Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6124
Title: The development of spelling writing skills by using the TGT technique cooperative learning combined with the teaching package of grade 4 students
การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดการสอน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Authors: Utumpohn Mayom
อุทุมพร มาโยม
Kanchana Witchayapakorn
กาญจนา วิชญาปกรณ์
Naresuan University
Kanchana Witchayapakorn
กาญจนา วิชญาปกรณ์
kanchanaw@nu.ac.th
kanchanaw@nu.ac.th
Keywords: การเรียนรู้แบบร่วมมือ; การจัดการเรียนรู้เทคนิค TGT; ชุดการสอน
Cooperative Learning; Team Game Tournament technique (TGT); Teaching Package
Issue Date:  6
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research were to 1) to develop a lesson plan of writing spelling by using the TGT technique cooperative learning combined with the teaching package of grade 4 students with the efficiency of 80/80 efficiency index 2) To compare learning achievements in writing spelling skill of grade 4 students before and after by using the TGT technique cooperative learning combined with the teaching package and 3) To acknowledge the students’ satisfaction towards the learning management. The samples of this research are Prathayom 4 students at Bannongprue School, Wangthong district, Phitsanulok under the Secondary Educational Service Area Office Phitsanulok 2 The research is conducted on the 2nd semester in 2022. There are 181 samples in school, which each room has 15 students by using a purposive sampling method. The instrument used in this study were 1) 4 lesson plans of writing spelling by using the TGT technique cooperative learning combined with the teaching package 2) Pre and post of achievement test 3) Teaching package in writing spelling of grade 4 students 4 4) Satisfaction Survey form studying with TGT technique cooperative learning combined with the teaching package. Statistics in this research used are basic statistics, index of Item Objective Congruence: IOC, Standard Deviation, and dependent sample t – test, an efficiency of (E1/E2), difficulty index of achievement test, Discrimination Index and reliability index of achievement test.  The results of this study indicated that 1) Lesson plans of writing spelling by using the TGT technique cooperative learning combined with the teaching package of grade 4 students had the efficiency of 87.00/90.67 2) The result between the pretest and the posttest of studying in writing spelling by using the TGT technique cooperative learning combined with the teaching package, the post-test was higher than the pre-test at with statistical significance at the level of .05  3) The result of grade 4 students’ satisfaction toward using the TGT technique cooperative learning combined with the teaching package was at 4.65 and standard deviation was at 0.47 which was at high level.    
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ การเขียนสะกดคำ ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดการสอน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดการสอน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ประชากร ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองปรือ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 181 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองปรือ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 15 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดการสอน จำนวน 4 แผน 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ชุดการสอน เรื่อง การเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 4) แบบประเมินความพึงพอใจมีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดการสอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบ dependent ประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ การเขียนสะกดคำ ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดการสอน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 87.00/90.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ผลการจัดการเรียนรู้การเขียนสะกดคำก่อนและหลังเรียน ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดการสอน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.65 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.47 
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6124
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64091622.pdf5.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.