Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5939
Title: การพัฒนารูปแบบบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา
A DEVELOPMENT OF STRATEGIC MANAGEMENT MODEL OF STUDENT CARE-TAKING SYSTEM TO ENHANCE THE QUALITY OF SECONDARY SCHOOL STUDENTS
Authors: Sarun Premsuk
ศรัณย์ เปรมสุข
Anucha Kornpuang
อนุชา กอนพ่วง
Naresuan University
Anucha Kornpuang
อนุชา กอนพ่วง
anuchako@nu.ac.th
anuchako@nu.ac.th
Keywords: กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม
การประเมินเชิงพัฒนา
การบริหารเชิงกลยุทธ์
การพัฒนารูปแบบ
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
นักเรียนมัธยมศึกษา
Blue Ocean Strategy
Developmental Evaluation
Strategic Management
Development Model
Student Care-Taking System
Secondary School Students
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this research was to develop the strategic management model of student care-taking system to enhance the quality of secondary school students under the jurisdiction of the Office of the Basic Education Commission. This was accomplished by applying Developmental Evaluation (DE) and the Blue Ocean Strategy as key strategies. The research has four main objectives: 1) to study the conditions, problems, and management directions of the student care-taking system of secondary school students, 2) to design, develop, and assess the quality of the strategic management model of student care-taking system to enhance the secondary school students' quality, 3) to experiment with the strategic management model of student care-taking system to enhance the quality of secondary school students, and 4) to evaluate the quality in accordance with the standards of the strategic management model of student care-taking system for the improvement of secondary school students' quality. The sources consisted of the report results of the student care-taking system in 2020–2022. The people involved from the multi-case study schools that have the best practices in student care-taking system administration guidelines are: 5 schools totaling 15 people, 9 experts examining the model, and a manual for using the model. There were administrators and teachers who experimented with and evaluated the model in two schools. The period of the experiment lasted from June 15, 2023, to October 27, 2023. The instruments used included a form of document study, a structured interview, an accurate, comprehensive, and appropriate assessment, the discussion leader skills assessment, a reflection on the results of the steps, the student quality assessment, and the questionnaire regarding format quality standards.  The data analysis was content analysis, frequency, percentage, average, and standard deviation, and analysis of influence size (effect size). The research results were as follows: 1. The results of the study of conditions, problems, and guidelines for managing the student care-taking system were as follows: 1) the internal factors (the negative behavior of students), followed by the external factors arising from the environment around students, 2) the best practice guidelines for managing the student care-taking system according to the 5-step process, and 3) The best practice in the management of the student care-taking system using the PDCA cycle. It had success factors as follows: (1) cooperation from all parties; (2) administrators giving importance; (3) encoring morale; (4) not neglecting to solve problems; (5) having a clear structural system; and (6) selecting appropriate people until reaching results that cover four dimensions, including knowledge, skills, character traits, and economy. 2. The results of design, create and check the quality of the pattern were as follows: 2.1 The strategic management model of the student care-taking system to enhance the quality of secondary school students, which was a model that guides the development, elements, and steps of strategic management of the student care-taking system. It included five components: 1) the direction of the pattern; 2) the system and mechanism; 3) the process of the pattern; 4) the results; and 5) the conditions for applying, which had the results of checking for accuracy, comprehensiveness, and appropriateness at the highest level. 2.2 The manual for using the model to enhance the quality of secondary school students comprised three parts: 1) Introduction; 2) Elements of the Format; and 3) guidelines for using the format, which had the results of checking for accuracy, comprehensiveness, and appropriateness at the highest level. 3. The results of using the strategic management model of student care-taking system enhance the quality of secondary school students were as follows: 3.1 The results of the evaluation of facilitator and note-taker discussion in the preparation stage by comparing before and after the training found that both schools had higher skills than after the training when classified both in terms of overalls and items. 