Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6097
Title: | การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสำหรับครอบครัวด้วยกระบวนการนวจินตนาการในบริบทของชายหาดและสวนน้ำ THE DEVELOPMENT OF FAMILY TOURISM DESTINATIOS THROUGH AN IDEATION PROCESS IN THE CONTEXT OF BEACHES AND WATER PARKS |
Authors: | Weeraya Meesawatdikul วีรยา มีสวัสดิกุล Siripen Dabphet ศิริเพ็ญ ดาบเพชร Naresuan University Siripen Dabphet ศิริเพ็ญ ดาบเพชร siripend@nu.ac.th siripend@nu.ac.th |
Keywords: | การท่องเที่ยวเชิงครอบครัว นักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัว ประสบการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัว กระบวนการนวจินตนาการ Family Tourism Family Tourist Family Tourist Experiences Ideation Process Family Tourist Attractions |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The objectives of this study were 1) to explore the characteristicsof the family tourism experiences and family tourist destinations from the perspective of family tourists with ideation process; 2) to study the relationship between family tourism experiences and family tourist destinations, and 3) to propose guidelines for developing family tourist destinations with ideation process. This study used a mixed methods and exploratory sequential design. Overall, the research process was divided into three phases including, phase 1, It is the qualitative study that collected data from 36 family tourists, consisting of grandparents, parent, and children (childhood–adolescent) with interview. A thematic method was used for data analysis to develop tools for collecting quantitative data. Phase 2, It is the quantitative study that collected data from 384 family tourists of various ages by using questionnaires developed in the previous phase. The data were analyzed by using exploratory factor analysis (EFA), correlation coefficient and one-way ANOVA.The previous results were used for creating family tourist destinations that are consistent with family tourists of various ages. Phase 3, It is the quantitative study that is used for evaluating the effectiveness of created family tourist destinations. The findings revealed that the characteristics of family tourism experiences included 6 components: 1. Interaction Experience, 2. Fun Experience, 3. Relax Experience, 4. Escape Experience, 5. Knowledge experience, and 6. Conveying Memories Experience. The characteristics of family tourist destinations consists of 6 components: 1. Safety Destination, 2. Activities, 3. Comfort Accommodation, 4. Delight Natural Tourist Attraction, 5. Amenities for Various Ages, and 6. Cultural Tourism Resources Reflecting Way of Life. The study also shows that, the characteristics of each tourism experience are related with the family destinations in different ways. Moreover, it was found that family tourists of different ages have their own unique tourism experiences, along with the characteristics of family destinations. The study also shows that each group of touristsis interested in family destination in different ways.The results of this study provided guidelines for entrepreneurs to use in designing family destinations that are consistent of tourists’ experiences. The destination for extended family tourism must include natural attractions or cultural attractions, and environment covered with trees and plants. The destination for nuclear family tourism must include comfortable accommodations, such as a swimming pool, kids' club, accommodations with activities for the whole family, and guidelines for developing tourist attractions according to the characteristics of different groups of tourists in the family. การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประสบการณ์การท่องเที่ยวและลักษณะแหล่งท่องเที่ยวสำหรับครอบครัวจากมุมมองของนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวด้วยกระบวนการนวจินตนาการ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของประสบการณ์การท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยวสำหรับครอบครัว และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสำหรับครอบครัวด้วยกระบวนการนวจินตนาการ การศึกษาใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ด้วยกระบวนการวิจัยด้วยวิธีการศึกษาตามลำดับขั้นตอน (Exploratory Sequential Design)กระบวนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ในระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวหลายช่วงวัย ประกอบด้วย ปู่ย่า-ตายาย พ่อ-แม่ และลูก-หลาน (เด็กเล็ก-เด็กโต) จำนวน 36 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่ได้พัฒนามาทำการศึกษาโดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวหลายช่วงวัย จำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ Exploratory Factor Analysis (EFA) การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) นำข้อมูลจากผลการศึกษามาสร้างแหล่งท่องเที่ยวสำหรับครอบครัวที่สอดคล้องกับนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวในช่วงวัยต่างๆ และระยะที่ 3 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างขึ้น ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัว ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ประสบการณ์ด้านการสร้างความสัมพันธ์ 2. ประสบการณ์ด้านความสนุก 3. ประสบการณ์ด้านความผ่อนคลาย 4. ประสบการณ์ด้านการหลบหนี 5. ประสบการณ์ด้านการเรียนรู้ และ 6. ประสบการณ์ด้านการส่งต่อความทรงจำ สำหรับลักษณะของแหล่งท่องเที่ยวสำหรับครอบครัว ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. แหล่งท่องเที่ยวที่ปลอดภัย 2. กิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย 3. ที่พักที่สะดวกสบาย 4. แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม 5. สิ่งอำนวยความสะดวกที่รองรับทุกช่วงวัย และ 6. แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สะท้อนวิถีชีวิตที่แตกต่าง นอกจากนี้การศึกษายังแสดงให้เห็นว่าลักษณะของประสบการณ์ในแต่ละด้านมีความสัมพันธ์กับลักษณะของแหล่งท่องเที่ยวสำหรับครอบครัวด้านต่างๆ ที่แตกต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้นพบว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวในแต่ละช่วงวัยมีลักษณะประสบการณ์การท่องเที่ยวเฉพาะตัว เช่นเดียวกับลักษณะของแหล่งท่องเที่ยวที่พบว่า นักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มมีความสนใจต่อแหล่งท่องเที่ยวในลักษณะที่แตกต่างกัน ผลจากการศึกษาได้เสนอแนวทางให้แก่ผู้ประกอบการนำไปใช้ออกแบบแหล่งท่องเที่ยวสำหรับครอบครัวที่สอดคล้องกับประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว สำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่รองรับการท่องเที่ยวของครอบครัวแบบขยาย ในแหล่งท่องเที่ยวควรให้ความสำคัญต่อแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ หรือแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่มีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่นปกคลุมด้วยต้นไม้ พันธุ์ไม้ต่างๆ สำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่รองรับการท่องเที่ยวของครอบครัวเดี่ยว ควรมุ่งเน้นที่พักที่สะดวกสบาย เช่น มีสระว่ายน้ำ คิดส์คลับ ตอลดจนในที่พักที่มีกิจกรรมสำหรับทุกคนในครอบครัว รวมถึงแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามลักษณะเฉพาะของนักท่องเที่ยวกลุ่มต่างๆ ในครอบครัว |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6097 |
Appears in Collections: | คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
WeerayaMeesawatdikul.pdf | 2.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.