Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6001
Title: | ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ต้น โครงสร้างป่า และการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของป่าธรรมชาติ ในสวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้า พิษณุโลก ในพระราชดำริ Tree Species Diversity, Forest Structure and Carbon Accumulation in Above Ground Biomass of Natural Forest at Ban Romklao Botanical Garden Phitsanulok under the Royal initiative |
Authors: | Natdanai Pan-in ณัฐดนัย ปานอินทร์ Pranee Nangngam ปราณี นางงาม Naresuan University Pranee Nangngam ปราณี นางงาม praneepa@nu.ac.th praneepa@nu.ac.th |
Keywords: | การกักเก็บคาร์บอน มวลชีวภาพเหนือพื้นดิน ไม้ยืนต้น สวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้า Carbon accumulation Above ground biomass Tree Romklao botanical garden |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | Study of carbon storage in above ground biomass of tree. By creating a 100 x 100 m. sampling plot in the natural forest area of Romklao Botanical Garden under the Royal Initiative, Phitsanulok province. In the year 2021, it was found that the type of natural forest is classified as a dry evergreen forest. A total of 496 tree individuals from 39 families, 61 genera, and 79 species were found, with Castanopsis acuminatissima having the highest number of 81 individuals, and had an Importance index (IVI) value of 64.23, followed by Schima wallichii with 41 individuals with an IVI value 22.28 and Styrax benzoides 39 individuals and had an IVI value of 17.07, respectively. Species diversity index value The Shannon wiener index (H') has a value of 3.61, which is classified as a forest society with a quite a lot level of plant diversity. The species abundance Richness index is 12.57, indicating that there are a relatively high number of species. The Calculation is based on the relationship between the number of species and the number of plant species. The Evenness index value of 0.83 indicates that the proportion of the number of plant species in each type is very different. And from the data, it was found that the average circumference stem of trees was 65.62 centimeters and the average height of trees was 11.77 meters. The result of calculated the amount of Above ground biomass was 151.56 tons per hectare. Calculated as the amount of Carbon accumulation in the above ground biomass was 71.23 tons of carbon per hectare, and it was found the Castanopsis acuminatissima had the highest carbon accumulation value in the above ground biomass. is 28.72 tons of carbon per hectare. The absorption value of carbon dioxide in the atmosphere is 261.21 tons of carbon dioxide per hectare. and the oxygen release value was 189.98 tons of oxygen per hectare. From research, it can be concluded that perennials with a circumference. There will be a lot of above ground biomass. And the value of carbon storage in above ground biomass was higher in trees with a circumference. Even though there are few trees Therefore causing large trees to have store more carbon in above ground biomass than small stemmed trees. In addition, the carbon dioxide absorption value and oxygen gas release values It also shows the ability of forests to benefit the world's ecosystems and environment. Helps balance greenhouse gases in the atmosphere, which is one factor in helping reduce global warming. การศึกษาปริมาณกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของไม้ยืนต้น โดยจัดทำแปลงตัวอย่างขนาด 100 x 100 เมตร จำนวน 1 แปลง ในเขตป่าธรรมชาติของสวนพฤกษศาสตร์ บ้านร่มเกล้า พิษณุโลก ในพระราชดำริ ปี พ.ศ. 2564 พบว่าประเภทของป่าธรรมชาติดังกล่าวจัดเป็นป่าดิบแล้ง พบไม้ยืนต้นทั้งหมด 496 ต้น จาก 39 วงศ์ 61 สกุล 79 ชนิด ซึ่งพบก่อเดือย (Castanopsis acuminatissima (Blume) A. DC.) มีจำนวนมากที่สุด 81 ต้น และมีค่าดัชนีความสำคัญ (IVI) เท่ากับ 64.23 รองลงมาคือ ทะโล้ (Schima wallichii Choisy) จำนวน 41 ต้น มีค่า IVI 22.28 และกำยาน (Styrax benzoides W. G. Craib) 39 ต้น มีค่า IVI 17.07 ตามลำดับ ค่าดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ Shannon wiener index (H') มีค่าเท่ากับ 3.61 ซึ่งจัดว่าเป็นสังคมป่าที่มีความหลากหลายของพืชในระดับค่อนข้างมาก ค่าดัชนีความมากมายของชนิด (Richness index) เท่ากับ 12.57 แสดงว่ามีจำนวนชนิดค่อนข้างสูง โดยการคำนวณอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนชนิดกับจำนวนพันธุ์ไม้ ค่าดัชนีความสม่ำเสมอ (Eveness index) 0.83 แสดงถึงสัดส่วนของจำนวนพันธุ์ไม้ในแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันมาก และจากข้อมูลพบว่าเส้นรอบวงของลำต้นเฉลี่ยเท่ากับ 65.62 เซนติเมตร และความสูงต้นเฉลี่ยเท่ากับ 11.77 เมตร ผลการคำนวณปริมาณมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน (Above ground biomass) มีค่า 151.56 ตันต่อเฮกแตร์ คิดเป็นปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน (Carbon accumulation) เท่ากับ 71.23 ตันคาร์บอนต่อเฮกแตร์ และพบว่า ก่อเดือย (Castanopsis acuminatissima (Blume) A. DC.) มีค่าการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินมากที่สุด คือ 28.72 ตันคาร์บอนต่อเฮกแตร์ ค่าการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเท่ากับ 261.21 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อเฮกแตร์ และค่าการปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนเท่ากับ 189.98 ตันออกซิเจนต่อเฮกแตร์ จากการวิจัยสรุปได้ว่าไม้ยืนต้นที่มีขนาดเส้นรอบวงเพียงอกมาก จะมีมวลชีวภาพเหนือพื้นดินมาก และค่าปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินจะมากขึ้นในไม้ต้นที่มีขนาดเส้นรอบวงเพียงอกขนาดใหญ่ แม้จะมีจำนวนต้นน้อย จึงทำให้ไม้ต้นขนาดใหญ่มีการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินมากกว่าไม้ต้นที่มีลำต้นขนาดเล็ก อีกทั้งค่าการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และค่าการปลดปล่อยก๊าซออกซิเจน ยังแสดงถึงความสามารถของผืนป่าที่ให้ประโยชน์ต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของโลก ช่วยปรับสมดุลก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้ |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6001 |
Appears in Collections: | คณะวิทยาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NatdanaiPanin.pdf | 2.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.