Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6102
Title: | การพัฒนาสารเคลือบผิวไคโตซานร่วมกับสารสกัดมะระขี้นกชะลอโรคแอนแทรคโนสในมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง Development of chitosan coating product containing bitter gourd extract to delay anthracnose disease in mango “Nam Dok Mai Si Thong” |
Authors: | Narueporn Bongkham นฤพร บ้งคำ Maliwan Nakkuntod มลิวรรณ นาคขุนทด Naresuan University Maliwan Nakkuntod มลิวรรณ นาคขุนทด maliwann@nu.ac.th maliwann@nu.ac.th |
Keywords: | โรคแอนแทรคโนส มะระขี้นก ไคโตซาน มะม่วง Anthracnose disease Bitter gourd Chitosan Mango |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | Mangifera indica cv “Nam Dok Mai Si Thong” is the most popular fruit worldwide. It often faces anthracnose disease in both vegetative and reproductive stages. This disease's symptoms lead to low yields and hinder exportation. Therefore, developing a coating to reduce anthracnose disease incidence in mango fruits is necessary. This research aimed to develop an edible chitosan coating containing bitter gourd extract to control anthracnose disease in mangoes. Two conditions had experimented. First, efficacy of chitosan coatings at 0.5%, 1%, and 2% concentrations which each containing 500 ppm of bitter gourd extract in controlling anthracnose caused by Colletotrichum gloeosporioides on mango fruits over 10 days was evaluated. The results demonstrated that the chitosan coatings with bitter gourd extract delayed disease progression more effectively than coatings with chitosan or bitter gourd extract alone. Notably, the 2% chitosan coating with bitter gourd extract was most effective in delaying the disease after 5, 7, and 10 days of inoculation. Furthermore, the 1% chitosan coating exhibited the most significant reduction in weight loss of the mango fruits. The expression of the β-1,3-glucanase gene in mangoes was analyzed before and after fungal infection as well as after coating with chitosan containing with bitter gourd extract. The results showed that RNA extraction from mango was high concentration but low purity. Moreover, after the removal of RNA, there was a considerable reduction in the amount of RNA. Thus, gene expression is unsuccessful in cDNA synthesis. Our study demonstrated that chitosan coatings with bitter gourd extract effectively reduce water loss, suppress disease incidence, and delay ripening in mangoes. Therefore, this eco-friendly coating formulation presents an excellent alternative to chemical treatments, ensuring superior mango quality for export and transportation. มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองถือเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมนำมารับประทานโดยมีชื่อเสียงทั่วโลก แต่มักประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคแอนแทรคโนสทั้งในระยะการเจริญเติบโตและระยะสืบพันธุ์ ซึ่งอาการของโรคแอนแทรคโนสส่งผลทำให้ผลผลิตตกต่ำและเป็นอุปสรรคในการส่งออก ดังนั้นเพื่อควบคุมการเกิดโรคแอนแทรคโนสในผลมะม่วง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสารเคลือบผิวไคโตซานที่บริโภคได้ร่วมกับสารสกัดจากมะระขี้นกในการควบคุมการเกิดโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง โดยแบ่งการทดสอบเป็น 2 รูปแบบคือ การทดสอบประสิทธิภาพของสารเคลือบผิวไคโตซานที่ความเข้มข้น 0.5, 1 และ 2% ร่วมกับสารสกัดจากมะระขี้นกที่ความเข้มข้น 500 ppm ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสที่เกิดจากเชื้อรา C. gloeosporioides บนผลมะม่วงน้ำดอกไม้ เป็นเวลา 10 วัน ผลการศึกษาพบว่าการเคลือบผิวด้วยไคโตซานที่ผสมสารสกัดมะระขี้นกสามารถชะลอการเกิดโรคแอนแทรคโนสได้ดีกว่าการเคลือบผิวด้วยไคโตซานหรือสารสกัดมะระขี้นกเพียงอย่างเดียว โดยในวันที่ 5, 7 และ 10 หลังการเพาะเชื้อ ผลมะม่วงที่เคลือบผิวด้วยไคโตซาน 2% ผสมสารสกัดมะระขี้นกมีประสิทธิภาพในการชะลอการเกิดโรคได้ดีที่สุด อีกทั้งยังพบว่าผลมะม่วงที่เคลือบด้วยไคโตซาน 1% สามารถช่วยลดการสูญเสียน้ำหนักในผลมะม่วงได้มากที่สุด และการศึกษาการแสดงออกของยีน β-1,3- glucanase ก่อนและหลังเคลือบผิวไคโตซานร่วมกับสารสกัดมะระขี้นก ผลการศึกษาพบว่าอาร์เอ็นเอที่สกัดได้จากมะม่วงมีความเข้มข้นมากแต่มีความบริสุทธิ์ต่ำ อีกทั้งหลังการกำจัดอาร์เอ็นเอมีปริมาณอาร์เอ็นเอลดลงเป็นจำนวนมาก จึงไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างซีดีเอ็นเอจึงยังไม่สามารถตรวจสอบการแสดงออกของยีนได้ จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการเคลือบผิวมะม่วงด้วยไคโตซานที่ผสมสารสกัดมะระขี้นกมีศักยภาพในการช่วยลดการสูญเสียน้ำ ช่วยลดการเกิดโรคแอนแทรคโนส และสามารถชะลอการสุกของมะม่วงได้ ดังนั้นสารเคลือบผิวไคโตซานที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากมะระขี้นกจึงจัดเป็นทางเลือกหนึ่งในการใช้ทดแทนสารเคมีเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพที่ดีขึ้นก่อนส่งออกหรือขนส่งต่อไป |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6102 |
Appears in Collections: | คณะวิทยาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NaruepornBongkham.pdf | 3.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.