Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6016
Title: การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
The Development of Curriculum to Enhance Active Learning Competency on Action Research Process and Professional Learning Community for Basic Education Teachers
Authors: Yanitha Rajchakom
ญาณิฐา ราชคม
Monasit Sittisomboon
มนสิช สิทธิสมบูรณ์
Naresuan University
Monasit Sittisomboon
มนสิช สิทธิสมบูรณ์
monasits@nu.ac.th
monasits@nu.ac.th
Keywords: การพัฒนาหลักสูตร
สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
Curriculum development
Active learning competency
Action research process
Professional learning community
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aims to 1) to study necessary foundation data, 2) to construct and verifying the curriculums’ quality, 3) to implement the curriculum, and 4) to evaluate an enhanced curriculum for active learning competency through action research processes in collaboration with the professional learning community for basic education teachers. This research and development methodology involved four steps as follows: Step 1 is to study foundational data for curriculum development by surveying the conditions and requirements, studying relevant concepts and documents, and collecting data through interviews with scholars and experts. Step 2 is to construct and verifying the curriculums’ quality, conducting a pilot study. Subsequently, revising the curriculum and its manual. Step 3 is to implement the curriculum with 30 volunteer teachers at Anubanchun School (Ban Bua Sathan) during the second semester of the academic year 2023 (November 2023 – January 2024). And step 4 is to evaluate the curriculum that the focus is on evaluating input, process and product’s feedback and reflecting on the curriculum’s effectiveness. The research tools utilized in this study included a survey form, document analysis, semi-structured interviews, data summarization form, and evaluation forms. Data analysis methodologies included Mean, Standard Deviation, t-test for One Sample, and content analysis. The results at each step were presented as follows: 1.  Based on the foundational data findings, 1) Teachers' state in active learning approach at a level that is exemplary and commendable, some teachers partially practice and engage in it, and some teachers cannot fully exemplity it. Teachers need to enhance their competency in plans, implementing such practices in classrooms, utilizing innovative media and learning resources, creating conducive classroom environments, students' learning outcomes evaluation from active learning approaches. 2) Guidelines for curriculum development involve using action research processes collaboratively with the professional learning community, this entails pooling efforts in the work of school administrators and teachers through situation analysis, planning, acting, observing, reflecting on the outcomes, and providing opportunities for stakeholders in teaching and learning to participate in critiquing, reflecting on work outcomes, and received results. This is aimed at enhancing teachers' active learning competency in schools and yielding tangible results for students. 2.  The enhanced curriculum for active learning competency by action research processes in collaboration with the professional learning community for basic education teachers comprises six components: 1) Principles; 2) Objectives; 3) Structure and Content; 4) Processes; 5) Learning Materials; and 6) Assessment. The process involves five stages: situation analysis, planning, acting by workshop training, observing, and reflecting on the outcomes. Overall, both the curriculum and its usage manual were appropriated at a high level. The pilot study results that teachers'  competencies in active learning management were higher than the criteria of 75 percent at the statistical significance level of .05. 3. The implemental results showed that after using the enhanced curriculum for active learning competency through action research processes in collaboration with the professional learning community for basic education teachers, teachers' competencies in active learning management were at excellent level and were higher than the criteria of 75 percent at the statistical significance level of .05. 4.  The evaluation of curriculum results found that teachers’ opinion through input, process, and output of the enhanced curriculum for active learning competency by action research processes in collaboration with the professional learning community was at the highest level.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น 2) สร้างหลักสูตร 3)  ทดลองใช้หลักสูตร และ 4) ประเมินหลักสูตร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานโดยการสำรวจสภาพและความต้องการจำเป็นของครู การศึกษาแนวคิดและเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างหลักสูตร โดยการยกร่างสร้างหลักสูตร การตรวจสอบความเหมาะสมของหลักสูตร การทดลองนำร่อง และการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น โดยไปใช้พัฒนาครูโรงเรียนอนุบาลจุน(บัวสถาน) จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นครูที่อาสาสมัครเข้าร่วมทำกิจกรรมของหลักสูตร ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566-มกราคม 2567 และขั้นตอนที่ 4 การประเมินหลักสูตรด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสรุปข้อมูล และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1.  ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น พบว่า 1) ครูมีสภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในระดับที่ปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่กดี ปฏิบัติเป็นแบบอย่างได้บางส่วนและมีการปฏิบัติแต่ไม่สามารถเป็นแบบอย่างได้ และครูมีความต้องการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในด้านการออกแบบและเขียนแผนการจัด การเรียนรู้เชิงรุก การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในชั้นเรียน การใช้สื่อนวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน การประเมินผลการเรียนรู้จากการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยความร่วมมือรวมพลังในการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผ่านการสำรวจและวิเคราะห์ปัญหา การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การสังเกตการปฏิบัติงาน การสะท้อนผลการปฏิบัติงาน และเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมีส่วนร่วมในการวิพากษ์วิจารณ์สะท้อนผลการปฏิบัติงานและผลที่ได้รับ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในโรงเรียนและเกิดผลลัพธ์เชิงประจักษ์แก่ผู้เรียน 2.  หลักสูตรเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) โครงสร้างและเนื้อหา 4) แนวทางการจัดกิจกรรม 5) สื่อการเรียนรู้ 6) การประเมินผล โดยมีแนวทางการจัดกิจกรรม 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นสำรวจและวิเคราะห์ปัญหา (Situation analysis) ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นปฏิบัติตามแผนโดยการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ (Act) ขั้นสังเกตการปฏิบัติงาน (Observe) และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติงาน (Reflect) ซึ่งโดยรวมหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลการทดลองนำร่อง พบว่า ครูมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.  ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า หลังการใช้หลักสูตรเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยมและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.  ผลการประเมินหลักสูตร พบว่า ความคิดเห็นของครูที่มีต่อหลักสูตรเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6016
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
YanithaRajchakom.pdf9.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.