Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6120
Title: | การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคลินิก สำหรับนักศึกษาพยาบาล A DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL BASED ON TRANSFORMATIVE LEARNING THEORY TO ENHANCE CLINICAL REASONING ABILITY FOR NURSING STUDENTS |
Authors: | Khanarot Apinyalungkon ฆนรส อภิญญาลังกร Wareerat Kaewurai วารีรัตน์ แก้วอุไร Naresuan University Wareerat Kaewurai วารีรัตน์ แก้วอุไร wareeratk@nu.ac.th wareeratk@nu.ac.th |
Keywords: | รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง การให้เหตุผลทางคลินิก instructional model transformative learning clinical reasoning |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purpose of this study were 1) to study problems of clinical reasoning among student nurses of transformative learning to enhance clinical reasoning in nursing for nurse students, 2) to construct instructional model based on transformative learning theory to enhance clinical reasoning ability for nursing students and examine its quality, 3) to implement, and 4) to evaluate this instructional model. Using a 4-step research and development process: 1) Studying obstacles in organizing learning that enhance clinical reasoning and guidelines for developing instructional according to transformative learning theory 2) Creating and checking the quality of the model, a pilot study was conducted to determine the effectiveness index. 3) Implementation the model with a sample group, there are 21 nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Phrae, 3rd year, academic year 2023, obtained from cluster random sampling. 4) Model evaluation. Data analysis used content analysis, mean, standard deviation and dependent t-test, and one sample t-test.
The results of this study were as follows:
1. The clinical reasoning problems among student nurses, focused on data collection. Interpretation of the problem and practice were at high level. For guidelines developing instruction based on transformative learning theory, there should be a pre-conference, post-conference, bedside teaching, reflection, questioning, mind maps and being a good example for teachers.
2. The instructional developed model consisted of (a) principles, (b) objectives, (c) contents, (d) instructional processes, and (e) measurements and evaluations. It has a learning management process focused on thought transformative in 5 steps contained (1) preparation of learners (2) encountering nursing practice situations (3) critical reflection and rational discourse (4) changes in nursing practice (5) summarizing learning and changes. The experts' agreement endorsed the developed model quality at the highest level and its supplementary learning materials at the high level. Of the pilot study, the effective index scores were at .6347 It higher than the specified minimum threshold of 50 percent.
3. As a result of the developed model implementation, it was found that (1) After studying with the instructional model, nursing student had clinical reasoning abilities higher scores than those before studying (p<.01) and higher scores than the criterion of seventy percent (p<.01) both the overall picture and the elements of each aspect of thinking.
4. The nursing students who were taught with the developed instructional model, overall, had opinions towards this instructional model at a highest level. Furthermore, the findings of the study recorded after using the instructional model indicated that the nursing students underwent changes in all aspects of clinical reasoning. The findings revealed the following: 1) Data Collection: The student nurses gained the ability to gather information from history taking, physical examination, and observation and searching for information from other sources more completely;
2) Defining Problems: Changes involving interpretation of data to define and prioritize problems correctly based on individual contexts; 3) Goal-setting: Ability be set criteria consistent with each individual's condition and context; 4) Practice: Changes involving reasoning in each nursing activity and selecting nursing activities in accordance with the situations of each person; 5) Outcome Reflection: Changes in evaluation after performing nursing activities and application of the results to improvement. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคลินิก และแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคลินิก สำหรับนักศึกษาพยาบาล 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคลินิกสำหรับนักศึกษา 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงโดย 4) ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคลินิก สำหรับนักศึกษาพยาบาล โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการให้เหตุผลทางคลินิก และแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง 2) การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ ทดลองนำร่องเพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผล 3) การทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 21 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม 4) การประเมินรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่มีปัญหาการให้เหตุผลทางคลินิกในด้านการรวบรวมข้อมูล การตีความกำหนดปัญหา และการปฏิบัติ สำหรับแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงควรมีกิจกรรมประชุมปรึกษาก่อนลงมือปฏิบัติงาน การประชุมปรึกษาหลังการปฏิบัติงาน การเรียนการสอนข้างเตียง การสะท้อนคิด การใช้คำถาม แผนผังความคิด และการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้สอน 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง มีองค์ประกอบดังนี้ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผล กระบวนการจัดการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอน คือ 1) เตรียมความพร้อมผู้เรียน 2) เผชิญกับสถานการณ์การปฏิบัติการพยาบาล 3) ใคร่ครวญอย่างมีวิจารณญาณและแลกเปลี่ยนทางความคิดอย่างมีเหตุผล 4) เปลี่ยนแปลงการปฏิบัติการพยาบาล 5) สรุปการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลง ผลการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด คู่มือการใช้รูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมาก รูปแบบมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) 0.6347 คิดเป็นร้อยละ 63.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 ที่กำหนดไว้ 3. นักศึกษาพยาบาลที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคลินิกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. นักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นต่อรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.65, S.D.= 0.07) และผลการศึกษาบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ การเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นทำให้นักศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงตนเองในการให้เหตุผลทางคลินิกในทุกด้าน โดยพบว่า 1) ด้านการรวบรวมข้อมูล สามารถรวบรวมข้อมูลจาก การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และสังเกตค้นหาข้อมูลจากแหล่งอื่นได้ครบถ้วนมากขึ้น 2) ด้านการตีความกำหนดปัญหา เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการแปลความข้อมูลสู่การกำหนดปัญหาและจัดลำดับปัญหาได้ถูกต้องกับบริบทของแต่ละบุคคล 3) ด้านการตั้งเป้าหมาย สามารถตั้งเกณฑ์ได้สอดคล้องกับสภาพและบริบทของแต่ละบุคคล 4) ด้านการปฏิบัติ เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการให้เหตุผลในแต่ละกิจกรรมการพยาบาลและเลือกปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลสอดคล้องกับสถานการณ์การเจ็บป่วยแต่ละบุคคล 5) การสะท้อนผลลัพธ์ เกิดการเปลี่ยนแปลงในการประเมินผลหลังการปฏิบัติกิจกรรมและการนำผลไปปรับปรุง |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6120 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KhanarotApinyalungkon.pdf | 3.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.