Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5915
Title: ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในยุคปกติถัดไป
Factors Predicting Self-management behaviors of Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease in Next Normal
Authors: Satik Sutthiviriwan
สาธิก สุทธิวิริวรรณ
Sangduan Apiratanawong
แสงเดือน อภิรัตนวงศ์
Naresuan University
Nichakarn Songtha
ณิชกานต์ ทรงไทย
Keywords: พฤติกรรมการจัดการตนเอง
ยุคปกติถัดไป
ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
Self-management behaviors
Next normal
Chronic obstructive pulmonary patients
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract:    The purpose of this predictive correlational research study was to self-management behaviors of patients with chronic obstructive pulmonary disease (COPD) in next normal and factors predicting self-management behaviors of patients with chronic obstructive pulmonary disease in next normal. Participating in the study, there were 130 patients with chronic obstructive pulmonary disease at Non-communicable diseases clinic, Lomkao crown prince hospital. The research instruments used, self-management behavior questionnaire, knowledge questionnaire, self-efficacy questionnaire, social support questionnaire and anxiety questionnaire showing the content validity index (CVI) 0.84, 0.96, 1, 0.92 and 1 respectively. They had been tested for content validity of knowledge questionnaire by used the Kuder-Richardson 20 with a score of 0.82 and Self-management behavior questionnaire, Self-efficacy questionnaire, Social support questionnaire and Anxiety questionnaire tested by used the Cronbach 'alpha coefficient with score of 0.83, 0.89, 0.93 and 0.75 respectively. The data were analyzed by descriptive statistics and regression analysis.      1. The results revealed that self-management behaviors was at a moderate level (Average = 3.10, Standard deviation = 0.49).    2. Age, knowledge, social support and self-efficacy were found as good combine predictions of self-management behaviors of patients with chronic obstructive pulmonary disease in next normal, with 51.4% of variance (R2 = .514, p < .001) were found age was the most predictive of self-management behaviors of patients with chronic obstructive pulmonary disease in next normal, followed by knowledge (β=.301, p <.001), social support (β=.156, p <.05) and self-efficacy (β=.154, p <.05)     These results suggest that health professionals should promote the knowledge of chronic obstructive pulmonary patients, especially medical management, including exercise, relaxation, and stress management. Should promote self-efficacy, including diet for illness, exercise frequency and duration, and breathing exercise techniques. In addition, COPD patients should be encouraged to receive good social support from friends, family, the community, and health professionals. To provide patients with good self-management behaviors in the next normal.
   การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบความสัมพันธ์เชิงทำนาย (Predictive correlational Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในยุคปกติถัดไป และเพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในยุคปกติถัดไป กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในแผนกผู้ป่วยนอกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์  ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 130 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง ความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และความวิตกกังวล มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือดังกล่าวเท่ากับ 0.84, 0.96, 1, 0.92 และ 1 ตามลำดับ และมีค่าความเชื่อมั่นโดยแบบสอบถามความรู้ทดสอบโดยใช้สูตรคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 ได้ค่าเท่ากับ 0.82 ส่วนแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และความวิตกกังวล ทดสอบโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ 0.83, 0.89, 0.93 และ 0.75 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า    1.  กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการจัดการตนเองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.10, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.49)    2.  อายุ ความรู้ การสนับสนุุนทางสังคม และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในยุคปกติถัดไปได้ร้อยละ 51.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .514, p < .001) โดยพบว่า อายุสามารถทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในยุคปกติถัดไปได้มากที่สุด (β=.375, p <.001) รองลงมาคือ ความรู้ (β=.301, p <.001) การสนับสนุุนทางสังคม (β=.156, p <.05) และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน (β=.154, p <.05)       ผลการศึกษานี้เสนอแนะว่าบุคลากรทางสุขภาพควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีความรู้โดยเฉพาะด้านการรักษา ได้แก่ การออกกำลังกาย รวมถึงวิธีการผ่อนคลายและการจัดการกับความเครียด ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในเรื่องการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรค ความถี่และระยะเวลาของการออกกำลังกาย และการใช้เทคนิคหายใจเพื่อลดอาการหอบเหนื่อย  นอกจากนั้นควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับการสนับสนุนทางสังคมที่ดีจากเพื่อน ครอบครัว ชุมชน และบุคลากรทางสุขภาพ ช่วยให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงแหล่งสนับสนุนอย่างเหมาะสมกับบริบทของยุคปกติถัดไป
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5915
Appears in Collections:คณะพยาบาลศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SatikSutthiviriwan.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.