Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5988
Title: | ปัจจัยทำนายกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อย Factors Predicting Post Concussion Syndrome in Patients with Mild Traumatic Brain Injury |
Authors: | Chatree Leelanun ชาตรี ลีลานันท์ Duangporn Piyakong ดวงพร ปิยะคง Naresuan University Duangporn Piyakong ดวงพร ปิยะคง duangporn@nu.ac.th duangporn@nu.ac.th |
Keywords: | กลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือน ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อย ความปวด การมีโรคร่วมกับการบาดเจ็บ ความวิตกกังวล แรงสนับสนุนทางสังคม ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ Post-concussion syndrome Mild traumatic brain injury Pain Pre-injury Comor bidity Anxiety Scocial support History of alcohol use |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | Patients with mild head injury often develop post-concussion syndrome. If post-concussion syndrome is not addressed appropriately, patients’ recovery may be delayed. The study aimed to explored factors predicting; pain, pre-injury comorbidity, anxiety, social support, and history of alcohol use with post-concussion syndrome. The samples were patients with mild traumatic brain injury followed up at the surgical outpatient department of a tertiary hospital in the lower northern region of Thailand. The 110 samples were selected by purposive sampling. The instruments used in the study included 1) The demographic questionnaire 2) The numeric pain rating scale 3) The State-Trait anxiety inventory form Y-1 with reliability at .82 4) The Social support questionnaire with reliability at .78 5) The Rivermead post-concussion symptoms questionnaire with reliability at .88 Descriptive statistics and multiple regression were used to analyze the data. The results revealed that the significant predicting factors of post-concussion syndrome included pain (β=.49) and anxiety (β=.42). The percentage of total variance explained by these factors among patients with mild traumatic brain injury was 49 (R2=.49, p=.02). The finding can provide important basic information for preventing or alleviating post-concussion syndrome among patients with mild traumatic brain injury so that the patients can recover well. ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อยมักเกิดกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือน ถ้ากลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนไม่ได้รับการแก้ไขอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีการฟื้นฟูสภาพได้ช้าลง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนาย ได้แก่ ความปวด การมีโรคร่วมก่อนการบาดเจ็บ ความวิตกกังวล แรงสนับสนุนทางสังคม และประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ กับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือน กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อยที่มาตรวจตามนัด ณ แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ของประเทศไทย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด ด้วยวิธีจำเพาะเจาะจง จำนวน 110 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความปวดชนิดที่เป็นตัวเลข 3) แบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญปัญหาของผู้ป่วย ค่าความเชื่อมั่น = .82 4) แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม ค่าความเชื่อมั่น = .78 5) แบบสอบถามอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือน ค่าความเชื่อมั่น = .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายกลุ่มอาการภายหลังสมองผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อย ได้แก่ ความปวด (β = .49) และความวิตกกังวล (β = .42) โดยอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 49 (R2 = .49, p = .02) ข้อค้นพบที่ได้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการป้องกันหรือบรรเทาอาการภายหลังสมองได้รับความกระทบกระเทือนในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะระดับเล็กน้อย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสภาพได้ดี และดำเนินชีวิตตามปกติภายหลังเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5988 |
Appears in Collections: | คณะพยาบาลศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ChatreeLeelanun.pdf | 2.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.