Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5884
Title: นโยบายหมู่บ้านรักษาศีล 5: มุมมองเชิงวิพากษ์
THE FIVE PRECEPT’S COMMUNITY POLICY: A CRITICAL PERSPECTIVE.
Authors: Supachai Wailiam
ศุภชัย ไวเหลี่ยม
Watcharabon Buddharaksa
วัชรพล พุทธรักษา
Naresuan University
Watcharabon Buddharaksa
วัชรพล พุทธรักษา
watcharabonb@nu.ac.th
watcharabonb@nu.ac.th
Keywords: หมู่บ้านศีล 5
Village Keeping 5 precept
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: Problems of the need to study and critique policy. "Village observing the 5 precepts" is the cause since after the government through the Sangha Sangha Association and the National Buddhism Office have put forward Policy "Village Keeping the 5 Precepts" was created to create harmony and reconciliation Academic studies on the policy are survey-based. Evaluation of policy success and study of models and methods of policy propulsion But little has been done on religious morality in which religious and state leaders take concepts as part of their power and use them as a political tool. The purpose of this research is to study and critique the issues of religious elites and government policy makers. “The Five Precepts Village” presents a new perspective on the relationship between politics and religion through policy. "Village keeping the 5 precepts" and offering a joint study of religious and critical morality. There is a qualitative research methodology (Qualitative research) by studying and researching from textbooks within the framework of the issue. "Criticism of project policy "Village keeping the 5 precepts" through interpretation and criticism. The study found that After the seizure of power by the National Council for Peace and Order, the National Council for Peace and Order (NCPO) has come up with a way to solve problems in driving reconciliation and reconciliation of the Sangha. There is an idea for believers to adopt the 5 precepts to practice in their daily lives. trying to push policy "Village keeping the 5 precepts" Buddhism and the Thai state have a relationship based on reciprocal interests. The Thai state uses Buddhist principles to control the behavior of people in society. Buddhism has an advantage over other religions in society.
ประเด็นปัญหาของความต้องการที่จะศึกษาและวิพากษ์นโยบาย “หมู่บ้านรักษาศีล 5” สาเหตุมาจากนับตั้งแต่ภายหลังจากที่รัฐบาลผ่านมหาเถรสมาคมและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้หยิบยก นโยบาย“หมู่บ้านรักษาศีล 5”  ขึ้นมาเพื่อสร้างความปรองดองสมานฉันท์ งานศึกษาทางด้านวิชาการเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าวเป็นไปในลักษณะการสำรวจความคิดห็น การประเมินผลความสำเร็จของนโยบายและการศึกษารูปแบบและวิธีการขับเคลื่อนนโยบาย แต่มีอยู่น้อยที่ศึกษาเกี่ยวกับประเด็นศีลธรรมทางศาสนาที่ผู้นำทางศาสนาและรัฐนำเอาแนวคิดทางมาเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจและประสบกับความล้มเหลวบนพื้นที่นโยบายสาธารณะ ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิพากษ์ถึงประเด็นของศาสนาและรัฐบาลที่กำหนดใช้นโยบาย “หมู่บ้านรักษาศีล 5”  นำเสนอมุมมองใหม่ต่อความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับศาสนาโดยมองผ่านนโยบาย “หมู่บ้านรักษาศีล 5” และนำเสนอการศึกษาศาสนาและศีลธรรมเชิงวิพากษ์ร่วมกัน โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยทำการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารตำราโดยให้อยู่ในกรอบของประเด็นเรื่อง “การวิพากษ์นโยบายโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ผ่านการตีความและนำมาวิพากษ์ ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังจากการเข้ายึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช. ได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาในการขับเคลื่อนการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ คณะสงฆ์ โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ มีดำริให้ศาสนิกชนได้น้อมนำหลักศีล 5 มาประพฤติในการดำเนินชีวิตประจำวัน การพยายามผลักดันนโยบาย “หมู่บ้านรักษาศีล 5” พุทธศาสนากับรัฐไทยมีความสัมพันธ์บนผลประโยชน์ที่ต่างตอบแทนต่อกัน รัฐไทยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม พระพุทธศาสนามีความได้เปรียบเสียเปรียบกันเกิดขึ้นกับศาสนาอื่นที่เหลือในสังคม
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5884
Appears in Collections:คณะสังคมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SupachaiWailiam.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.