Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5893
Title: | “น้ำ” ในระบอบประเพณีและพิธีกรรมของไทย "WATER” IN THE REGIME OF THAI TRADITIONS AND RITUALS |
Authors: | Panuwat Sakulsueb ภาณุวัฒน์ สกุลสืบ Onusa Suwanpratest อรอุษา สุวรรณประเทศ Naresuan University Onusa Suwanpratest อรอุษา สุวรรณประเทศ onusas@nu.ac.th onusas@nu.ac.th |
Keywords: | น้ำ ประเพณี พิธีกรรม วัฒนธรรมไทย water tradition ritual Thai culture |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This dissertation concentrates on three objectives that are 1) to study the water’s roles in Buddhist and Hinduism scriptures, 2) to study water’s roles relating to Thai tradition and rituals from the history of Thai literature and Thai cultural encyclopedia and 3) to describe roles and significance of water in Thai rituals as well as the connectivity of the ideas of water between great tradition and little tradition. The study applied content analysis approach. Evidences including Buddhist and Hinduism scriptures, which are the foundation of Thai tradition and rituals, and historical evidence, literature and Thai cultural encyclopedia which is the database of royal and folk tradition are selected in this study.
The study found that the roles of water in Thai tradition correspond to the roles of water in Buddhist and Hinduism scriptures, historical texts, literature and Thai cultural encyclopedia which are 1) water is a significant component of life 2) water refers to the fertility 3) water is the deity 4) water is the medium to connect this worldly to the sacred world 5) water presents the duality which can provide either goodness or badness. Such the synchronization portrays the flow of idea that resonates with both the great tradition, which has influences from Buddhism and Hinduism, and little tradition, which is the ways of agrarians and ancestors. Accordingly, even though there are differences between royal and folk traditions, the essence of these practices is synchronized. วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของน้ำในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู 2) เพื่อศึกษาบทบาทของน้ำในประเพณีและพิธีกรรมไทยจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ วรรณคดี และสารานุกรมวัฒนธรรมไทย และ 3) เพื่ออธิบายบทบาทและความสำคัญของน้ำในระบอบประเพณีพิธีกรรมไทย รวมทั้งการเชื่อมโยงแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของน้ำในประเพณีและพิธีกรรมระหว่างวัฒนธรรมหลวงและวัฒนธรรมย่อย การศึกษาใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร โดยเลือกศึกษาจากกลุ่มเอกสารที่เป็นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูอันเป็นรากฐานสำคัญของประเพณีและพิธีกรรมไทย และกลุ่มเอกสารทางประวัติศาสตร์ วรรณคดี และสารานุกรมวัฒนธรรมไทยซึ่งบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับประเพณีพิธีกรรมไทยไว้ทั้งประเพณีราษฎร์และประเพณีหลวง ผลการศึกษาพบว่า บทบาทและความสำคัญของน้ำในระบอบประเพณีพิธีกรรมไทยสอดคล้องกับบทบาทของน้ำที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาและคัมภีร์ของศาสนาฮินดูและบทบาทของน้ำที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ วรรณคดี และสารานุกรมวัฒนธรรมไทย กล่าวคือ 1) น้ำ เป็นองค์ประกอบสำคัญของชีวิต 2) น้ำ เป็นที่มาของความอุดมสมบูรณ์ 3) น้ำ คือ เทพเจ้า 4) น้ำ คือ สื่อในการเชื่อมโยงไปสู่โลกศักดิ์สิทธิ์ และ 5 )น้ำ มีลักษณะของทวิภาวะที่ให้ทั้งคุณและโทษ ความสอดคล้องนี้แสดงให้เห็นถึงสายธารความคิดที่ส่งทอดถึงกันระหว่างวัฒนธรรมหลวงของคนไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู และวัฒนธรรมย่อยซึ่งเป็นวิถีปฏิบัติที่มาจากการทำการเกษตรกรรมและแนวปฏิบัติที่รับสืบทอดต่อกันมาจากบรรพชน จึงทำให้ประเพณีอย่างเดียวกันที่ปรากฏทั้งในประเพณีราษฎร์และประเพณีหลวงแม้อาจมีรายละเอียดต่างกัน แต่มีแก่นสารสาระเป็นอย่างเดียวกัน |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5893 |
Appears in Collections: | คณะมนุษยศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PanuwatSakulsueb.pdf | 1.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.