Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5852
Title: การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับกลวิธีการคิดเป็นภาพ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Developing  Fifth Grade Students' Science Communication Ability by Using Phenomenon-based Learning with Visual Thinking on the Topic of Substances in Daily Life
Authors: Supakcha Molwang
สุภัคชา มลวัง
Skonchai Chanunan
สกนธ์ชัย ชะนูนันท์
Naresuan University
Skonchai Chanunan
สกนธ์ชัย ชะนูนันท์
skonchaic@nu.ac.th
skonchaic@nu.ac.th
Keywords: การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์
การจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน
กลวิธีการคิดเป็นภาพ
สารในชีวิตประจำวัน
Development of Science Communication
Learning Management
Phenomenon-based Learning
Visual Thinking
Substances in Daily Life
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: Communication skills are extremely important, especially science subjects. Therefore, students should be encouraged to develop their science communication abilities. This action research aimed to examine guidelines and ways of learning management using the phenomenon-based learning with visual thinking and to investigate the impact of phenomenon-based learning with visual thinking on developing students’ science communication abilities. The participants were twelve fifth grade students. The research instrument consisted of lesson plans, reflective learning journals, the students’ activities worksheets and writing and speaking science communication ability assessment. The qualitative data were then analyzed by using content analysis technique while the reliability was verified by using triangulation. The research results were that the steps of learning management should be in such a way that: 1) choose the phenomenon close to them that are connected to daily life, taking into consideration of context and age of students, using a variety of media to present the phenomenon for students ; 2) an atmosphere of learning  should  be created independently for students to express their opinions freely through independently, brainstorm toward questioning about phenomenon ;  3) working conditions should be established to encourage students to know their roles and responsibilities, and to learn through various investigation activities, choose to use reliable sources and evidence to explain the phenomenon ; and 4) examining comprehension through visual thinking helps students saw the concrete images and had a deeper understanding of the phenomenon, and applied them to explain together with the use of a second language as a presentation option.  For the results of developing students' science communication abilities, it was found that students' writing and speaking science communication abilities tend to increase by learning through Phenomenon-based learning with Visual thinking.
ทักษะการสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ ดังนั้นนักเรียนจึงควรได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับกลวิธีการคิดเป็นภาพ และศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้วยจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับกลวิธีการคิดเป็นภาพ ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกกิจกรรม และแบบประเมินความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้านการเขียนและด้านการพูด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้ ควรมีลักษณะดังนี้ 1) ควรเลือกปรากฏการณ์ใกล้ตัวที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน โดยคำนึงถึงบริบทและวัยของนักเรียนใช้สื่อที่หลากหลายในการนำเสนอปรากฏการณ์ 2) ควรสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้อย่างอิสระ เพื่อให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี ระดมความคิดสู่การตั้งคำถามต่อปรากฏการณ์ร่วมกัน 3) กำหนดเงื่อนไขการทำงาน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการสืบเสาะที่หลากหลายนำไปสู่การอธิบายต่อปรากฏการณ์ 4) ตรวจสอบความเข้าใจผ่านการคิดเป็นภาพ ช่วยให้นักเรียนเห็นภาพและเข้าใจต่อปรากฏการณ์มากยิ่งขึ้น พร้อมนำมาเป็นสื่อกลางประกอบการอธิบายร่วมกับการใช้ภาษาที่สองเป็นตัวเลือกในการนำเสนอ ส่งเสริมให้นักเรียนมีความมั่นใจ และพัฒนาการสื่อสารด้านการพูดให้ดียิ่งขึ้น และผลการศึกษาการพัฒนาความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีแนวโน้มในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้านการเขียนและด้านการพูดเพิ่มสูงขึ้น
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5852
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SumitraSukpitak.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.