Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5908
Title: การศึกษาผังพื้นที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุเพื่อรองรับภัยพิบัติแผ่นดินไหว
A Study of Home Planning for the Elderly for Earthquake emergency response
Authors: Pantapat Boonma
พันธพัฒน์ บุญมา
Sant Chansomsak
สันต์ จันทร์สมศักดิ์
Naresuan University
Sant Chansomsak
สันต์ จันทร์สมศักดิ์
santc@nu.ac.th
santc@nu.ac.th
Keywords: ที่พักอาศัย
แผ่นดินไหว
ผู้สูงอายุ
Shelter
Earthquake
Elders
Issue Date: 2567
Publisher: Naresuan University
Abstract: Currently, the population is becoming more elderly, and the trend is steadily increasing. The elders are vulnerable to earthquake disasters that cannot be predicted. Shelters are one of the risk factors that cause harm to the elderly at the time of an earthquake. The purpose of this research is to suggest guidelines for the layout of the elderly's living space to reduce the impact on the elderly in the earthquake disaster and to suggest guidelines for the management of usable space and building elements to support evacuation and focusing on the time during the disaster consisting of dodging, avoiding, and escaping as the scope of research. Computer program simulations is processed for analyzing home planning that results in the elderly leaving the building quickly, as well as design for all principle to make it possible to leave the building faster. The results showed that 1) dodging & avoiding during an earthquake needs the followings: 1.1) the style of furniture used for hiding must be consistent with the health problems of the elderly; 1.2) the furniture for dodging should be in the area that the elderly use often in everyday life; and 1.3) taking into account where the elderly frequently use should avoid objects or devices that can drop or fall over. 2) escaping to a safe location should be considered: 2.1) an exit should be design according to elderly health limitation problem; 2.2) planning rooms and an exit should pass other areas as less as possible; 2.3) no obstacle (furniture) blocks the escape route; 2.4) the furniture should not be placed too close to the user or the exist door; 2.5) the furniture should have a protruding edge that blocks the escape route as little as possible; and 2.6) the direction of proper movement to the exit should be like a gable triangle shape as much as possible. 3) implementing design concept of universal design in building design results in the elderly leaving the building faster consisting of: 3.1) no step; 3.2) an exit an door without a threshold;  3.3) a door width is 0.90 meters or more; 3.4) all doors should be opening out or sliding door; 3.5) a ramp position should be perpendicular to the building; 3.6) a ramp moving directional patten should be linear or 90°; 3.7) for a ramp with changing direction, the beginning part before a turning landing should be shorter than the ending part after the landing; and 3.8) the proper curved corner of the furniture is R=30. Knowing the location with the frequency of use will lead to effective management of home planning to manage earthquake risks. Universal Design needs to be applied in conjunction with building design to withstand earthquakes. This will result in effective management of elderly housing and reduce the risk of elderly people in earthquake disasters.
ปัจจุบันสังคมได้เข้าสู่การมีประชากรผู้สูงอายุมากขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางในภัยพิบัติแผ่นดินไหว ซึ่งแผ่นดินไหวเป็นภัยพิบัติที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ และที่พักอาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้สูงอายุในขณะเกิดแผ่นดินไหว การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางในการจัดผังพื้นที่พักอาศัยของผู้สูงอายุเพื่อลดผลกระทบต่อผู้สูงอายุในภัยพิบัติแผ่นดินไหว และเสนอแนะแนวทางการจัดการพื้นที่ใช้สอยและองค์ประกอบอาคารเพื่อรองรับการหนีภัย โดยกำหนดช่วงเวลาขณะเกิดภัยประกอบด้วยขั้นตอนการหลบ การหลีก และการหนีเป็นขอบเขตในการวิจัย การวิจัยนี้ใช้การใช้การวิเคราะห์ผังพื้นและการจำลองโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ในการศึกษาผังพื้นที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุออกจากอาคารได้รวดเร็วเป็นเครื่องในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การปกป้องร่างกายด้วยการหลบและการหลีกในขณะเกิดแผ่นดินไหวมีสิ่งที่ต้องคำนึงประกอบด้วย 1.1) รูปแบบเครื่องเรือนที่ใช้หลบและการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ใช้หลบต้องสอดคล้องรองรับกับปัญหาทางสุขภาพของผู้สูงอายุ 1.2) มีเครื่องเรือนที่ใช้ในการหลบอยู่ในตำแหน่งที่ผู้สูงอายุใช้งานมากในชีวิตประจำวัน 1.3) คำนึงถึงตำแหน่งที่มีความถี่ของการใช้งานของผู้สูงอายุโดยการหลีกเลี่ยงวัตถุหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดการร่วงหล่นหรือล้มทับ 2) การเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งเพื่อการหนีมีสิ่งที่ต้องคำนึงประกอบด้วย 2.1) การเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งดังกล่าวต้องสอดคล้องรองรับกับปัญหาทางสุขภาพของผู้สูงอายุ 2.2) ลำดับผังพื้นเละการเข้าถึงควรจัดวางผังให้มีทางออกที่ออกนอกอาคารได้โดยผ่านพื้นที่อื่นให้น้อยที่สุด 2.3) สิ่งกีดขวาง (เครื่องเรือน) ไม่ควรวางขวางทางหนี 2.4) ไม่ควรวางเครื่องเรือนใกล้ผู้ใช้งานหรือทางออกมากเกินไป 2.5) เครื่องเรือนที่มีส่วนหนึ่ง (มุม) ที่ขวางทางหนีต้องมีระยะยื่นขวางทางน้อยที่สุด และ 2.6) ทิศทางของการเคลื่อนที่หลบเครื่องเรือนไปยังทางออกที่เหมาะสมควรเป็นเส้นทางที่คล้ายรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมากที่สุด 3) การนำแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคนไปปรับใช้ในอาคารที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุออกจากอาคารได้รวดเร็วประกอบด้วย 3.1) พื้นทางเดินเรียบ 3.2) ไม่มีธรณีประตูทางออก 3.3) ประตูมีขนาดกว้าง 0.90 เมตรขึ้นไป 3.4) ประตูควรเป็นบานเปิดชนิดเปิดออกและ/หรือประตูบานเลื่อน 3.5) ทางลาดควรมีตำแหน่งทิศทางเคลื่อนที่ตั้งฉากกับอาคาร 3.6) ทางลาดควรมีรูปแบบทิศทางเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงหรือทำมุม 90° 3.7) ทางลาดที่มีการเปลี่ยนทิศทางควรมีความยาวช่วงแรก (ก่อนถึงชานพัก) ยาวกว่าช่วงสุดท้าย (หลังจากชานพัก) 3.8) ระยะปาดมุมโค้งของเครื่องเรือนที่เหมาะสมคือ R=30 โดยการทราบถึงตำแหน่งที่มีความถี่ในการใช้งาน จะนำไปสู่การจัดการผังพื้นเพื่อการรองรับความเสี่ยงในขณะเกิดแผ่นดินไหวอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดเตรียมที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุเพื่อรองรับแผ่นดินไหว จำเป็นต้องมีการประยุกต์แนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคนร่วมกับการออกแบบอาคารเพื่อรองรับแผ่นดินไหว โดยนำมาจัดการร่วมกับผลการศึกษาวิจัย จะส่งผลให้การจัดการที่พักอาศัยของผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงของผู้สูงอายุในภัยพิบัติแผ่นดินไหว 
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5908
Appears in Collections:คณะสถาปัตยกรรมศาสต์ ศิลปะและการออกแบบ

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PantapatBoonma.pdf11.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.