Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5881
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorBancha Ratmaneeen
dc.contributorบัญชา ราชมณีth
dc.contributor.advisorDavisakd Puaksomen
dc.contributor.advisorทวีศักดิ์ เผือกสมth
dc.contributor.otherNaresuan Universityen
dc.date.accessioned2023-10-31T04:09:04Z-
dc.date.available2023-10-31T04:09:04Z-
dc.date.created2565en_US
dc.date.issued2565en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5881-
dc.description.abstractThis dissertation aims to study the emotional history of Indonesian people from the colonial era to the post-Suharto Indonesia and will focus on the Indonesian Muslims or Indonesian Ummah, who make up most of the Indonesia's population. Even though, there were many studies of emotions in psychology and anthropology, these works became reconciled to certain deadlock both in methodologies and conceptional frameworks, until making it impossible to capture the emotion or show the inseparably relationships between emotion and political on historical changes. Arguably, this gap allows this dissertation to apply William Reddy's approach and the concept of emotive. In emotive framework, it views the emotional word as efforts to express emotion through language. But language always ends up in failure, which is a universal feature of all human-beings on the globe. Because the language is not capable to capture all feelings with exactitude. And the word about emotions would always invoke new feelings, leading to changes in sentiment politics, and history. According to the study of emotion of the Indonesian Ummah through modern Indonesian literatures and secondary evidences such as speeches, news, and public lectures, it is evident that emotional expressions of the Indonesian Ummah from the colonial era to the post-Suharto era were varied over the course of time. Dominant characteristics of the emotive or emotional style at different times will change in accordance with the hegemonic political regimes in each era. At the same time, the emotive of Muslim ummah in different eras had also been a change-agent in Indonesia's politics and history, that is working in conjunction with ideologies which will balance, intensify, or subdue the will of the individual, the elite, the subordinate, or the political party, either for the purpose of political subordination or for the political liberation. The study of the emotional experience of Indonesian Ummah in this dissertation reveals that thought, emotion, and politics interact inextricably. And this emotive framework helps to disprove the assumption that human nature is entirely changeable, because it would go against historical understanding and undermine hope for political rights and liberties. Furthermore, if we continue to view human experience or emotion as completely transformative and what we feel as merely a cultural construct, then it seems that other people's suffering or liberty are simply irrelevant for political liberation. Because they are just another product in another historical context, or merely a product of another cultural context that may have existed over time. But the concept of emotive suggests that political liberty and the freedom to change one's feelings, the self, and history are universal human-being feature. In short, the ethical policies of the Indies colonial government from the