Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6046
Title: | การพัฒนารูปแบบธุรกิจและระบบตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของงานศิลปะ NFT Development of Business Model and E-Marketplace System for NFT Art |
Authors: | Triphol Wongsrisuphakul ตรีพล วงศ์ศรีศุภกุล Anirut Asawasakulsorn อนิรุทธิ์ อัศวสกุลศร Naresuan University Anirut Asawasakulsorn อนิรุทธิ์ อัศวสกุลศร aniruta@nu.ac.th aniruta@nu.ac.th |
Keywords: | Non-Fungible Token บล็อคเชน งานศิลปะ NFT NFT Marketplace Non-Fungible Token Blockchain NFT Art NFT Marketplace |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research aimed to explore various aspects: 1) studying user requirements in NFT Marketplace platforms, 2) developing a business model for NFT Art Marketplace, 3) evaluating the developed business model for NFT Art Marketplace, 4) creating a prototype NFT Art Marketplace, and 5) assessing the efficiency of the NFT Art Marketplace prototype. This study involved 33 artists, 33 collectors, and 3 business model experts. Using both qualitative and quantitative approaches such as interviews and surveys, data analysis included typological analysis, percentages, means, and standard deviations. The findings are as follows: Firstly, the user requirements for NFT Marketplace platforms reveal that users are primarily interested in services and features that facilitate easier buying and selling of NFT. The major issues encountered are related to copyright infringement, impacting the transactions of NFT art. The proposed improvements or additional features aimed at enhancing the user experience on the NFT Marketplace include the implementation of a copyright infringement check for NFT and the addition of features to further streamline and improve the ease of buying and selling NFT. Secondly, the assessment of the NFT Art Marketplace business model revealed a highly positive Value Proposition Assessment (mean = 7.67), moderately positive Cost/Revenue Assessment (mean = 7.17), Infrastructure Assessment (mean = 7.11), Customer Interface Assessment (mean = 7.20), a moderate Threat Assessment (mean = 3.23), and a high Business Opportunity Assessment (mean = 4.09). Thirdly, the evaluation of the prototype NFT Art Marketplace indicated that among artists, there was a high perceived usefulness (mean = 3.89), high perceived ease of use (mean = 3.70), and high behavioral intention to use (mean = 3.80). Among collectors, perceived usefulness was high (mean = 3.83), perceived ease of use was high (mean = 3.72), and behavioral intention to use was high (mean = 3.46). การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการผู้ใช้แพลตฟอร์ม NFT Marketplace 2) เพื่อพัฒนารูปแบบธุรกิจ NFT Marketplace ของงานศิลปะ NFT 3) เพื่อประเมินรูปแบบธุรกิจ NFT Marketplace ของงานศิลปะ NFT 4) เพื่อพัฒนาระบบต้นแบบ NFT Marketplace ของงานศิลปะ NFT และ 5) เพื่อประเมินระบบต้นแบบ NFT Marketplace ของงานศิลปะ NFT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ศิลปิน จำนวน 33 คน นักสะสม จำนวน 33 คน และผู้เชี่ยวด้านรูปแบบทางธุรกิจ จำนวน 3 คน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การจำแนกชนิดข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการของผู้ใช้แพลตฟอร์ม NFT Marketplace พบว่า ความสนใจของผู้ใช้งานที่เลือกใช้บริการและฟีเจอร์ที่จำเป็นสำหรับ NFT Marketplace โดยส่วนมากเลือกใช้จากคุณสมบัติของ NFT Marketplace ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการซื้อขาย NFT ให้ง่ายขึ้น ส่วนของปัญหาที่พบเจอส่วนใหญ่จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ส่งผลต่อการซื้อและการขายงานศิลปะ NFT และการปรับปรุงหรือเพิ่มฟีเจอร์ที่จะช่วยทำให้ประสบการณ์ในการใช้ NFT Marketplace ดีขึ้น ควรจะมีการตรวจสอบ NFT ที่ละเมิดลิขสิทธิ์และเพิ่มฟีเจอร์ที่ช่วยทำให้การซื้อขาย NFT มีความง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น 2) ผลการประเมินรูปแบบธุรกิจ NFT Marketplace ของงานศิลปะ NFT พบว่า การประเมินคุณค่าของสินค้าที่นำเสนออยู่ในระดับเห็นด้วยในข้อความเชิงบวกมาก (ค่าเฉลี่ย = 7.67) การประเมินต้นทุนและรายได้อยู่ในระดับเห็นด้วยในข้อความเชิงบวกปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 7.17) การประเมินโครงสร้างพื้นฐานอยู่ในระดับเห็นด้วยในข้อความเชิงบวกปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 7.11) การประเมินอินเตอร์เฟสกับลูกค้าอยู่ในระดับเห็นด้วยในข้อความเชิงบวกปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 7.20) การประเมินภัยคุกคามอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.23) และการประเมินโอกาสของธุรกิจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.09) 3) ผลการประเมินระบบต้นแบบ NFT Marketplace ของงานศิลปะ NFT พบว่า กลุ่มศิลปิน มีการรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้งานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 3.89) การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 3.70) และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการใช้งานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 3.80) ส่วนของกลุ่มนักสะสม มีการรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้งานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 3.83) การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 3.72) และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการใช้งานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 3.46) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6046 |
Appears in Collections: | คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TripholWongsrisuphakul.pdf | 3.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.