Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6018
Title: รูปแบบการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร
A MANAGEMENT MODEL OF INTERNAL QUALITY ASSURANCE OF BASIC SCHOOLS IN HIGH AREA AND WILDERNESS
Authors: Wilaiwan Nunta
วิไลวรรณ นันต๊ะ
Jitima Wannasri
จิติมา วรรณศรี
Naresuan University
Jitima Wannasri
จิติมา วรรณศรี
jitimaw@nu.ac.th
jitimaw@nu.ac.th
Keywords: การบริหาร
ประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษา
บนพื้นที่สูง
Management
Internal Quality Assurance
Schools
high area and wilderness
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this research was to develop a management model of internal quality assurance of basic schools in high area and wilderness. The research methodology had 3 steps as follows step 1: studying the component and guidelines for internal quality assurance management of basic schools in high areas and wilderness. 1.1) the data sources were documents and related research. The research tool was a table of contents analysis. 1.2) the data sources were 3 best practice schools, selected by purposive sampling method. The group of data providers were 6 school administrators and teachers who are responsible for quality assurance from 3 schools. The research tool was a semi-structured interview form. 1.3) the data sources were 5 experts, selected by purposive sampling method. The research tool was a semi-structured interview form. Step 2: creating and checking the appropriateness of the management model of internal quality assurance of basic schools in high areas and wilderness by 9 experts. The research tool was a checking the appropriateness form. Step 3: evaluating the feasibility and usefulness of the model. The group of data providers were 120 school administrators and teachers who are responsible for quality assurance from 60 high areas and wilderness schools in the upper northern region, selected by purposive sampling method. The research tool was a evaluating the feasibility and usefulness of model form. The data were analyzed by averaging and standard deviation. The results of the research found that the management model of internal quality assurance of basic schools in high areas and wilderness had 6 components as follow component 1: principle, component 2: objectives, component 3: input factors included 3.1) personnel were 1) school administrators, 2) teachers, 3) basic school committee. 3.2) other factors included 1) operating budget, 2) the school had curriculum that consistent with the context. Component 4: operation process included 4.1) preparation stage, 4.2) operation planning stage, 4.3) operation stage, 4.4) quality inspection and review stage, 4.5) development and improvement stage, 4.6) preparation for external evaluation stage. Component 5: educational quality included 5.1) student quality, 5.2) management quality, and 5.3) teaching quality. Component 6: success factors included 6.1) creating incentives for internal quality assurance operation, 6.2) Creating a network of school in highland areas to develop the quality of education, 6.3) having an organizational culture that focuses on overall quality that facilitates internal quality assurance operations and, 6.4) Support, advice, and assistance from the original affiliation agency. The results of the evaluation of the feasibility and usefulness of internal quality assurance of basic schools in high areas and wilderness found that the overall level was at the highest level.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร มีวิธีการดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร 1.1) แหล่งข้อมูล คือเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือในการวิจัย คือ ตารางวิเคราะห์เนื้อหา 1.2) แหล่งข้อมูล คือ สถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 3 โรงเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ จำนวน 6 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 1.3) แหล่งข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง  ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ  ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 120 คน จากสถานศึกษาบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร จำนวน 60 แห่งในภาคเหนือตอนบน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร มี 6 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบ 1 หลักการ องค์ประกอบ 2 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบ 3 ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย 3.1) ด้านบุคลากร ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา  2) ครู 3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3.2) ด้านปัจจัยอื่น ได้แก่ 1) งบประมาณในการดำเนินงาน 2) สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับบริบท  องค์ประกอบ 4 กระบวนการดำเนินงาน ได้แก่ 4.1) ขั้นเตรียมการ  4.2) ขั้นวางแผนการดำเนินงาน  4.3) ขั้นการดำเนินงานตามแผน  4.4) ขั้นตรวจสอบและทบทวนคุณภาพ  4.5) ขั้นการพัฒนาและปรับปรุง และ 4.6) ขั้นเตรียมรับการประเมินภายนอก องค์ประกอบ 5 คุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย 5.1) คุณภาพผู้เรียน  5.2) คุณภาพการบริหารจัดการ และ 5.3) คุณภาพการเรียนการสอน  และองค์ประกอบ 6 ปัจจัยความสำเร็จ ประกอบด้วย 6.1) การสร้างแรงจูงใจในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน 6.2) การสร้างเครือข่ายสถานศึกษาในพื้นที่สูงในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 6.3) การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นคุณภาพโดยรวมที่เอื้อต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน และ 6.4)  การสนับสนุน แนะนำ การช่วยเหลือจากหน่วยงานต้นสังกัด  และผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6018
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WilaiwanNunta.pdf3 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.