทางกายภาพขององค์ประกอบในการออกแบบภาพประกอบประเภทการ์ตูนที่ส่งผลต่อการรับรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึก และสื่อความหมาย ของคนต่างช่วงวัยและต่างวัฒนธรรม พบว่า ผลการประเมินโดยกลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญได้ให้ด้านองค์ประกอบศิลป์อยู่ในระดับการสร้างการรับรู้ที่มากที่สุด ส่วนกลุ่มตัวอย่างตามสัญชาติให้องค์ประกอบศิลป์และปัจจัยด้านตัวละคร ซึ่งทั้งสองมีส่วนสัมพันธ์กันที่ส่งผลต่อการสร้างการรับรู้ได้ดีมากและมีความสำคัญต่อการสื่อสารด้วยภาพมากกว่าปัจจัยด้านอื่น ปัจจัยด้านองค์ประกอบศิลป์ ประกอบด้วย 1) การใช้เส้นเพื่อสื่อสารอารมณ์ เส้นสีดำ ช่วยให้โครงสร้างของตัวละครมีความชัดเจนขึ้น ผลจากการประเมินของกลุ่มตัวอย่างตามสัญชาติมีความแตกต่างจากกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญที่พบว่า ขนาดของเส้นคือเส้นบางมีการรับรู้ได้ดีกว่าเส้นหนา แต่เส้นหนามีผลต่อการรับรู้ได้ดีในกลุ่มผู้สูงอายุ 2) การใช้สี ความขัดแย้งของสี คู่สีที่ตัดกันจะทำให้เกิดการสร้างระยะและมิติให้กับตัวละครได้ ในการสร้างความโดดเด่นโดยการแยกตัวละครออกจากฉากหลัง ปัจจัยด้านตัวละคร ประกอบด้วย 1) มีตัวละครและฉาก ฉากจะช่วยส่งเสริมอารมณ์ของภาพ บอกเล่าเรื่องราวและเหตุการณ์ของตัวละคร 2) การแสดงอารมณ์ของตัวละคร ผ่านทั้งการใช้เส้นและสี ได้แก่ ทางการกระทำโดยการแสดงออกผ่านทางร่างกาย (Body Gesture) ด้วยเส้นแสดงท่าทาง (Line of Action) ทำให้ดูมีความเคลื่อนไหว (Dynamic Pose) และการแสดงออกผ่านทางสีหน้า (Facial Expression) เช่น ตา ปาก เพื่อสื่อสารถึงอารมณ์ของตัวละคร 3) สัดส่วนตัวละคร SD (Super Deformed) ภาพเขียนแบบผิดสัดส่วน มีการเพิ่ม ลด ตัดทอน ดัดแปลงไปจากความเป็นจริง ทำให้มองเห็นสีหน้า อารมณ์ รายละเอียดบนใบหน้าได้ดีเมื่อภาพมีขนาดเล็กซึ่งมีผลต่อการรับรู้ได้ดีในกลุ่มผู้สูงอายุ ผลจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านบุคคลที่แตกต่างกัน เช่น ประสบการณ์ ภูมิหลังทางวัฒนธรรม อายุ ส่งผลต่อการรับรู้ การสื่อสารและตีความหมาย ในองค์ประกอบทางกายภาพของการออกแบบภาพประกอบการ์ตูนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น การที่จะทำให้การสื่อสารด้วยภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยประสบการณ์ร่วมกัน (Field of Experience) ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร จากผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถสรุปได้ว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสาร ด้านอารมณ์ ความรู้สึก และสื่อความหมาย ประกอบด้วย ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ อายุ ประสบการณ์ ภูมิหลังวัฒนธรรม ความรู้ ที่ส่งผลต่อปัจจัยด้านการรับรู้ การแปลความหมาย ความเชื่อมโยงเรื่องของระบบความสามารถในการตีความจากภาพ ด้วยรูปผ่านสัญญะหรือองค์ประกอบทางกายภาพในการออกแบบภาพประกอบ ได้แก่ เส้น สี ตัวละคร สัดส่วน ฯลฯ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6126
Appears in Collections:คณะสถาปัตยกรรมศาสต์ ศิลปะและการออกแบบ

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PatcharinTongchung.pdf10.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.