Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6020
Title: | รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในวิชาชีพศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน A CAUSAL RELATIONSHIP MODEL OF THE FACTORS AFFECTING THE SUPERVISOR'S PROFESSIONAL COMMITMENT UNDER THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION |
Authors: | Athaphol Sirimool อรรถพล ศิริมูล Sathiraporn Chaowachai สถิรพร เชาวน์ชัย Naresuan University Sathiraporn Chaowachai สถิรพร เชาวน์ชัย sathirapornc@nu.ac.th sathirapornc@nu.ac.th |
Keywords: | ความผูกพัน ศึกษานิเทศก์ รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ แนวทางการส่งเสริมความผูกพันในวิชาชีพศึกษานิเทศก์ Commitment Supervisor’s A causal relationship model of the factors Guideline for promoting the supervisor’s professional commitment |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The objective of this research was to develop a causal relationship model of the factors affecting the supervisor’s professional commitment under the office of the basic education commission. The research method was divided in 4 stages: Step 1: Analyzing the components of supervisor’s professional commitment with supervisors. A total of 430 individuals were randomly selected using multi-stage sampling. Data were collected through a questionnaire on the supervisor’s professional commitment, which was measured on a Likert scale with 5 levels, consisting of 84 items. Step 2: Studying the factors affecting the supervisor’s professional commitment with Experts A total of 7 people, selected through purposive sampling. Data were collected through semi-structured interviews focusing on the factors affecting the supervisor’s professional commitment, consisting of 9 questions. Step 3: Constructing and validating a causal relationship model of the factors affecting the supervisor’s professional commitment. Drafting the model using data from relevant research literature and interview data from Experts. Assessing the model's fit with empirical data from 625 supervisor, selected through multi-stage sampling. Data were collected using questionnaires to assess perceptions of the model's appropriateness and questionnaire a causal relationship of the factors affecting the supervisor’s professional commitment, comprising 97 items. Step 4: Studying Guidelines for promoting the supervisor’s professional commitment with 7 Experts. Data were collected through semi-structured interviews focusing on Guidelines for promoting the supervisor’s professional commitment, consisting of 6 questions.
The results of a research were show that 1. a causal relationship model of the factors affecting the supervisor’s professional commitment, according to the opinions of Experts, exhibits appropriateness in terms of factors, observables, and the path of causality at a highly to maximum level. The overall path model is mostly appropriate, with suitability ranging from 71.42% to 100%. It demonstrates good fit with empirical data, with (Chi-square = 57.375, df = 47, p-value = 0.1428, χ2 /df = 1.22, CFI = 0.999, TLI = 0.997, RMSEA = 0.019 and SRMR = 0.021) All indices meet the measurement criteria. Variables that have directly influence affecting the supervisor’s professional commitment include Working motivation, and Job characteristics. 2. Guideline for promoting the supervisor’s professional commitment indicate that educational managers should establish clear objectives for educational administration tasks. They should recognize and honor achievements and foster the academic and professional development of educational administrators to encourage them to attain or advance their academic status. It is important to promote a sense of dedication in educational administration work and assign tasks that align with the responsibilities and abilities of educational administrators. Moreover, creating a friendly atmosphere within the organization and maintaining effective communication with all departments in the educational district office are crucial. Engaging in activities aimed at building relationships and communicating organizational roles and responsibilities through a commendable work culture should be implemented collaboratively for mutual success. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในวิชาชีพศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีขั้นตอนการวิจัยดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบความผูกพันในวิชาชีพศึกษานิเทศก์ กับศึกษานิเทศก์ จำนวน 430 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามความผูกพันในวิชาชีพศึกษานิเทศก์ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 84 ข้อ ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในวิชาชีพศึกษานิเทศก์กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในวิชาชีพศึกษานิเทศก์ มีลักษณะเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จำนวน 9 ข้อ ขั้นตอนที่ 3 การสร้างและตรวจสอบความกลมกลืนของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในวิชาชีพศึกษานิเทศก์ ยกร่างรูปแบบโดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลการสัมภาษณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบความกลมกลืนของรูปแบบกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์กับศึกษานิเทศก์ จำนวน 625 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อความเหมาะสมของร่างรูปแบบและแบบสอบถามความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในวิชาชีพศึกษานิเทศก์ จำนวน 97 ข้อ และขั้นตอนที่ 4 การศึกษาแนวทางการส่งเสริมความผูกพันในวิชาชีพศึกษานิเทศก์กับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการนิเทศการศึกษา จำนวน 7 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แนวทางการส่งเสริมความผูกพันในวิชาชีพศึกษานิเทศก์ มีลักษณะเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จำนวน 6 ข้อ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในวิชาชีพศึกษานิเทศก์ ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเหมาะสมของปัจจัย ความเหมาะสมของ ตัวแปรสังเกตได้และความเหมาะสมของเส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ภาพรวมของเส้นทางส่วนใหญ่มีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 71.42 – 100 และมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าไค-สแคว์ = 57.375 ที่องศาอิสระ (df) = 47 p-value = 0.1428 ค่า χ2 /df = 1.22 ค่า CFI = 0.999 ค่า TLI = 0.997 ค่า RMSEA = 0.019 และค่า SRMR = 0.021 ดัชนีทุกค่าเป็นไปตามเกณฑ์การวัดทุกประการ ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความความผูกพันในวิชาชีพศึกษานิเทศก์ และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ตัวแปรแรงจูงใจในการทำงานมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.357 และตัวแปรคุณลักษณะงาน มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.136 2. แนวทางการส่งเสริมความความผูกพันในวิชาชีพศึกษานิเทศก์พบว่า ผู้บริหารการศึกษาควรกำหนดเป้าหมายงานนิเทศการศึกษาให้มีความชัดเจน ยกย่องเชิดชูเกียรติและพัฒนาศึกษานิเทศก์ด้านวิชาการและความก้าวหน้าในการให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ส่งเสริมให้ศึกษานิเทศก์ทำหน้าที่สร้างแรงศรัทธาในงานนิเทศการศึกษา มอบหมายงานให้ตรงกับหน้าที่ความรับผิดชอบและความสามารถของศึกษานิเทศก์และควรสร้างความเป็นกัลยาณมิตรในองค์กรประสานสัมพันธ์กับทุกกลุ่มงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์เพื่อสื่อสารองค์กรให้ทุกคนรู้บทบาทหน้าที่ผ่านวัฒนธรรมการทำงานที่ชื่นชมความสำเร็จร่วมกัน |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6020 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
AthapholSirimool.pdf | 4.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.