late 19th century gave rise to a modern, rational, and freedom-based moral sentiment among the natives, which shaped and propelled the sentiments of Indonesian Ummah to stand up and demand a martyrdom for the independence of the nation, naming Indonesia. But this revolutionary sentiment intensified socio-political tensions in Indonesia throughout the Sukarno presidency, leading to the coup and the elimination of such emotions from the Indonesian society and politics in the New Order era that attempt to separate religious and political domains. This new political regime tried to bring Indonesian Ummah under a patriarchal power structure and pushed religions into the cultural marginal space. But the New Order moral tensions finally exploded and politically illegitimated in the late 1990s, well before Indonesian socio-politics was beginning to walk into the Reformation era, which accompanied with an emotional regime that upholds religious tolerance.en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้มุ่งศึกษาประวัติศาสตร์อารมณ์ความรู้สึกของชาวอินโดนีเซียตั้งแต่ในยุคอาณานิคมจนถึงในยุคหลังสุฮารโต โดยให้ความสนใจไปที่ชาวมุสลิมหรืออุมมะฮ์มุสลิมอินโดนีเซียอันเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ  แม้ที่ผ่านมาจะมีงานศึกษาอารมณ์ความรู้สึกทั้งในสาขาจิตวิทยาและมานุษยวิทยาออกมาจำนวนมาก  แต่งานเหล่านี้ก็ยังประสบกับทางตันทั้งในด้านวิธีการศึกษาและแนวคิด จนทำให้ไม่อาจทำความเข้าใจหรือจับอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างชัดเจน รวมทั้งไม่อาจแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์ความรู้สึกกับการเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ ช่องว่างดังกล่าวจึงเปิดโอกาสให้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์และแนวคิดเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของวิลเลียม เรดดี้ (Williams Reddy) มาประยุกต์ใช้ โดยวิธีการศึกษาแบบตีความตัวบทและแนวคิดเรื่องพจนารมณ์ (emotive) ที่มองว่าคำพูดที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกของปัจเจกบุคคลนั้น เป็นความพยายามแสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกผ่านภาษา  แต่ทั้งนี้เพราะภาษาไม่อาจจับความรู้สึกได้ทั้งหมด การสื่อสารดังกล่าวมักจะลงเอยด้วยความล้มเหลวอยู่เสมอซึ่งเป็นสากลลักษณะของมนุษย์  และคำพูดเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกจึงมีการเรียกเอาความรู้สึกใหม่ ๆ ขึ้นมาเสมอ อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความรู้สึก การเมือง และประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ จากการศึกษาอารมณ์ความรู้สึกของอุมมะฮ์มุสลิมอินโดนีเซียผ่านวรรณกรรมอินโดนีเซียสมัยใหม่และหลักฐานชั้นรอง เช่น คำปราศรัย ข่าว และการบรรยายธรรมสาธารณะ ก็ทำให้พบว่า พจนารมณ์ของอุมมะฮ์มุสลิมอินโดนีเซียตั้งแต่ในช่วงอาณานิคมจนถึงยุคหลังสุฮารโตมีความแตกต่างกัน โดยลักษณะเด่นของพจนารมณ์ในช่วงเวลาต่าง ๆ จะเปลี่ยนแปลงล้อไปกันกับระบอบการเมืองในแต่ละยุคสมัย  ในขณะเดียวกัน การกระทำของอุมมะฮ์มุสลิมอินโดนีเซียในแต่ละยุคสมัยก็ยังเป็นตัวขับเคลื่อนและก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซีย โดยการทำงานประสานกับทางอุดมการณ์หรือความคิดซึ่งจะเร่งเร้า สร้างสมดุล เพิ่มเข้มข้น และเจือจางไปเจตจำนงของปัจเจกบุคคล ชนชั้นนำ ผู้ใต้ปกครอง หรือพรรคการเมืองทั้งแบบที่มุ่งควบคุมการเมืองอย่างเข้มงวดเพื่อเสถียรภาพและมุ่งปลดปล่อยเสรีภาพทางการเมือง  กล่าวได้ว่า การศึกษาประสบการณ์ทางอารมณ์ของอุมมะฮ์มุสลิมอินโดนีเซียของวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ได้เผยให้เห็นว่า ความคิด อารมณ์ความรู้สึก และการเมืองมีปฏิสัมพันธ์อย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้  