3.2 The findings of using the model revealed that both schools performed according to the strategic management model of student care-taking system namely 1) the steps in planning (upstream) where the current conditions and problems were analyzed, 2) the steps in implementing (midstream) where the responsible persons had been operating and 3) the steps in controlling and evaluating (downstream), which had the reflections and lessons learned. 3.3 The results of student quality development revealed that the Effect Size (ES) on the overall KPIs of students in both schools was changed from before using the model with ES values between 0.28 and 1.23. 4. The results of the quality assessment according to the standards of the strategic management model of the student care-taking system to enhance the quality of secondary school students found that the quality of the model was correct, appropriate, potential, and useful in all aspects, which was at the highest level in every aspect.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประยุกต์ การประเมินเชิงพัฒนา (Developmental Evaluation: DE) และกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม Blue Ocean Strategy โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อออกแบบ สร้าง และตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา แหล่งข้อมูล ประกอบด้วย เอกสารรายงานผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนปี 2563–2565 ผู้ที่เกี่ยวข้องจากโรงเรียนพหุกรณีศึกษาที่มีแนวทางการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นเลิศ จำนวน 5 โรงเรียน รวม 15 คน ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบ จำนวน 9 คน ผู้บริหารและคณะครูที่ทำการทดลองใช้และการประเมินรูปแบบ จำนวน 2 โรงเรียน ระยะเวลาในการทดลอง เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2566 ถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2566 เครื่องมือ ประกอบด้วย แบบศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง แบบประเมินความถูกต้อง ครอบคลุมและเหมาะสม แบบประเมินทักษะผู้นำวงสนทนา แบบสะท้อนผลการดำเนินการตามขั้นตอน แบบประเมินคุณภาพนักเรียน แบบสอบถามประเด็นเกี่ยวกับคุณภาพมาตรฐานของรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ขนาดอิทธิพล (Effect Size)  ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ดังนี้ 1) ปัญหาจากปัจจัยภายในเป็นพฤติกรรมเชิงลบของนักเรียน รองลงมาเป็นปัญหาจากปัจจัยภายนอกที่เกิดจากสภาพแวดล้อมรอบตัวนักเรียน 2) แนวทางการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี โดยการนำกระบวนการ 5 ขั้นตอนของงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาใช้ในการขับเคลื่อน และ 3) แนวปฏิบัติที่ดีด้านการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ใช้วงจรบริหารงานคุณภาพ (PDCA) มีปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ (1) ความร่วมมือจากทุกฝ่าย (2) ผู้บริหารให้ความสำคัญ (3) การสร้างขวัญกำลังใจ (4) ไม่ละเลยต่อการแก้ไขปัญหา (5) มีระบบโครงสร้างที่ชัดเจน และ (6) การคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม จนได้ผลลัพธ์ที่ครอบคลุม 4 มิติ ทั้งความรู้ ทักษะ คุณลักษณะนิสัย และเศรษฐกิจ 2. ผลการออกแบบ สร้าง และตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ ดังนี้ 2.1 รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา เป็นแบบจำลองที่เป็นแนวทางการพัฒนา องค์ประกอบ และขั้นตอนการบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งมีส่วนประกอบ 5 ส่วน ได้แก่ 1) ทิศทางของรูปแบบ 2) ระบบและกลไกของรูปแบบ 3) กระบวนการของรูปแบบ 4) ผลลัพธ์ของรูปแบบ และ 5) เงื่อนไขของการนำรูปแบบไปใช้ ซึ่งมีผลการตรวจสอบความถูกต้อง ครอบคลุม และความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2.2 คู่มือการใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนมัธยมศึกษา มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบ และส่วนที่ 3 แนวทางการใช้รูปแบบ ซึ่งมีผลการตรวจสอบความถูกต้อง ครอบคลุม และความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา ดังนี้ 3.1 ผลการประเมินทักษะการเป็นผู้นำวงสนทนา Facilitator และ Note Taker ในขั้นตอนการเตรียมการ จากการเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการอบรม พบว่า ทั้ง 2 โรงเรียนมีทักษะหลังร่วมอบรม สูงกว่าก่อนการอบรม ทั้งโดยภาพรวม และเมื่อจำแนกเป็นรายข้อ 3.2 ผลการดำเนินงานตามกระบวนการของรูปแบบ พบว่า ทั้ง 2 โรงเรียน มีการดำเนินการตามกระบวนการของรูปแบบครบทุกกระบวนการ ได้แก่ 1) ขั้นการวางแผนกลยุทธ์ (ช่วงต้นน้ำ) มีการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหา กำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ แผนงาน โครงการและกิจกรรมของงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างชัดเจน 2) ขั้นการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (ระยะกลางน้ำ) มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบและมีการกำกับ ติดตาม ทบทวนผลการดำเนินงานระหว่างทาง และ 3) ขั้นการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ มีการสะท้อนผลและถอดบทเรียนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 3.3 ผลการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน พบว่า Effect Size (ES) ภาพรวมของ KPIs นักเรียนของทั้ง 2 โรงเรียน หลังการใช้รูปแบบมีการเปลี่ยนแปลงจากก่อนทดลองใช้รูปแบบ โดยมีค่า ES อยู่ระหว่าง 0.28-1.23 4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่า คุณภาพของรูปแบบมีมาตรฐานด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5939
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SarunPremsuk.pdf16.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.