Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5885
Title: การจัดวางความคิดทางการเมืองของกลุ่มคณะราษฎร พ.ศ. 2475 – 2490
An Installation of Political Thought among the People’s Party A.D.1932-1947.
Authors: Weerachon Gedsagul
วีรชน เกษสกุล
Watcharabon Buddharaksa
วัชรพล พุทธรักษา
Naresuan University
Watcharabon Buddharaksa
วัชรพล พุทธรักษา
watcharabonb@nu.ac.th
watcharabonb@nu.ac.th
Keywords: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
คณะราษฎร
การจัดวางความคิดทางการเมือง
อุดมการณ์ทางการเมือง
Siamese revolution of 1932
Khana Ratsadorn
Political installation
Political Ideology
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This dissertation aims to study the forms, processes, and mechanisms that Kana Ratsadorn (the People's Party) attempted to use in order to establish a new set of political ideologies after the Siamese Revolution of 1932 and to govern from 1932 to 1947. Additionally, the dissertation aims to demonstrate the set of ideas and political ideologies that Kana Ratsadorn sought to establish or initiate after successfully overthrowing the old regime and assuming power. In this case, the researcher employed the concept of “political installation” as a framework and utilized the method of 'the history of political thought' as a guideline for conducting research. The results indicate that there were at least eight mechanisms that Kana Ratsadorn employed to establish a new ideology, which can be divided into two categories. First, there was an attempt to dismantle the old ideology, consisting of at least four points: 1) the abolition of the Privy Council (the Advisory Council of the absolute monarchy government); 2) the restructuring of the army; 3) efforts to abolish the status quo and privileges of royalists and officers from the old regime; and 4) attempts to abolish royal ceremonies. Second, there was an attempt to introduce a new set of ideologies, comprising at least four mechanisms: 1) the establishment of a new ideology through Kana Ratsadorn's First Declaration; 2) the allocation of positions for members of Kana Ratsadorn in the new government bodies; 3) the organization of political ideas through Pridi Banomyon's outline economic plan of 1932; and 4) pushing Kana Ratsadorn's political ideas through the education system. Furthermore, the study found that Kana Ratsadorn attempted to instill a new set of ideology, which can be traced back through various political ideas, such as the concept of constitutional monarchy, nationalism, militarism, the idea of Great Man leadership, the concept of democracy in the sense of a republic, and the concept of communism. The diverse sets of political ideas constituted one of the main obstacles that prevented Kana Ratsadorn from achieving stability and installing a new set of political ideologies in Thailand.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษารูปแบบ กระบวนการ หรือกลไกสำคัญที่คณะราษฎรพยายามจะใช้เพื่อทำการสถาปนาชุดอุดมการณ์ใหม่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 – 2490 และนอกจากนี้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังต้องการที่จะแสดงให้เห็นถึงชุดความคิดหรืออุดมการณ์ทางการเมืองที่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองพยายามที่จะสถาปนาภายหลังจากที่สามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สำเร็จ ในการนี้ผู้วิจัยได้ใช้แนวความคิดทางการเมืองที่ว่าด้วย “การจัดวางความคิดทางการเมือง” มาเป็นกรอบในการศึกษาค้นคว้า และใช้วิธีการศึกษาแบบประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองเป็นแนวทางในการทำการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า กลไกสำคัญที่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองใช้ในการสถาปนาชุดอุดมการณ์ใหม่มีอย่างน้อย 8 ประการ โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ลักษณะแรกเป็นการพยายามรื้อถอนชุดอุดมการณ์เก่า ประกอบด้วยกลไกสำคัญอย่างน้อย 4 ประการคือ 1.การยกเลิกองค์กรที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ 2.การปรับปรุงโครงสร้างของกองทัพ 3.การพยายามล้มเลิกฐานันดรและสิทธิพิเศษของเจ้านายเชื้อพระวงศ์ และ4.การพยายามยกเลิกพระราชพิธีสำคัญ และลักษณะที่สองเป็นการพยายามใส่ชุดอุดมการณ์ใหม่ใส่ลับเข้าไป ประกอบด้วยกลไกสำคัญอย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่ 1.การจัดวางชุดอุดมการณ์ใหม่ผ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 2.การจัดวางตำแหน่งแห่งที่ให้กับสมาชิกคณะราษฎรภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 3.การพยายามในการจัดวางความคิดทางการเมืองผ่านการเสนอเค้าโครงการเศรษฐกิจ และ4.การจัดวางความคิดทางการเมืองผ่านระบบการศึกษา  นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่าในกระบวนการที่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองพยายามจะติดตั้งชุดอุดมการณ์ใหม่ใส่กลับเข้าไป ได้ปรากฏร่องรอยของแนวความคิดทางการเมืองอยู่หลายชุด อันประกอบด้วยแนวความคิดการปกครองภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แนวความคิดแบบชาตินิยม แนวความคิดแบบทหารนิยม แนวความคิดแบบลัทธิผู้นำนิยม แนวความคิดแบบประชาธิปไตยในความหมายแบบสาธารณรัฐ แนวความคิดการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ซึ่งจากการปรากฏขึ้นของชุดแนวความคิดทางการเมืองที่หลากหลายนี้เองคืออุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลให้คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่สามารถที่จะสถาปนาชุดอุดมการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดความมั่นคงได้
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5885
Appears in Collections:คณะสังคมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WeerachonGedsagul.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.