โดยโต้แย้งสมมติฐานที่ว่าธรรมชาติของมนุษย์สามารถแปรผันได้โดยสิ้นเชิง  เนื่องจากสมมติฐานดังกล่าวขัดแย้งความเข้าใจในเรื่องลักษณะสำคัญเฉพาะทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังทำลายความหวังในเรื่องสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง  แต่ถ้าเรายังมองว่าประสบการณ์หรืออารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์เปลี่ยนแปลงได้อย่างสมบูรณ์แบบ และสิ่งที่เรารู้สึกเป็นเพียงการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมแล้ว ดูเหมือนว่าความทุกข์ทนของคนอื่นหรือเรื่องเสรีภาพก็เป็นเพียงสิ่งที่ไร้นัยยะสำคัญสำหรับการปลดปล่อยทางการเมือง เพราะเป็นเพียงอีกผลผลิตหนึ่งในอีกบริบททางประวัติศาสตร์เท่านั้น หรือสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงผลผลิตของบริบททางวัฒนธรรมอื่นที่อาจดำรงอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง  แต่กรอบคิดเรื่องพจนารมณ์ก็ได้ชี้ให้เห็นว่า เสรีภาพทางการเมืองและเสรีภาพที่จะเปลี่ยนแปลงความรู้สึก ตัวตน และประวัติศาสตร์นั้นเป็นสากลลักษณะของมนุษย์  กล่าวโดยสรุป นโยบายจริยธรรมของรัฐบาลอาณานิคมในหมู่เกาะอินดีสตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้ก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกทางศีลธรรมแบบสมัยใหม่ที่อิงอยู่กับหลักเหตุผลและเสรีภาพบางอย่างขึ้นในหมู่ชาวพื้นเมือง ซึ่งกลายเป็นสิ่งหล่อหลอมและขับเคลื่อนอุมมะฮ์มุสลิมอินโดนีเซียให้ลุกขึ้นมาเรียกร้องและต่อสู้แบบยอมพลีชีพเพื่อเอกราชของชาติที่ชื่อว่าอินโดนีเซีย  แต่อารมณ์ความรู้สึกแบบปฏิวัติเช่นนี้ก็ก่อให้เกิดความตึงเครียดทางสังคม-การเมืองอินโดนีเซียตลอดช่วงประธานาธิบดีสุการโน จนกระทั่งนำไปสู่การรัฐประหารและกวาดล้างอารมณ์ความรู้สึกดังกล่าวให้ออกไปจากสังคม-การเมืองอินโดนีเซียในช่วงยุคระเบียบ ซึ่งต้องการแยกปริมณฑลทางศาสนากับการเมืองออกจากกัน โดยนำอุมมะฮ์มุสลิมอินโดนีเซียเข้ามาอยู่ภายใต้โครงสร้างอำนาจแบบปิตาธิปไตย และผลักให้เรื่องศาสนาไปอยู่ในพื้นที่ชายขอบทางวัฒนธรรม  แต่ในที่สุด ความตึงเครียดทางศีลธรรมแบบยุคระเบียบใหม่ก็ได้ระเบิดออกมาเมื่ออำนาจเผด็จการทหารของสุฮารโตถูกตั้งคำถามและหมดความชอบธรรมทางการเมืองไปในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ก่อนที่สังคม-การเมืองอินโดนีเซียจะเริ่มเดินเข้าสู่ยุคแห่งการปฏิรูป ซึ่งมาพร้อมกับระบอบความรู้สึกที่เชิดชูความอดกลั้นทางศาสนาth
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectอารมณ์ความรู้สึก, ประวัติศาสตร์และการเมือง, อุมมะฮ์มุสลิมอินโดนีเซีย, พจนารมณ์, วรรณกรรมอินโดนีเซียสมัยใหม่th
dc.subjectEmotions History Indonesian Ummah Emotives Modern Indonesian Novelsen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.subject.classificationArts, entertainment and recreationen
dc.subject.classificationHistory and archaeologyen
dc.titleประวัติศาสตร์อารมณ์ของชาวอินโดนีเซียจากยุคอาณานิคมจนถึงยุคหลังสุฮารโตth
dc.titleHistory of Emotions from Colonial Era to the Post-Suharto Indonesiaen
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorDavisakd Puaksomen
dc.contributor.coadvisorทวีศักดิ์ เผือกสมth
dc.contributor.emailadvisordavisakdp@nu.ac.then_US
dc.contributor.emailcoadvisordavisakdp@nu.ac.then_US
dc.description.degreenameDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.description.degreenameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.degreelevelDoctoral Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาเอกth
dc.description.degreedisciplineDepartment of Historyen
dc.description.degreedisciplineภาควิชาประวัติศาสตร์th
Appears in Collections:คณะสังคมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
BanchaRatmanee.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.